Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างหวุดหวิด, หวุดหวิด, อย่าง , then หวุดหวิด, อยาง, อย่าง, อยางหวดหวด, อย่างหวุดหวิด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างหวุดหวิด, 2395 found, display 1801-1850
  1. ละเมียด : ก. มิดชิดอย่างสุภาพ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ละไม เป็น ละเมียดละไม; คล้ายคลึง, ละม้าย, มักใช้เข้าคู่กับคำ เหมือน เป็น ละเมียดเหมือน.
  2. ละลด : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า.
  3. ละลาย : ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้า หรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลาย ในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีก อย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอน ละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายใน แก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  4. ละล้าว : ว. อย่างเกรงกลัว เช่น ไหว้ละล้าว. (นิ. นรินทร์).
  5. ละล่ำละลัก : ก. อาการที่พูดไม่ได้เร็วอย่างใจกระอึกกระอักติด ๆ ขัด ๆ เพราะ เหนื่อย ตกใจ ดีใจ หรือรีบร้อน เป็นต้น.
  6. ละเอียดลออ : ว. ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น ตรวจบัญชีอย่างละเอียดลออ ดูแลข้าวของอย่างละเอียดลออ ไม่ให้ตกเรี่ยเสียหาย.
  7. ลักเค้า : ก. ลอบทําเอาแบบอย่างเขา.
  8. ลักจั่น : [ลักกะจั่น] น. นํ้าเต้าหรือภาชนะดินรูปคล้ายนํ้าเต้า สําหรับบรรจุนํ้า ในเวลาเดินทางอย่างที่พระธุดงค์ใช้.
  9. ลักซ่อน : ก. อาการที่คล้ายมีอะไรบางอย่างมาทำให้มองไม่เห็น หรือหาไม่พบ เชื่อกันว่าถูกผีลักไปซ่อนหรือผีบังตา.
  10. ลักลอบ : ก. ลอบกระทำการบางอย่าง เช่น ลักลอบได้เสียกัน ลักลอบ เข้าเมือง ลักลอบเล่นการพนัน.
  11. ลักศพ : ก. นําศพไปอย่างเงียบ ๆ เพื่อปลง.
  12. ลับลมคมใน : ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็น อย่างไร เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมใน ต้องสืบสวนต่อไป.
  13. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  14. ลา ๒ : น. เรียกการจบหรือสิ้นสุดลงระยะหนึ่ง ๆ ของพิธีบางอย่างว่า ลาหนึ่ง ๆ เช่น โห่ ๓ ลา ยํ่าฆ้อง ๓ ลา.
  15. ลาก : ก. ทําให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไป โยงไป เช่น ลากเกวียน ม้าลากรถ กระโปรงยาวลากดิน; โดยปริยาย หมายความว่า ใช้อย่างสมบุกสมบัน, ใช้ถูไถ, เช่น เอาผ้าซิ่นไหม มานุ่งลากอยู่กับบ้าน. ว. ที่ทำให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไปโยงไป เช่น รถลาก.
  16. ลาข้าวพระ : ก. ทําพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสํารับพระพุทธ โดยยกมือ ประนมกล่าวคําว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสํารับออกมา.
  17. ลาง ๔ : ว. ต่าง, แต่ละ, บาง, เช่น ลางคน ลางสิ่งลางอย่าง.
  18. ล้างซวย : ก. ทำพิธีหรือประกอบความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อล้าง ความซวยให้หมดไป เช่น อาบน้ำมนต์ล้างซวย ทำบุญล้างซวย.
  19. ลางเนื้อชอบลางยา : น. ยาอย่างเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับ อีกคนหนึ่ง; (สํา) ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีก คนหนึ่ง.
  20. ล้างยา : ก. ทำลายฤทธิ์ยา, ทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อม, โดยเชื่อกันว่าอาหาร หรือผลไม้บางอย่างเมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อมได้.
  21. ล้างสมอง : ก. ทําให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือ ของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่าง สิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการ ต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง.
  22. ล้างอาถรรพ์, ล้างอาถรรพณ์ : ก. ทำพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้คุณไสย ที่ถูกกระทำหรือแก้อำนาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป.
  23. ล้างอาย : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการแก้หน้า.
  24. ล่าเตียง, ล้าเตียง : น. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่งใช้ไข่โรยเป็นร่างแห ห่อไส้ซึ่งทำด้วยกุ้ง ผัดกับเครื่องปรุง ให้มีขนาดพอดีคำ.
  25. ลาน ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Corypha วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล ใบใช้จารหนังสือ ทําหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด C. umbraculifera L. ปลูกตามวัด, ชนิด C. lecomtei Becc. ขึ้นในป่าดิบ. ว. สีเหลืองนวล อย่างใบลาน เรียกว่า สีลาน.
  26. ลาภมิควรได้ : (กฎ) น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่ง กระทําเพื่อชําระหนี้ หรือได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้ มีมิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว หรือได้มา เพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็น ทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ.
  27. ลายก้นหอย : น. ลายนิ้วมือเป็นต้นที่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่าง ก้นหอย, ลายถักที่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอย.
  28. ลายเฉลวโปร่ง : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานสิ่งของ หลายอย่าง เช่น สานชะลอม สานกระเช้าตาดอกพิกุล มักสานด้วย ไม้ไผ่ จะสานด้วยตอกปื้นหรือตอกตะแคงก็ได้ มีลักษณะเป็นตา หกเหลี่ยม, ลายเฉลว ๖ มุม ก็เรียก.
  29. ลายมัดหวาย : น. ลายนิ้วมือเป็นต้นที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลาง อย่างก้นหอย.
  30. ลายไม้ : น. ลายอย่างลายไม้ของผ้าม่วงหรือแพรเกิดเพราะทออัดแน่น.
  31. ลายฮ่อ : น. ลายเส้นเขียนเป็นไพรคิ้วไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบ ด้วยเส้นสีแดง ดินแดงและสีทอง, เส้นฮ่อ ก็เรียก; ลายที่เขียนเป็น อย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ใน งานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ.
  32. ลำหักลำโค่น : (สำ) น. ชั้นเชิงที่ใช้หักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น นักมวยคนนี้ชกมีลำหักลำ โค่นดี. ว. ใช้ชั้นเชิงหักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือ โดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น การที่จะเอาชนะนักมวยคนนี้ต้องใช้วิธี ลำหักลำโค่น.
  33. ลิขสิทธิ์ : [ลิกขะสิด] น. สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และประดิษฐกรรม ซึ่งผู้เป็นต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย; (กฎ) สิทธิแต่ผู้เดียว ที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตน ได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงาน นั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย. (อ. copyright).
  34. ลิงชิงหลัก : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนประจําหลัก ของตนและต้องวิ่งสับหลักกันไปมา มีผู้เล่นอีกคนหนึ่งยืนอยู่ตรง กลาง เรียกว่า ลิง คอยชิงหลักของคนอื่นในขณะที่วิ่งสับหลักกัน, ถ้าใช้ลูกบอลโยนแทนการวิ่งสับหลัก เรียกว่า ลิงชิงบอล.
  35. ลิ้นไก่สั้น : ว. อาการที่พูดอ้อแอ้หรือพูดไม่ชัดอย่างคนเมาเหล้าเป็นต้น.
  36. ลินลา, ลิ้นลา : ก. ไปอย่างนวยนาด. (เพี้ยนมาจาก ป., ส. ลีลา).
  37. ลิ่มเลือด : น. เลือดซึ่งแปรรูปคล้ายวุ้น มีทั้งประโยชน์และโทษ ที่มีประโยชน์เกิดนอกร่างกาย เช่นเวลาเป็นแผลมีเลือดออกแล้ว แข็งเป็นลิ่ม เลือดก็จะหยุดไหล ที่มีโทษเกิดภายในร่างกายซึ่งเกิด จากการผิดปรกติบางอย่างของร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตราย ร้ายแรงได้โดยไปอุดตามหลอดเลือดฝอยเช่นที่สมอง ทำให้เป็น อัมพาต ที่หัวใจ ทำให้หัวใจวาย.
  38. ลืมกลืน : น. ชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้ง ถั่วกวนกับน้ำตาลทรายหยอดหน้าด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิอย่าง หน้าตะโก้ โรยหน้าด้วยถั่วทองคั่ว.
  39. ลืมหูลืมตา : ก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.
  40. ลุกลา : ม ก. แผ่กว้างออกไปโดยเร็ว เช่น ไฟลุกลามไปอย่างรวดเร็ว.
  41. ลุกลี้ลุกลน : ว. เร่งรีบอย่างไม่เป็นระเบียบ เช่น เขามีกิริยาลุกลี้ลุกลน เดินลุกลี้ ลุกลน.
  42. ลุกฮือ : ก. ไหม้โพลงขึ้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เช่น ไฟไหม้พอมีลม พัดก็ลุกฮือ; อาการที่คนจำนวนมากลุกขึ้นพร้อม ๆ กันเพราะแตกตื่น ชั่วขณะเป็นต้น เช่น พอเห็นตำรวจมาก็ลุกฮือ, อาการที่กลุ่มคน กลุ้มรุมกันเข้าต่อสู้กับผู้มีอำนาจ เช่น ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน รัฐบาลที่กดขี่ประชาชน.
  43. ลุ้ง : น. ภาชนะใส่อาหารหรือของอย่างอื่น รูปทรงกระบอกมีฝาปิด สานอย่างตะกร้าหรือเครื่องเขินก็มี ทําด้วยโลหะมีทองเหลือง และเหล็กวิลาดเป็นต้นก็มี, ถ้าใช้ใส่อาหารมักแบ่งข้างในเป็น ห้อง ๆ, ถ้าใช้ใส่ชฎา ก็มีฝาเรียวรูปกรวยเพื่อครอบยอดชฎาได้; โลงสําหรับใส่ศพ รูปสี่เหลี่ยมปากผาย ก้นสอบ; ภาชนะดินปั้น ใช้ใส่อัฐิเพื่อนำไปลอยน้ำ.
  44. ลุ่ยหู : ว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้ ถูกกัดหูเสียจนหมด).
  45. ลุโสดา : ก. บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน; (ปาก) หมดกิเลส, รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ฉันยังไม่ลุโสดานี่; บรรลุโสดา ก็ว่า.
  46. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  47. ลูกกวาด : น. ของหวานทําด้วยนํ้าตาล มีสีต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเม็ด กลม ๆ แน่นแข็ง บางอย่างมีถั่วเป็นต้นอยู่ข้างใน ใช้เคี้ยวหรืออม ให้ค่อย ๆ ละลายไปเอง.
  48. ลูกขัด ๑ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไป อีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  49. ลูกข่าง : น. ของเล่นอย่างหนึ่งเป็นลูกกลม ๆ มีเดือยใช้ปั่นให้หมุน ด้วยมือหรือด้วยเชือก.
  50. ลูกขุน ณ ศาลหลวง : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่าง ศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะ พิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | [1801-1850] | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2395

(0.1078 sec)