Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กล้องขยาย, กล้อง, ขยาย , then กลอง, กล้อง, กล้องขยาย, ขยาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กล้องขยาย, 221 found, display 101-150
  1. พอง : ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่า ปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้นเช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.
  2. พอน ๑ : น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่งแผ่ขยาย ออกไปรอบ ๆเพื่อพยุงลําต้น เช่น พอนตะเคียน พอนมะค่า, พูพอน ก็เรียก.
  3. พูพอน : น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่ง แผ่ขยายออกไปรอบ ๆ เพื่อพยุงลำต้น, พอน ก็เรียก.
  4. ฟ้าร้อง : น. เสียงที่เกิดขึ้นเนื่องจากอากาศขยายตัวเคลื่อนที่อย่าง รวดเร็วเพราะความร้อนที่เกิดจากฟ้าแลบ.
  5. ฟู : ก. พองตัวขึ้น, ขยายตัวนูนขึ้น, เช่น ขนมสาลี่ฟูมาก ปลาดุกฟู, อูดขึ้น เช่น แป้งหมักฟูขึ้น, พองโป่งขึ้นมา เช่น ผมฟู ปุยนุ่นฟู สุนัขขนฟู.
  6. ภาพนิ่ง : น. ภาพขยายที่ไม่มีการเคลื่อนไหวบนจอ เกิดจากการฉายแสง ที่มีความเข้มมาก ผ่านแผ่นสไลด์หรือแผ่นฟิล์มภาพไปยังจอ.
  7. มุขยประโยค : น. ชื่อประโยคในตําราไวยากรณ์ได้แก่ ประโยคที่มี ประโยคอื่นเป็นส่วนขยาย.
  8. ไมโครฟิล์ม : [-โคฺรฟิม] น. ฟิล์มถ่ายรูปขนาดเล็กมากใช้สําหรับถ่ายบันทึกภาพของสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดย่อส่วนลงมาก ๆ เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาไว้ และสามารถนํามาฉาย เป็นภาพนิ่งขนาดขยายบนจอได้. (อ. microfilm).
  9. ไมโครโฟน : [-โคฺร-] น. เครื่องที่ใช้สําหรับขยายเสียงให้ดังขึ้น, เครื่องที่ใช้สําหรับเปลี่ยน คลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นในการส่งวิทยุ โทรศัพท์, มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า ไมค์. (อ. microphone).
  10. ไม้ซาง : น. ไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ เนื้อบาง ลำปล้องโต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๕-๑ เซนติเมตร มีช่วงลำปล้องยาวประมาณ ๗๐-๙๐ เซนติเมตร ใช้ทำเป็น ลำกล้องเป่าลูกดอกหรือลูกดินเหนียวปั้นกลมเป็นต้น.
  11. ยาว : ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยาย ออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะ ส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่ง ไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน.
  12. ยาสูบ : น. ยาสำหรับสูบ มีทั้งที่เป็นมวนและที่เป็นเส้นสำหรับสูบกล้อง; (กฎ) บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง รวมตลอดถึงยาเคี้ยว ด้วย.
  13. ยาเส้น : น. ยาสูบชนิดหนึ่งที่หั่นใบยาเป็นเส้น ๆ หรือเป็นชิ้นเล็ก ๆ สําหรับมวนสูบหรือใส่กล้องสูบ; (กฎ) ใบของต้นยาสูบหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว.
  14. ยืด : ก. ขยายตัวให้ยาวออกไปได้ เช่น ยางยืด ผ้ายืดออกไป, ขยายเวลาให้ นานออกไป เช่น ยืดเวลา. ว. เรียกสิ่งที่ขยายตัวให้ยาวหรือกว้างออกไป เช่นนั้น เช่น เสื้อยืด กางเกงยืด; ยาว เช่น น้ำลายไหลยืด; นาน, ยืนนาน, เช่น อยู่กันยืด.
  15. แยกตัว : ก. ผละออก เช่น เขาแยกตัวออกจากพรรคพวก; ไม่ผสมกลมกลืน กัน เช่น น้ำกับน้ำมันแยกตัวกัน; แบ่งตัวเพื่อขยายจำนวน เช่น เซลล์แยกตัว ออกจากกันเป็นทวีคูณ.
  16. โยกย้าย : ก. ย้ายตำแหน่ง เช่น โยกย้ายข้าราชการ, ขยับขยายไปอยู่ที่อื่น เช่น โยกย้ายไปอยู่ต่างเมือง.
  17. รังเพลิง : น. ส่วนท้ายของลํากล้องปืนเป็นที่บรรจุลูกปืนในตําแหน่ง พร้อมที่จะจุดชนวน.
  18. รางปืน : น. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภท ประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณ เป็นต้น.
  19. ลาม : ก. แผ่ขยายต่อเนื่องออกไป เช่น ไฟลาม แผลลาม; กระทํากิริยา ไม่รู้จักที่ตํ่าที่สูงเรื่อยไปต่อบุคคลเมื่อเห็นว่าเขาไม่ถือ.
  20. ลำโพง ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Datura metel L. ในวงศ์ Solanaceae ผลมีหนาม เมล็ดกินเมา, พันธุ์ดอกซ้อนเรียก ลําโพงกาสลัก (D. metel L. var. fastuosa Safford); เรียกสิ่งซึ่งมีรูปคล้ายดอกลําโพง เช่นเครื่องช่วย ขยายเสียงที่มีลักษณะปากบานเหมือนดอกลำโพง.
  21. ลำโพง ๒ : น. กลอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ขยายเสียง.
  22. ลูกปราย : น. ลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ สําหรับยัดใส่ในลํากล้อง ปืนครั้งละหลายลูก เมื่อยิงไปครั้งหนึ่ง ๆ ลูกจะกระจายไป, กระสุน ปืนชนิดที่มีลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ หลาย ๆ ลูกผสมปนอยู่กับ ดินปืนในนัดเดียวกัน เวลายิงจะกระจายออก เช่น ปืนลูกซองใช้ กระสุนลูกปราย.
  23. ลูกปืน : น. ลูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ยัดใส่ในลํากล้องปืนแล้วยิง, กระสุนที่บรรจุในลํากล้องปืนสําหรับยิง ประกอบด้วยปลอกโลหะ ตรงปลายด้านหนึ่งมีหัวกระสุนโลหะ ถ้าเป็นปืนลูกซอง ปลอกทํา ด้วยกระดาษแข็ง ไม่มีหัวกระสุน แต่มีลูกปรายหลายลูกอยู่ภายใน ทั้ง ๒ ชนิดมีดินปืนอยู่ตรงกลางและมีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก, กระสุน ปืน; ลูกเหล็กที่มีลักษณะกลม ทรงกระบอก หรือทรงกรวย ใส่ใน ตลับรองเพลาเครื่องจักรเป็นต้น เพื่อให้หมุนหรือเคลื่อนไปได้คล่อง.
  24. ลูกโม่ : น. วัตถุทําด้วยหิน เหล็ก ทองเหลือง เป็นต้น ให้มีรูปกลม ๆ ใช้โม่หรือบดสิ่งของ; ส่วนของปืนที่บรรจุกระสุน เมื่อลั่นไกแล้ว หมุนได้เพื่อให้ลูกปืนตรงกับลํากล้อง.
  25. ลูกเลื่อน : น. อุปกรณ์ในปืนชนิดมีแหนบกระสุน อยู่ในลำกล้อง มีหน้าที่กดกระสุนปืนไม่ให้ตรงลำกล้อง เมื่อขึ้นไกจะดันกระสุน ปืนให้เลื่อนขึ้นและเข้าสู่ลำกล้อง.
  26. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  27. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  28. วิทยานิพนธ์ : น. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.
  29. วิเศษณ, วิเศษณ์ : [วิเสสะนะ, วิเสด] (ไว) น. คําจําพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคํานาม คํากริยา หรือคําวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทําดี ดีมาก. (ส.).
  30. วิสาร : น. การขยาย, การเผยแผ่. (ส.).
  31. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  32. แว่นแก้ว : น. แผ่นแก้วกระจกใช้ส่องขยายให้เห็นชัด.
  33. ไวรัส : น. เชื้อจุลินทรีย์ที่เล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้อง จุลทรรศน์ธรรมดา ไม่จัดเป็นเซลล์ มีทั้งที่ก่อโรคและไม่ก่อโรค เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่เป็นไวรัสชนิดหนึ่ง. (อ. virus).
  34. สปอร์ : น. หน่วยขยายพันธุ์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่คล้ายเมล็ดพืชแต่ไม่มีเอ็มบริโอ เมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสมจะเจริญเป็นต้นใหม่ได้. (อ. spore).
  35. สลักเพชร : น. ไม้หรือเหล็กสําหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบ เรือนไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และ เดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอด เดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัด แน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรง ตะโพกกับหัวกระดูกต้นขาทําให้ขากางออกได้.
  36. ส่อง : ก. ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง ตะวันส่อง หน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง ส่องกบ, เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน(ปาก) ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง.
  37. หมอน : [หฺมอน] น. เครื่องสําหรับหนุนศีรษะหรือหนุนสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น, เรียกตาม รูปทรงก็มี เช่น หมอนขวาน หมอนตะพาบ หมอนหน้าอิฐ, เรียกตามวัตถุ ประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หมอนหนุนศีรษะ หมอนหนุนเท้า หมอนหนุน รางรถไฟ, เรียกตามวัตถุที่ใช้ทำก็มี เช่น หมอนไม้ หมอนอิฐ; เครื่องสําหรับ อัดดินปืนในลํากล้องให้แน่น.
  38. หย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้ หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.
  39. หอน : ก. ร้องเสียงยาวโหยหวน (ใช้แก่หมา), (ปาก) เสียงวี้ดหรือกรี๊ดจากเครื่องยนต์ หรือเครื่องขยายเสียงเป็นต้น.
  40. หางแข็ง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย คอดหางแคบมาก เป็นเหลี่ยมแข็งดูคล้ายขาไก่ เกล็ดเล็ก แต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายกว้าง ที่ขอบแผ่นปิด เหงือกมีจุดดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ, ขาไก่ แข้งไก่ อีลอง หรือ อีโลง ก็เรียก.
  41. หิงห้อย, หิ่งห้อย : น. ชื่อแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae สามารถเปล่งแสงกะพริบเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ความถี่และช่วง ของแสงนั้นแตกต่างไปแล้วแต่ชนิด ลําตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอก สันหลังปล้องอกมักจะขยายเป็นขอบออกไปคลุมหัว, ทิ้งถ่วง ก็เรียก.
  42. หุบ : ก. อาการรวมเข้าของสิ่งที่ขยายออก เช่น หุบร่ม ใบไม้หุบ; อาการที่แสง อาทิตย์ถูกเมฆบดบัง เรียกว่า แดดหุบ.
  43. แหม ๑ : [แหฺม] น. ปลอกรัดสิ่งของบางอย่าง เช่นลํากล้องปืนยาวแบบโบราณให้ติด กับราง ด้ามมีด ด้ามสิ่ว ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  44. โหย่ง ๑ : [โหฺย่ง] ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยาย ตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, หย่ง ก็ว่า.
  45. อธิบาย : [อะทิบาย] ก. ไขความ, ขยายความ, ชี้แจง. (ป. อธิปฺปาย).
  46. อร ๒ : [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลม กล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  47. อรรถาธิบาย : ก. ขยายความ, อธิบายความ. น. การขยายความ, การอธิบายความ.
  48. อ๋อย : ว. คําใช้ขยายกริยา คราง ในคําว่า ครางอ๋อย; ใช้เน้นแสดงว่ามาก ในคําว่า เหลืองอ๋อย.
  49. อะมีบา : น. ชื่อสัตว์เซลล์เดียวพวกหนึ่ง ขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่า ไม่เห็น มีรูปร่างไม่แน่นอน ขยายพันธุ์ได้โดยการแบ่งตัวเอง. (อ. amoeba).
  50. อันแถ้ง : (กลอน) ว. งามอ้อนแอ้น, เขียนเป็น อรรแถ้ง ก็มี เช่น พระองค์ กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง. (ลอ).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-221

(0.0730 sec)