Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างหวุดหวิด, หวุดหวิด, อย่าง , then หวุดหวิด, อยาง, อย่าง, อยางหวดหวด, อย่างหวุดหวิด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างหวุดหวิด, 2395 found, display 1301-1350
  1. เปรี้ยง : [เปฺรี้ยง] ว. เสียงดังลั่นอย่างเสียงฟ้าผ่า; จัด, กล้า, (ใช้แก่แดด) ในคําว่า แดดเปรี้ยง.
  2. เปรี้ยว : [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
  3. เปรียะ, เปรี๊ยะ : [เปฺรียะ, เปฺรี๊ยะ] ว. เสียงที่เกิดจากสิ่งของที่แตกหรือขาดเป็นต้น ซึ่งมีเสียงดังเช่นนั้นอย่างแก้วแตก; อาการที่แก้วหูลั่นเพราะขึ้นไป บนที่สูง ๆ เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า คล่องไม่ติดขัด เช่น พูดเปรี๊ยะ, มากเกินไป เช่น ตึงเปรี๊ยะ.
  4. เปรื่อง : [เปฺรื่อง] ก. เชี่ยวชาญ, ปรุโปร่ง, แตกฉาน, เช่น ปัญญาเปรื่อง สมองเปรื่อง. ว. เสียงดังอย่างเสียงถ้วยชามกระทบกันหรือตกแตก.
  5. เปล : [เปฺล] น. เครื่องสําหรับนอน ใช้ไกวหรือโยก, เครื่องสําหรับ นอนเล่นแกว่งไกวไปมาได้, เครื่องสําหรับหามคนเจ็บ; เรียก ภาชนะบางอย่างที่มีรูปลักษณะอย่างเปล เช่น ชามเปล.
  6. เปล่า : [เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มี ข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.
  7. เปลี่ยนใจ : ก. เลิกล้มความตั้งใจเดิม, เปลี่ยนความตั้งใจเดิมไปเป็น อย่างอื่น.
  8. เปลี่ยวดำ : น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากความ เย็นมาก, เกลี่ยวดํา ก็ว่า.
  9. เปลือก : [เปฺลือก] น. ส่วนที่หุ้มนอกของสิ่งต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ ผลไม้ หรือสัตว์ บางอย่างมีหอยหรือฟองสัตว์เป็นต้น; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดไม่หมดเปลือก คือ พูดไม่แจ่มแจ้ง งามแต่เปลือก คือ งามแต่ภายนอก.
  10. เปลือกข้าวโพด : ว. สีอย่างสีเปลือกข้าวโพดแห้ง เรียกว่า สีเปลือก ข้าวโพด.
  11. เป่าฝุ่น : (ปาก) ก. หกล้มไม่มีท่า, พลาดพลั้งอย่างไม่เป็นท่า.
  12. เปาะ : ว. ไม่หยุดปาก (ใช้แก่กริยาชม); เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเคาะไม้.
  13. เป๊าะ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหักนิ้วหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ หัก.
  14. เปิดเปิง : ว. อาการที่ไปอย่างไม่มีที่หมาย ไม่มีทิศทาง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ เตลิด เป็น เตลิดเปิดเปิง เช่น วิ่งเตลิดเปิดเปิง.
  15. เปิดอก : ก. บอกความในใจอย่างไม่ปิดบัง, พูดความจริงอย่าง ตรงไปตรงมาโดยไม่มีลับลมคมใน.
  16. เปิ๊บ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นอย่างเสียงอีเก้งร้อง.
  17. เปีย ๒ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งเป็นชั้น ๆ มีไส้ใน, ขนมเปียะ หรือ ขนมเปี๊ยะ ก็ว่า. (จ.).
  18. เปียก ๑ : ก. มีนํ้าชุ่มปนผสมอยู่หรือติดอยู่ เช่น เปียกเหงื่อ เปียกฝน เปียกน้ำ. ว. ที่ชุ่มน้ำ เช่น ผมเปียก ผ้าเปียก เหงื่อเปียก, อ่อนเกือบเละอย่างข้าวเปียก.
  19. แป้งจี่ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง มักทําด้วยแป้งข้าวเหนียวดํา ผสมกับ มะพร้าว เกลือ นํ้าตาล แล้วทอดเป็นแผ่นเล็ก ๆ แบน ๆ ลงบนกระทะ แบนที่ทานํ้ามันน้อย ๆ; แป้งขนมจีนที่ทําเป็นแผ่นแล้วเผาไฟ.
  20. แป๊ด : ว. เสียงดังอย่างเสียงบีบแตร, แป๊น ก็ว่า.
  21. แป๊น : ว. เสียงดังอย่างเสียงบีบแตร, แป๊ด ก็ว่า.
  22. แป้น ๔ : ว. กลมแบนอย่างลูกจัน.
  23. แปรง : [แปฺรง] น. สิ่งของอย่างหนึ่งทําด้วยขนสัตว์ ลวด ฯลฯ สําหรับใช้ปัด หวี สีฟัน หรือขัดถูสิ่งของอื่น ๆ, ลักษณนามว่า อัน; ขนเส้นแข็งที่ ขึ้นบนคอหมูเป็นแถว ๆ. ก. ปัด เช็ด หรือถูด้วยแปรง.
  24. แปร้น : [แปฺร้น] ว. เสียงตะเบ็งเอ็ดอึงอย่างคนขึ้นเสียงทะเลาะกัน, แปร๋น หรือ แปร๋น ๆ ก็ว่า.
  25. แปร้นแปร๋ : ว. เสียงดังแหลมอย่างเสียงช้างร้องเมื่อโกรธหรือตกใจ, แปร๋ หรือ แปร๋แปร้น ก็ว่า.
  26. แปร๋, แปร๋แปร้น : ว. เสียงดังแหลมอย่างเสียงช้างร้องเมื่อโกรธหรือตกใจ, แปร้นแปร๋ ก็ว่า.
  27. แปรรูป : น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอน มาเรียงลําดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับ มาทางทิศตะวันออก, แจงรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า; เรียกไม้ซุงที่เลื่อย เปิดปีกแล้วทําเป็นแผ่นกระดานเป็นต้นว่า ไม้แปรรูป.
  28. แปลงสาร : ก. สั่งอย่างหนึ่งไปทำเสียอีกอย่างหนึ่ง, แก้สาระสำคัญ หรือข้อความในหนังสือจากอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
  29. แปลตามพยัญชนะ : ก. แปลตามตัวอักษร, แปลความหมายของคํา อย่างตรงไปตรงมาคําต่อคํา.
  30. แป๊ว : ว. เสียงอย่างเสียงแมวร้อง.
  31. แปะ : ก. เอาของแบน ๆ บาง ๆ ทาบเข้าไป. ว. เสียงดังอย่างเสียงตบมือ.
  32. โป ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันของจีน กลักทําด้วยทองเหลืองสี่เหลี่ยม มีลูกแดงขาวข้างในใช้ปั่น, ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือ เอาลิ้นโปใส่ลงในฝาครอบโป ไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโป แล้วตั้งให้แทง โดยยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาวตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับแทงเพียง ๔ ประตูคือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โปปั่น ก็เรียก.
  33. โปก, โป๊ก : ว. เสียงดังอย่างเอาค้อนเคาะกระดาน.
  34. โปกำ : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือเมล็ดละหุ่ง เป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนนทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตูแทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธีแทงโปมาใช้ คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, ถั่ว ก็เรียก.
  35. โป้ง : ว. อาการที่พูดโพล่งออกมาโดยไม่ระมัดระวังปาก หรือพูดเปิดเผย สิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คํานึงถึงความผิดพลาดเสียหาย; ใหญ่ เช่น หัวโป้ง; เสียงดังอย่างเสียงปืนเป็นต้น.
  36. โปปั่น : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือเอาลิ้นโปใส่ลงใน ฝาครอบโปไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโปแล้วตั้งให้แทง โดย ยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาว ตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับ แทงเพียง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โป ก็เรียก.
  37. โปรด : [โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความ เมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรด ข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).
  38. โปโล ๑ : น. การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง โดยขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้.
  39. โป๊ะจ้าย : น. เรือลําเลียงหรือบรรทุกของชนิดหนึ่ง เป็นเรือขนาดใหญ่ ต่อ อย่างแบบตะวันตก แต่มีเสาเพลาใบเป็นอย่างสําเภา, เรือโป๊ะ ก็เรียก.
  40. โป๊ะแตก : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ของทะเล เช่น หอยแมลงภู่สด ปลากะพง ปูม้า ปลาหมึก กุ้ง ต้มในน้ำเดือดซึ่งมีตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม รากผักชี ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามหรือมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู พริกแห้งเผา.
  41. ไปรษณีย์; : (กฎ) จดหมาย ไปรษณียบัตร ไปรษณียบัตรตอบรับ หนังสือกิติยคดี ตัวอย่างหรือแบบสินค้า ของตีพิมพ์ทุกชนิด หนังสือพิมพ์ลงทะเบียน ห่อจดหมาย ห่อพัสดุ ธนาณัติ เช็ค ไปรษณีย์ หรือวัตถุอย่างอื่นที่นํามาใช้ในการสื่อสารไปรษณีย์.
  42. ไปรษณีย์รับรอง : น. ไปรษณีย์พิเศษอย่างหนึ่งซึ่งรับฝากและ นําจ่ายไปรษณียภัณฑ์โดยมีหลักฐานการรับฝากและนำจ่าย ใช้เฉพาะกิจการไปรษณีย์ในประเทศเท่านั้น.
  43. ไปไหนมาสามวาสองศอก : (สํา) ก. ถามอย่างหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง.
  44. ผลับ : [ผฺลับ] ว. เร็ว; เสียงอย่างเสียงสุนัขกินนํ้าข้าว.
  45. ผลัวะ : [ผฺลัวะ] ว. อาการที่ผลุนผลันเข้าไปหรือออกมาอย่างรวดเร็ว เช่น เปิดประตูผลัวะเข้าไป; เสียงดังอย่างเอาดินปาพุ่มไม้หรืออย่างเสียง นกเขาที่บินออกจากพุ่มไม้.
  46. ผลึก : [ผะหฺลึก] น. ชื่อแก้วอย่างหนึ่งมีสีใสขาว เรียกว่า แก้วผลึก, สิ่งมี ลักษณะขาวใสดั่งแก้ว เช่น น้ำตาลตกผลึก ผลึกน้ำตาล. (ป. ผลิก); (วิทยา) ของแข็งที่มีโครงสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน เฉพาะตัว. (อ. crystal).
  47. ผลึ่ง : [ผฺลึ่ง] ก. บวมขึ้น, พองขึ้น. ว. เสียงดังอย่างเสียงของหนัก ๆ ตกลงที่พื้น, อาการที่ล้มหงายไปทันทีทันใด ในคําว่า ล้มผลึ่ง หงายผลึ่ง.
  48. ผลุ : [ผฺลุ] ว. เสียงดังอย่างเสียงของอ่อนน่วมตกลง เช่น มะละกอสุก หล่นลงมาดังผลุ.
  49. ผลุง : [ผฺลุง] ว. อาการที่ทิ้งหรือปาสิ่งของไปโดยเร็ว เช่น ทิ้งผลุง, อาการที่กระโดดไปโดยเร็วในคำว่า โดดผลุง, เสียงอย่างเสียง ของหนักตกนํ้า.
  50. ผลุน : [ผฺลุน] ว. โดยรวดเร็วทันที (อย่างไม่ได้นึกคาดหมาย) เช่น ผลุนไป ผลุนมา วิ่งผลุนไป.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2395

(0.2127 sec)