Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างหวุดหวิด, หวุดหวิด, อย่าง , then หวุดหวิด, อยาง, อย่าง, อยางหวดหวด, อย่างหวุดหวิด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างหวุดหวิด, 2395 found, display 1401-1450
  1. พนม : น. ภูเขา. (ข.); ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม. ก. ทําให้มีรูปอย่างดอกบัวตูม เช่น พนมมือ.
  2. พนัง : น. ทํานบกั้นนํ้าอย่างใหญ่; เครื่องกั้นเครื่องกําบัง เช่น พนังม้า คือแผ่นหนังสำหรับปิดข้างม้าทั้ง ๒ ข้าง พนังที่นอน คือแผ่นผ้า ที่เย็บปิดกั้นรอบข้างที่นอนหรือกั้นภายในที่นอนให้เป็นช่อง ๆ เพื่อยัดนุ่นเป็นลูก ๆ พนังหมอน คือแผ่นผ้าที่เย็บปิดกั้นรอบ หมอน.
  3. พยาธิ ๒ : [พะยาด] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของ ชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์ ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิ เส้นด้าย พยาธิแส้ม้า.
  4. พรต : [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).
  5. พรรคการเมือง : น. กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียว กัน ร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย.
  6. พรรณนา : [พันนะ] ก. กล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็น เป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).
  7. พรรณนาโวหาร : น. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ.
  8. พรวด ๑ : [พฺรวด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น เทพรวด; เสียงดังเช่น นั้น.
  9. พรวดพราด : [พฺราด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น วิ่งพรวดพราด เปิดประตูพรวดพราดเข้ามา.
  10. พรหมจรรย์ : น. การศึกษาปรมัตถ์, การศึกษาพระเวท; การถือพรต บางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, การบวชซึ่งเว้นเมถุนเป็นต้น. (ส.).
  11. พรหมจารี : น. ผู้ศึกษาปรมัตถ์, นักเรียนพระเวท; ผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้นจากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ; หญิงที่ยังบริสุทธิ์. (ป.; ส. พฺรหฺมจารินฺ).
  12. พรหมทัณฑ์ : น. ตามศาสนาพราหมณ์หมายความว่า ''ไม้พระพรหม'' ชื่อศัสตรากายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง; การสาปแห่งพราหมณ์; โทษอย่างสูง คือห้ามไม่ให้ใคร ๆ พูดด้วยในหมู่สงฆ์ด้วยกัน. (ส., ป.).
  13. พรอด, พรอด ๆ : [พฺรอด] ว. เสียงดังอย่างเสียงของเหลวปนกับลมไหลออกจากช่อง เล็ก ๆ หรือขึ้นมาจากเลนตม. น. เรียกดินเลนที่ฟูดโป่งขึ้นมา เช่น พรอดปลาไหล คือดินที่โป่งขึ้นมาซึ่งเป็นที่มีปลาไหล, ฟอด ก็ว่า.
  14. พร้อมเพรียง : ว. ครบถ้วน, ร่วมใจกัน, เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น ช่วยกันทำงานอย่างพร้อมเพรียง.
  15. พร้อมมูล : ว. บริบูรณ์, มีครบทุกอย่าง, เช่น มีหลักฐานพร้อมมูล.
  16. พร้อมสรรพ : ว. พร้อมทุกอย่าง, มีครบทุกอย่าง, เช่น เตรียมให้ พร้อมสรรพ.
  17. พรักพร้อม : [พฺรัก] ว. รวมอยู่พร้อมหน้ากัน ใช้ในลักษณะเช่นญาติพี่น้องมา กันพรักพร้อม, รวมอยู่พร้อมทุกอย่าง เช่น เตรียมข้าวของไว้ให้ พรักพร้อม, พร้อมพรัก ก็ว่า.
  18. พรั่งพรู : ว. เข้าหรือออกพร้อม ๆ กันอย่างเนืองแน่น เช่น คนพรั่งพรู กันเข้ามา คำพูดพรั่งพรูออกจากปาก.
  19. พราก ๑ : [พฺราก] ก. จากไป, พาเอาไปเสียจาก, แยกออกจากกัน, เอาออก จากกัน, (ใช้เฉพาะสิ่งที่พัวพันกันอยู่อย่างใกล้ชิด) เช่น พรากลูก พรากเมียเขา พรากลูกจากอกแม่.
  20. พริ้ม : ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า, เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม.
  21. พลการ : [พะละกาน] น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อําเภอใจ, เช่น ทําโดยพลการ. (ป. พลกฺการ; ส. พลาตฺการ).
  22. พลอด : [พฺลอด] ก. พูดเรื่อยอย่างอ่อนหวานน่าฟัง.
  23. พล่าน : [พฺล่าน] ว. อาการเป็นไปในลักษณะป่วน วุ่น สับสน ลนลาน ซ่าน หรืออย่างอื่นที่คล้ายกัน เช่น เดือดพล่าน วิ่งพล่าน เดินพล่าน.
  24. พลาสมา : น. ส่วนประกอบของเลือดที่แยกเอาเม็ดเลือดออกแล้ว; (ฟิสิกส์) ภาวะหนึ่งของสสาร ณ ภาวะนี้สสารอยู่ในสภาพแก๊สที่ร้อนจัด อย่างยิ่งยวด และแตกตัวเป็นอนุภาคบวกกับอิเล็กตรอนซึ่งมี จํานวนเท่ากันโดยประมาณ สสารในภาวะนี้เป็นตัวนําไฟฟ้าที่ดียิ่ง. (อ. plasma).
  25. พลิกแพลง : [แพฺลง] ว. ยักเยื้องถ่ายเทเป็นอย่างอื่น ๆ, ที่เปลี่ยนแปลง ให้ผิดไปจากแบบปรกติธรรมดา, เช่น พูดพลิกแพลง ทำพลิกแพลง เล่นพลิกแพลง เตะตะกร้อท่าพลิกแพลง. ก. กลับกลาย, เปลี่ยนแปลง, เช่น วิธีการพลิกแพลง; ดัดแปลง, ยักย้ายถ่ายเท, เช่น ช่างพลิกแพลง.
  26. พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ : (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
  27. พลุ : [พฺลุ] น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง บรรจุดินปืนในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อ จุดมีเสียงระเบิดดังคล้ายเสียงปืน, โดยอนุโลมเรียกดอกไม้เพลิง อย่างอื่นที่จุดมีเสียงระเบิดดังเช่นนั้นว่า พลุ. ว. ฟุ, ฟ่าม, ไม่แน่น.
  28. พลุ้ย : [พฺลุ้ย] ว. ยุ้ย, ยื่นออกมาอย่างท้องคนอ้วน, เช่น ท้องพลุ้ย พุงพลุ้ย.
  29. พวง ๑ : น. กลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่อยู่ร่วมขั้วเดียวกันหรือ ผูกมัดไว้รวมกัน เช่น พวงองุ่น พวงดอกไม้ พวงลูกโป่ง; คําต้นของ ไม้เลื้อยพวกหนึ่งที่มีดอกเป็นพวงมีหลายชนิด เช่น พวงแก้วกุดั่น พวงชมพู พวงนาค.
  30. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  31. พอน ๒ : ว. สีเหลืองนวล, เรียกชันชนิดหนึ่งที่มีสีอย่างนั้น สําหรับใช้พอนเรือ เป็นต้นว่า ชันพอนหรือ ลาพอน. ก. ยาด้วยชันเป็นต้นให้เรียบ เช่น พอนครุ พอนกะโล่.
  32. พะ ๒ : ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย.
  33. พะเนียง ๓ : น. ชื่อหม้อนํ้าชนิดหนึ่ง รูปอย่างหม้อคะนน. (รูปภาพ พะเนียง)
  34. พะโล้ : น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศ อื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจน น้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรส หวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้.
  35. พักสมอง : ก. หยุดทำงานที่ทำจำเจหรือหมกมุ่นอยู่ไปทำอย่างอื่น ชั่วคราวเพื่อผ่อนคลายสมอง.
  36. พักสายตา : ก. หยุดใช้สายตาอย่างคร่ำเคร่งชั่วคราว.
  37. พัด : น. เครื่องโบกหรือกระพือลม. ก. ปัดไป, โบก, กระพือ, เช่น เอา พัดมาพัดไฟ พายุพัดฝุ่นตลบ; หมุนอย่างใบพัดพัดลมหรือใบพัด เครื่องบิน.
  38. พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ : น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมด หรือ กำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลาย ต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จ พระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น.
  39. พัดหน้านาง : น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำ กว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้า นางด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็น พัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง.
  40. พันทาง : น. เรียกไก่ที่พ่อเป็นอู แม่เป็นแจ้ ว่า ไก่พันทาง, ภายหลังเรียกเลย ไปถึงสัตว์ที่พ่อแม่ต่างพันธุ์กัน (ยกเว้นปลากัด) จนถึงสิ่งต่างชนิด บางอย่างที่แกมกันหรือไม่เข้าชุดกัน เช่น สุนัขพันทาง เครื่องลาย ครามพันทาง.
  41. พันธุกรรม : น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการ บางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย หรือพ่อแม่, กรรมพันธุ์ ก็ว่า.
  42. พับฐาน : (ปาก) ก. เลิกล้ม, ทําลายลงหมด; แพ้อย่างราบคาบ.
  43. พากย์ : ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
  44. พาดควาย : ว. เรียกลักษณะการห่มผ้าของพระอย่างหนึ่ง คือเอาจีวร จีบเข้าแล้วพาดบ่าแล้วคาดรัดประคดอก ว่า ห่มพาดควาย.
  45. พำพึม, พำ ๆ, พึม ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงคนพูดหรือบ่นค่อย ๆ, พึมพํา ก็ว่า.
  46. พิกัติ : น. การทําให้เป็นหลายอย่าง, การกระทําให้แปลกออกไป, การ ประดิษฐ์ทํา. (ป. วิกติ; ส. วิกฺฤติ).
  47. พิเคราะห์ : ก. ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ. (ส. วิคฺรห; ป. วิคฺคห)
  48. พิธี : น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียม ประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธี ประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี; การกําหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
  49. พิธีกรรม : น. การบูชา, แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติใน ทางศาสนา.
  50. พิธีสาร : (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตราสารอันบรรจุไว้ซึ่งความตกลงที่มีความสําคัญรองลงมาจาก สนธิสัญญาและอนุสัญญา โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายหรือแก้ไข เพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา. (อ. protocol).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2395

(0.1009 sec)