Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เหม็นเบื่อ, เหม็น, เบื่อ , then บอ, เบื่อ, หมน, หมนบอ, เหม็น, เหม็นเบื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เหม็นเบื่อ, 235 found, display 101-150
  1. หม่น : ว. มีลักษณะมัว ๆ หรือคล้ำ ๆ (ใช้แก่สี) เช่น สีฟ้าหม่น สีเขียวหม่น.
  2. หมั่น : ก. ขยัน, ทําหรือประพฤติบ่อย ๆ อย่างเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, เช่น หมั่นทำ การบ้าน หมั่นมาหา.
  3. หมิ่น ๑ : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูก ว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่น ถิ่นแคลน ก็ว่า.
  4. หมิ่น ๒ : ว. ในที่เกือบตก เกือบพลาดตก.
  5. หมื่น ๑ : ว. จํานวนนับเท่ากับ ๑๐ พัน.
  6. หมื่น ๒ : (โบ) น. ชื่อบรรดาศักดิ์ในราชการ เหนือพันขึ้นไป.
  7. หมื่น ๓ : (ปาก) ว. ทะลึ่ง, ทะเล้น.
  8. บโทน : [บอ-] น. ผู้ติดหน้าตามหลัง, คนใช้.
  9. บราง : [บอ-] (โบ; กลอน) ก. ไม่, ไม่มี, เช่น บรางนาน บรางโทษ, ใช้ บร้าง ก็มี.
  10. บ๊อง, บ๊อง ๆ : (ปาก) ว. ไม่เต็มเต็ง, บ้า ๆ บอ ๆ.
  11. ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
  12. ไม่เต็มหุน : (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ.
  13. สติไม่ดี : ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงาน ผิดพลาดบ่อย ๆ.
  14. สองสลึงเฟื้อง : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.
  15. บ ๒, บ่ : [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.
  16. บดินทร์ : [บอดิน] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ปติ + อินฺทฺร).
  17. บดี : [บอดี] (แบบ) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว. (ป., ส. ปติ), ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความ ว่า นาย หรือ ผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคําท้ายด้วยหมายความ แต่ผัว เช่น บดีพรต, ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.
  18. บดีศร : [บอดีสอน] (กลอน) น. นายผู้เป็นใหญ่.
  19. บพิตร : [บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บํารุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้ อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคําที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.
  20. บพิธ : [บอพิด] ก. แต่ง, สร้าง. (ป. ป + วิ + ธา).
  21. บร- : [บอระ-] (แบบ; กลอน) น. ฝ่ายอื่น เช่น บรเทศ, ข้าศึก เช่น บรปักษ์. (ป., ส. ปร).
  22. บรมบพิตร : [บอรมมะบอพิด] น. คําที่พระสงฆ์ใช้สําหรับแทน พระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, เดิมใช้ว่า มหาบพิตร.
  23. บรม, บรม- : [บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศ ยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.
  24. บรมัตถ์ : [บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริง ที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นําหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).
  25. บริกรม : [บอริกฺรม] (แบบ) ก. เดินไป, ผ่านไป, พ้นไป, จากไป. (ส. ปริกฺรม).
  26. บริกรรม : [บอริกํา] ก. สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสก คาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
  27. บริกัป : [บอริกับ] (แบบ) น. ความตรึก, ความดําริ, การกําหนด. (ป. ปริกปฺป; ส. ปริกลฺป).
  28. บริการ : [บอริกาน] ก. ปฏิบัติรับใช้, ให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ร้านนี้บริการ ลูกค้าดี. น. การปฏิบัติรับใช้, การให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ให้ บริการ ใช้บริการ.
  29. บริขา : [บอริ-] (แบบ) น. คู, สนามเพลาะ. (ป. ปริขา).
  30. บริขาร : [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
  31. บริคณห์ : [บอริคน] (แบบ) น. เรือน; คําที่แน่นอน, สิ่งที่ถูกต้องแล้ว; ความ กําหนดถือเอา, ความยึดถือ, การจับ. ก. นับคะเน, ประมวล. (ป. ปริคฺคหณ).
  32. บริจาค : [บอริจาก] ก. สละให้, เสียสละ. น. การสละ, การให้, การแจก, ความ เสียสละ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. ปริจฺจาค).
  33. บริจารก : [บอริจารก] น. คนใช้, คนบําเรอ. (ป., ส. ปริจารก).
  34. บริจาริกา : [บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคํา บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัด ใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).
  35. บริเฉทกาล : [บอริเฉทะกาน, บอริเฉดทะกาน] น. เวลาที่มีกําหนดลง.
  36. บริเฉท, บริเฉท- : [บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-] น. การกําหนด; ข้อความที่ รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กําหนดไว้เป็นหมวด ๆ. (ป. ปริจฺเฉท).
  37. บริชน : [บอริชน] (แบบ) น. คนผู้แวดล้อม, บริวาร. (ป., ส. ปริชน).
  38. บริณายก : [บอรินายก] (แบบ) น. ปริณายก, ผู้นําบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส. ปริณายก; ป. ปรินายก).
  39. บริณายกรัตน์ : [บอรินายะกะ-] น. ขุนพลแก้ว, เป็นสมบัติ ประการ ๑ ในสมบัติ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ.
  40. บริบท : [บอริบด] (ไว) น. คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า.
  41. บริบวรณ์ : [บอริ-บวน] (โบ; กลอน) ก. บริบูรณ์.
  42. บริบาล : [บอริบาน] ก. ดูแลรักษา, ดูแลเลี้ยงดู, เช่น บริบาลทารก. น. ผู้รักษา, ผู้ดูแล, ผู้เลี้ยงดู. (ป., ส. ปริปาล).
  43. บริบูรณ์ : [บอริบูน] ก. ครบถ้วน, เต็มที่, เต็มเปี่ยม. (ส. ปริปูรฺณ; ป. ปริปุณฺณ).
  44. บริพนธ์ : [บอริพน] (แบบ) ก. ปริพนธ์, ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
  45. บริพัตร : [บอริพัด] ก. หมุนเวียน, เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป; สืบสาย. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
  46. บริพันธ์ : [บอริพัน] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง, ประพันธ์. (ป. ปริพนฺธ).
  47. บริพาชก : [บอริพาชก] (แบบ) น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนา ประเภทหนึ่งในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชก).
  48. บริพาชิกา, บริพาชี : [บอริ-] (แบบ) น. นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่ง ในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชิกา, ปริพฺพาชี).
  49. บริพาร : [บอริพาน] น. ผู้แวดล้อม, ผู้รับใช้หรือผู้ห้อมล้อมติดตาม. (ป. ปริวาร).
  50. บริภัณฑ์ ๑ : [บอริพัน] น. วง, สิ่งแวดล้อม; เรียกภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขา พระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้นว่า เขาสัตบริภัณฑ์. (ป. ปริภณฺฑ). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-235

(0.0747 sec)