Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิช , then วช, วิช, วิชา, วีช .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วิช, 205 found, display 151-200
  1. วิชาโท : น. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งรองลงมาจากวิชาเอก. (อ. minor course).
  2. วิทยาคม : น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิทยาคม ให้ศิษย์, วิชาอาคม ก็ว่า. (ส.).
  3. วิทยาศาสตร์ : น. ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจาก ปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้ หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ.
  4. วิศวกรรมศาสตร์ : [วิดสะวะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวกับการนํา ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ มีหลายสาขา เช่น วิศวกรรมโยธาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล. (อ. engineering).
  5. วิสัญญีวิทยา : น. วิชาที่ว่าด้วยการให้ยาชาและยาสลบ.
  6. เวชศาสตร์ : [เวดชะสาด] น. ชื่อตํารารักษาโรคแผนโบราณ, วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยการใช้ยา.
  7. เวตาล : น. ผีจําพวกหนึ่ง ชอบสิงอยู่ในป่าช้า. (ส. เวตาล ว่า นักปราชญ์ที่ ไม่ได้ถ่ายวิชาให้ใคร ตายไปแล้วเป็นผีชนิดนี้).
  8. เวทางค์, เวทางคศาสตร์ : น. วิชาประกอบการศึกษาพระเวทมี ๖ อย่าง คือ ๑. ศึกษาวิธีออก เสียงคําในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยากรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. โชยติส คือ ดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ คือ กําเนิดของคําและ ๖. กัลปะ คือ วิธีจัดทําพิธี. (ส.).
  9. ไวยากรณ์ : น. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคําและระเบียบในการประกอบรูปคําให้เป็น ประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตําราไวยากรณ์).
  10. ศัพท์บัญญัติ : น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะ เป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ. ศัพทมูลวิทยา [สับทะมูนละ, สับทะมูน] น. วิชาว่าด้วยที่มา และประวัติของคํา. (อ. etymology).
  11. ศัลยศาสตร์ : [สันละยะสาด] น. วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
  12. ศัสตรศาสตร์ : น. วิชาใช้อาวุธ, วิชาทหาร.
  13. ศาสตร, ศาสตร์ : [สาดตฺระ, สาดสะตฺระ, สาด] น. ระบบวิชาความรู้, มักใช้ ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์. (ส.).
  14. ศาสนศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยศาสนาต่าง ๆ.
  15. ศิลปศึกษา : น. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์.
  16. ศิลปะปฏิบัติ : น. วิชาว่าด้วยการปฏิบัติทางศิลปะ เช่น วาดเขียน ปั้นดิน จักสาน เย็บปักถักร้อย.
  17. ศิษย, ศิษย์ : [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
  18. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  19. สถานภาพ : น. ฐานะ เช่น ราชบัณฑิตยสถานมีสถานภาพเป็นแหล่ง ค้นคว้าและบำรุงสรรพวิชา; ตําแหน่งหรือเกียรติยศของบุคคลที่ ปรากฏในสังคม เช่น เขามีสถานภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี; สิทธิหน้าที่ตามบทบาทของบุคคล เช่น เขามีสถานภาพทางครอบครัว เป็นบิดา.
  20. สถาปัตยกรรมศาสตร์ : [สะถาปัดตะยะกำมะสาด] น. วิชาว่าด้วยการ ออกแบบงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ.
  21. สถิตยศาสตร์ : [สะถิดตะยะ] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยแรงที่กระทํา ต่อเทหวัตถุซึ่งเป็นของแข็ง โดยที่เทหวัตถุนั้น ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่. (อ. statics).
  22. สถิติศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยสถิติ. (อ. statistics).
  23. สนใจ : ก. ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น เขาสนใจวิชาคณิตศาสตร์ มาก, ใฝ่ใจใคร่รู้ใคร่เห็นเป็นต้น เช่น เขาสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็ก.
  24. สมิง : [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมา สามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่า วิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตําแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
  25. สรีรวิทยา, สรีรศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยสมบัติและการกระทําหน้าที่ ของอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนของสิ่งที่เป็นรูปร่างและมีชีวิต. (อ. physiology).
  26. สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
  27. สอบความถนัด : ก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถใน ทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษา หรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่.
  28. สอบซ่อม : ก. สอบเพื่อให้ผ่านวิชาที่เคยสอบตก.
  29. สังคมวิทยา : [สังคมมะ, สังคม] น. วิชาว่าด้วยเรื่องสังคม.
  30. สังคมศึกษา : [สังคมมะ, สังคม] น. หมวดวิชาที่ประกอบด้วยวิชา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม.
  31. สัจพจน์ : [สัดจะ] น. ข้อความที่ยอมรับในวิชาคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ว่าจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์. (อ. postulate, axiom).
  32. สัทวิทยา : [สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษา โดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).
  33. สัทศาสตร์ : [สัดทะ] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติของการออกเสียงและ การเปล่งเสียงพูด. (อ. phonetics).
  34. สาขา : น. กิ่งไม้, กิ่งก้าน, เช่น ต้นจามจุรีมีสาขามาก; แขนง, ส่วนย่อย, ส่วนรอง, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพเป็นสาขาหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ ธนาคาร ออมสินสาขาหน้าพระลาน. (ป.; ส. ศาขา).
  35. หน่วยกิต : [-กิด] น. ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษาและนักเรียนจะพึง ได้รับเมื่อได้ศึกษาตรงตามกําหนดเวลาและสอบผ่านวิชานั้น ๆ, เครดิต ก็เรียก.
  36. หมอเสน่ห์ : น. ผู้ที่เชื่อกันว่ารู้วิชาอาคมทำให้คนรักกันหรือชังกัน.
  37. หมู ๒, หมู ๆ : (ปาก) ว. ง่าย, สะดวก, เช่น วิชาคำนวณสำหรับเขาแล้วหมูมาก เขาเลือก ทำแต่งานหมู ๆ.
  38. หลักประกัน : น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือ หลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.
  39. หลักสูตร : น. ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในการศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  40. หัตถศาสตร์ : น. วิชาเกี่ยวกับการทำนายจากเส้นลายมือ.
  41. โหด ๒ : ว. ชั่ว, ร้าย, เช่น ใจโหด; (ปาก) ยากมาก เช่น ข้อสอบวิชานี้โหด; เข้มงวด มาก เช่น ครูคนนี้โหด.
  42. โหราจารย์ : น. ผู้ชํานาญในวิชาโหราศาสตร์.
  43. โหราศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาว เป็นหลัก.
  44. อลังการศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยวิธีการประพันธ์ที่จะทำให้เกิดอรรถรส และความประทับใจ อำนวยประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีมาก.
  45. อักขรสมัย : [อักขะหฺระสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่าน การเขียน. (ป.).
  46. อักษรสมัย : [อักสอนสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่าน การเขียน. (ส.).
  47. อักษร, อักษร : [อักสอน, อักสอระ, อักสอน] น. ตัวหนังสือ, วิชาหนังสือ เช่น ฉลาดรอบรู้ในอักษรสยาม. (ส.; ป. อกฺขร).
  48. อัธยาตมวิทยา : [อัดทะยาดตะมะวิดทะยา] (โบ) น. วิชาว่าด้วยจิต, ปัจจุบันใช้ว่า จิตวิทยา. (ส.).
  49. อาจารย์ : น. ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดง ความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).
  50. อายุรเวท : น. วิชาแพทย์, วิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษา. (ถือกันว่าเป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์และเป็นส่วนหนึ่งของอถรรพเวท). (ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-205

(0.0471 sec)