Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างหวุดหวิด, หวุดหวิด, อย่าง , then หวุดหวิด, อยาง, อย่าง, อยางหวดหวด, อย่างหวุดหวิด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างหวุดหวิด, 2395 found, display 2101-2150
  1. หนาหู : ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหู ว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็น คำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.
  2. หน้าแหก : (ปาก) ว. อาการที่ต้องได้รับความอับอายขายหน้าอย่างยิ่งเพราะ ผิดหวังอย่างมากหรือเพราะถูกโต้ถูกย้อนกลับมาอย่างเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น.
  3. หนี้ : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.
  4. หนีเสือปะจระเข้ : (สํา) ก. หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตราย อีกอย่างหนึ่ง.
  5. หนู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะ นําโรค. ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของ บางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.
  6. หมก ๑ : ก. ซุกไว้ใต้ เช่น หมกดิน หมกโคลน หมกทราย, หลบหน้า เช่น ไปหมกหัว อยู่ที่ไหน, ทิ้งสุม ๆ ไว้ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วอย่าหมกไว้; เรียกวิธีทําอาหาร บางอย่างให้สุกด้วยการหมกไฟ เช่น หมกปลา หมกหัวมันเทศ.
  7. ห่มคลุม : น.เรียกวิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยปิดไหล่ทั้ง ๒ ข้าง.
  8. หมดเปลือก : ว. แจ่มแจ้ง, ไม่มีอะไรเคลือบแฝง, เช่น เขาอธิบายจนหมด เปลือก เขาพรรณนาเรื่องราวอย่างละเอียดจนหมดเปลือก.
  9. หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
  10. ห่มดอง : น. เรียกวิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่า และมีผ้ารัดอก.
  11. หมวกกะหลาป๋า : น. หมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรง สูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าสมัยต้น รัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป.
  12. หมวกหนีบ : น. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาด รูปทรง คล้ายซองจดหมายอย่างยาว.
  13. หม้อ : น. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง, เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียก ตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.
  14. หมอก : [หฺมอก] น. ละอองน้ำขนาดเล็กมากที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกิดจากการ กลั่นตัวของไอนํ้า ลอยอยู่ในอากาศ. ว. สีเทาแก่อย่างสีเมฆ, เป็นฝ้ามัว เช่น ตาหมอก.
  15. หมั่น : ก. ขยัน, ทําหรือประพฤติบ่อย ๆ อย่างเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, เช่น หมั่นทำ การบ้าน หมั่นมาหา.
  16. หมับ : ว. คำสำหรับประกอบกิริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้า หมับ ฉวยหมับ หยิบหมับ, มับ ก็ว่า.
  17. หมับ ๆ : ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, มับ ๆ ก็ว่า.
  18. หมากจุก : น. เนื้อหมากดิบสดที่นำมาเจียนอย่างหมากเจียน แล้วจึงซอย ตามยาวออกเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง.
  19. หมากฝรั่ง : น. ของเคี้ยวเล่นอย่างหนึ่ง ทําจากสารคล้ายยางไม้ มักหุ้มด้วย สารหวาน แล้วปรุงให้มีกลิ่นและรสต่าง ๆ เมื่อเคี้ยวจะยืดหยุ่นคล้ายยาง.
  20. หมากแยก : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ตัวหมากเดินบนกระดานสี่เหลี่ยม จัตุรัสแบ่งเป็น ๖๔ ตาเท่า ๆ กันอย่างกระดานหมากรุก.
  21. หมากลางถนน : น. หมาที่ไม่มีเจ้าของ, โดยปริยายใช้เป็นสำนวนเปรียบ เทียบคนที่ไม่มีสังกัด ไม่มีญาติพี่น้อง ยากจนอนาถา ไม่มีใครเหลียวแล เช่น เขาตายอย่างหมากลางถนน.
  22. หมากสุก : น. ผลหมากแก่จัด เปลือกสีส้มอมแดง เมื่อผ่าจะเห็นเนื้อใน แข็งมาก. ว. เรียกสีส้มอมแดงอย่างสีเปลือกหมากสุก ว่า สีหมากสุก.
  23. หมากหน้าแก่, หมากหน้าฝาด : น. ผลหมากอย่างดี เมื่อผ่าสดจะเห็น ว่ามีเนื้อมาก สีออกส้มหรือน้ำตาลแดง มีวุ้นน้อย หน้าหมากมียางเยิ้ม เป็นมัน มีลายเส้นในเนื้อมาก รสฝาด.
  24. หมากหอม : น. หมากแห้งที่ป่นเป็นผง ผสมกับเครื่องเทศบางอย่างที่มี กลิ่นหอม ใช้กินควบกับหมากและพลูที่บ้ายปูน หรืออมดับกลิ่นปาก.
  25. หมาจนตรอก : (สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ใน สำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก.
  26. หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
  27. หมายมั่น : ก. มุ่งหมายอย่างแน่วแน่, มั่นหมาย ก็ว่า.
  28. หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
  29. หมาหางด้วน : (สํา) น. คนที่ทําอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้ว ชวนให้ผู้อื่นทําตามโดยยกย่องการกระทํานั้นว่าดี ควรเอาอย่าง.
  30. หมุบหมิบ : ว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของ ปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า.
  31. หมุ่ย : ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง, มุย ก็ว่า.
  32. หย็อกหย็อย : ว. มีลักษณะเป็นเส้นหยิก ๆ งอ ๆ อย่างผมเด็กเล็ก ๆ.
  33. หย็อย, หย็อย ๆ : ว. อาการที่เต้นหรือกระโดดเร็ว ๆ เรียก เต้นหย็อย ๆ, อาการที่เคลื่อนไหว น้อย ๆ อย่างเร็ว เช่น วิ่งหย็อย ๆ โบกมือหย็อย ๆ ลมพัดผมปลิวหย็อย ๆ.
  34. หยั่งเสียง : ก. ลองพูดหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจาก ผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.
  35. หยิบยืม : ก. ยืมสิ่งของบางอย่างที่พอหยิบได้.
  36. หยิบหย่ง, หยิบโหย่ง : ว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน, ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.
  37. หโยดม : น. ม้าอย่างดี. (ป. หย + อุตฺตม).
  38. หรี่ตา : ก. ทำตาให้หยีลงเพื่อให้แสงสว่างเข้าตาน้อยหรือเพื่อเป็นอาณัติ สัญญาณบางอย่าง.
  39. หรือ : สัน. คําบอกความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาเงินหรือทอง; คําประกอบกับประโยคคําถาม เช่น ไปหรือ.
  40. หรุ่ม ๑ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ไส้ทําด้วยหมูหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผัดกับถั่วลิสง หัวหอม และเครื่องปรุง ห่อด้วยไข่โรยฝอยขนาดพอดีคํา.
  41. หลน : [หฺลน] ก. เคี่ยวของบางอย่างเช่นปลาร้าปลาเจ่าให้ละลายและงวดข้น เพื่อปรุงเป็นอาหาร. น. อาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย กะทิ หัวหอม หมูหรือกุ้งสับ เคี่ยวรวมกันแล้วใส่ปลาร้าหรือเต้าเจี้ยวแห้ง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกชื่อตามนั้น ปรุงรสให้เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ปลาร้าหลน เต้าเจี้ยวหลน เต้าหู้ยี้หลน ปลากุเลาหลนรับประทานกับ ผักสด.
  42. หลบฉาก : ก. หลบอย่างมีชั้นเชิง (ใช้ในกีฬามวย), โดยปริยายหมายความว่า หลีกหนีไม่ให้พบหน้า.
  43. หลบหลังคา : ก. ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้. น. เครื่อง มุงที่ใช้ปิดสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้; วิธีสอยชายผ้าอย่างหนึ่ง.
  44. หลอ : ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ หมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟัน ที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
  45. หลอด ๑ : [หฺลอด] น. ของกลมยาวขนาดเล็กที่มีรูตลอด เช่น หลอดกาแฟ หลอดแก้ว, โดยปริยายเรียกสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลอด ตะเกียง หลอดไฟฟ้า หลอดวิทยุ หลอดนีออน หลอดทดลอง, เรียกแกน ที่มีช่วงกลางคอดคล้ายลูกล้อสำหรับพันด้ายว่า หลอดด้าย, เรียกด้ายที่พัน หลอดเช่นนั้นว่า ด้ายหลอด, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ยาฉีด ๓ หลอด.
  46. หล่อน้ำ : ก. เอาน้ำใส่ภาชนะเพื่อรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกันไม่ให้มดขึ้น เช่น หล่อน้ำขาตู้กับข้าว, เอาสิ่งของบางอย่างใส่ไว้ในภาชนะแล้วเอาภาชนะนั้น วางไว้บนอีกภาชนะหนึ่งซึ่งขังน้ำไว้เพื่อกันไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาจานขนม ไปวางบนแก้วที่หล่อน้ำไว้; (โบ) เอาน้ำไปขังไว้ในภาชนะเพื่อใช้ใน พระราชพิธีมูรธาภิเษกเป็นต้น.
  47. หลักเมือง : น. เสาที่ยกตั้งขึ้นเพื่อแสดงว่าจะสร้างเมืองที่ตรงนั้นอย่าง แน่นอน.
  48. หลักสูตร : น. ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในการศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  49. หลัง ๑ : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  50. หลับตา : ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้ หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | [2101-2150] | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2395

(0.0890 sec)