Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างมั่นใจ, มั่นใจ, อย่าง , then มนจ, มั่นใจ, อยาง, อย่าง, อยางมนจ, อย่างมั่นใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างมั่นใจ, 2407 found, display 1001-1050
  1. ทะเล้น : ก. โปนออก เช่น ตาทะเล้น, ล้นออก เช่น เนื้อผ้าตรงตะเข็บทะเล้น ออก. ว. ทําหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งโดยไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ โอกาส.
  2. ทะเล่อทะล่า : ว. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างพรวดพราดโดยไม่ถูกกาลเทศะ หรืออย่างไม่ระมัดระวัง เช่น เดินทะเล่อทะล่าเข้าไปในที่ประชุม วิ่งทะเล่อทะล่าออกไปที่ถนนเลยถูกรถชน.
  3. ทักขิณาวัฏ : น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักษิณาวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวัฏ หรือ อุตราวรรต. (ป.; ส. ทกฺษิณาวรฺต).
  4. ทักทาย : ก. ไต่ถามถึงความเป็นอยู่หรือทุกข์สุขอย่างเป็นกันเอง.
  5. ทักษิณาวรรต : น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. (ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).
  6. ทันกิน : ก. คิดหรือทําการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ทําการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน.
  7. ท้าง : (กลอน) ว. ทั่ว, ตลอด, โบราณใช้อย่างเดียวกับ ทั้ง.
  8. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  9. ทางหลวง : (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการ จราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และ หมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือราง ระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมาย สัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้น หรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดา ที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
  10. ท่าเดียว : (ปาก) ว. อย่างเดียว, ประการเดียว, ถ่ายเดียว, เช่น จะกินท่าเดียว.
  11. ทานบารมี : [ทานนะ-] น. จรรยาอย่างเลิศ คือ ทาน. (ป. ทานปารมี; ส. ทานปารมิตา).
  12. ท่านั้นท่านี้ : (สํา) ว. อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้, เช่น พูดท่านั้นท่านี้.
  13. ทารุณกรรม : [ทารุนนะกํา] น. การกระทําอย่างโหดร้าย. (ส.).
  14. ทาสทาน : [ทาดสะ-] น. ทานอย่างเลว คือ อาการที่โยนให้หรือให้ โดยไม่เต็มใจ. (ป., ส.).
  15. ทำได้, ทำได้ลงคอ : ก. ทําอย่างไม่เกรงใจ.
  16. ทำท่า : ก. แสดงกิริยาหรืออาการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  17. ทำนอง : น. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทํานองคลองธรรม ทํานองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทํานองสวด ทํานองเทศน์ ทํานองเพลง.
  18. ทำนองเสนาะ : น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของ บทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
  19. ทำไม : ว. เพราะเหตุไร, เพราะอะไร, เพื่ออะไร. ก. ทําอะไร เช่น ฉันจะทํา อย่างนี้ ใครจะทําไม.
  20. ทำลิง : ก. ทําอาการซุกซนอย่างลิงอย่างค่าง, ทําลิงทําค่าง ก็ว่า.
  21. ทิ้งกระจาด : น. ประเพณีทางศาสนาอย่างหนึ่งของจีน โดยนำอาหาร ข้าวสาร และเงินใส่กระจาดเล็ก ๆ ทิ้งให้คนยากจนแย่งกันแบบโปรย ทานต่อมาใช้ทิ้งติ้วหรือสลากสำหรับนำไปขึ้นของแทน.
  22. ทิ้งทวน : (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทํา อีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวย โอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
  23. ทิ้งมะพร้าวห้าว : น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่า ทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอามือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, มัดหมู ก็ว่า.
  24. ทิฏฐานุคติ : (แบบ) น. แบบอย่าง. (ป. ทิฏฺ?านุคติ ว่า ดําเนินตามสิ่งที่ปรากฏ).
  25. ทิพจักขุ : [ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).
  26. ทิพยจักษุ : [ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
  27. ทิพย-, ทิพย์ : [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  28. ทิพยพยาน : น. พยานที่ศักดิ์สิทธิ์, พยานที่เชื่อถือได้อย่างมั่นคง.
  29. ทิพยโศรตร : [ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไร ได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).
  30. ทิพโสต : [ทิบพะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพโสต; ส. ทิพฺยโศฺรตฺร).
  31. ทีเด็ด : น. ชั้นเชิงที่สามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเด็ดขาด.
  32. ทึก ๑, ทึกทัก : ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้.
  33. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  34. ทุกนิบาต : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กําหนดด้วยธรรม หรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. (ป.).
  35. ทุกูล : (แบบ) น. ผ้าอย่างดี, มักใช้ว่า ผ้าทุกูลพัสตร์. (ป., ส.).
  36. ทุ่มเถียง : ก. เถียงกันรุนแรงอย่างทะเลาะ.
  37. ทุ่มเท : ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกําลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกําลังความคิด.
  38. ทุย : ว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติ จนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็น คําเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.
  39. ทุลักทุเล : ว. อาการที่เป็นไปอย่างขลุกขลัก ยุ่งยาก วุ่นวาย ไม่เป็นระเบียบ.
  40. เท : ก. ตะแคงหรือเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในนั้นไหลลงไปหรือ ออกไป เช่น เทนํ้า เทขยะ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนตกลงมามาก ๆ อย่างเทนํ้า ก็เรียกว่า ฝนเทลงมา, อาการที่คนจํานวนมาก ๆ เคลื่อนไปรวมกันตามแนวเท. ว. เอียงหรือ ตะแคงไปข้างหนึ่ง เช่น เรือเท พื้นเท. น. ชื่อมาตราตวงเหล้า ๑ เท เท่ากับ ๒๐ ทะนาน.
  41. เท้ง ๓ : น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายเรือกําปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็น ปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสําหรับ ชักใบ กลางลํามีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลม และมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่เจาะรูสมอ, ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง หัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุน เรือนแพ.
  42. เทน้ำเทท่า : (ปาก) ว. คล่อง, รวดเร็ว, มักใช้ประกอบคํา ขาย เป็น ขายดีอย่างเทนํ้าเทท่า.
  43. เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
  44. เทริด : [เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า. (รูปภาพ เทริด)
  45. เทศน์, เทศนา : [เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทาง ศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์ เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
  46. เทา ๓ : ว. สีหม่น ๆ อย่างสีขี้เถ้า เรียกว่า สีเทา.
  47. เทา ๔ : ก. ยอบตัวลง, หมอบลง, คุกเข่า. ว. มีอาการสั่นรัว ๆ อย่างคน เป็นไข้ เรียกว่า สั่นเทา.
  48. เทิ่ง : ว. ที่ปรากฏชัดหรือเห็นได้อย่างชัดแจ้ง เช่น เดินเทิ่ง ๆ แบกของ มาเทิ่ง ๆ.
  49. เทียมรถ เทียมแอก. : ว. ทําเอาอย่างให้เหมือนหรือคล้ายของจริงของแท้ เช่น ทําเทียม ของเทียม ฝนเทียม ดาวเทียม; เสมอกัน, เท่ากัน, เช่น สูงเทียมเมฆ.
  50. เทียว ๒ : ว. คําที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มี ความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว, เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียวไม่เห็น มาหาบ้างเลย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2407

(0.0947 sec)