Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างมั่นใจ, มั่นใจ, อย่าง , then มนจ, มั่นใจ, อยาง, อย่าง, อยางมนจ, อย่างมั่นใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างมั่นใจ, 2407 found, display 1601-1650
  1. ไม้ขีดไฟ : น. เครื่องขีดไฟชนิดหนึ่งซึ่งใช้ก้านไม้หรือก้านกระดาษชุบปลาย ข้างหนึ่งด้วยสารเคมีบางอย่างให้เป็นตุ่ม เรียกว่า หัวไม้ขีด มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง ใช้ขีดกับผิวที่ฉาบด้วยสารเคมีซึ่งมีฟอสฟอรัสแดงเป็นองค์ประกอบสําคัญทํา ให้เกิดไฟขึ้น อีกชนิดหนึ่งใช้ขีดกับผิวขรุขระทําให้เกิดไฟขึ้น.
  2. ไม้คมแฝก : น. อาวุธชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ ศอก ปลายหน้าตัดมีลักษณะเป็นเหลี่ยมอย่างขนมเปียกปูน ด้านมือจับจะลบ เหลี่ยมออกและมีเชือกร้อยสำหรับคล้องข้อมือจับ.
  3. ไม้ฉาก : น. เครื่องมือเขียนแบบก่อสร้าง ชุดหนึ่งมี ๓ อัน อันหนึ่งมีรูปอย่าง พยัญชนะรูป T อันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมละ ๔๕ ? และอันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมหนึ่งมี ๖๐? กับอีกมุมหนึ่ง ๓๐?; ไม้ดัดแบบหนึ่งซึ่งดัดลำต้น และกิ่งให้เป็นมุมฉาก.
  4. ไม่เชิง : ว. ไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยแน่นอน เช่น จะว่าขี้เกียจก็ไม่เชิง.
  5. ไม้ดำไม้แดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และสีขาว เจ้ามือกำไม้ ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลงในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  6. ไม่ได้เบี้ยเอาข้าว : (สํา) ว. ไม่ได้อย่างหนึ่งก็ต้องเอาอีกอย่างหนึ่ง, ไม่ยอมกลับมือเปล่า.
  7. ไม้ตะพด : น. ไม้ถืออย่างหนึ่งทำด้วยไม้รวกเป็นต้น ยาวประมาณ ๑ เมตร.
  8. ไม่หยุดหย่อน : ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
  9. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  10. ยอกย้อน : ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมี เงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดี ยอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.
  11. ย็อกแย็ก, ย็อกแย็ก ๆ, ย็อก ๆ แย็ก ๆ : ว. อาการที่ทำอย่างไม่เอาจริงเอาจัง ไม่เข้าท่าเข้าทาง ไม่ถูกแบบถูกแผน หรือไม่ได้เรื่องได้ราว เป็นต้น เช่น ทำงานย็อกแย็ก เต้นย็อกแย็ก ๆ ทำ ย็อก ๆ แย็ก ๆ.
  12. ย่อง ๑ : ก. เดินอย่างใช้ปลายเท้าจดลงเบา ๆ.
  13. ย่องกริบ : ก. เดินเข้าไปอย่างเงียบกริบ.
  14. ย้อแย้ : ก. เดินป้อแป้อย่างเป็ด.
  15. ย่อส่วน : ก. จำลองแบบให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่าต้นแบบตามส่วน เช่น จงย่อส่วนแผนที่นี้. น. แบบที่จำลองให้มีรูปทรง ขนาด เล็กลงกว่า ต้นแบบตามส่วนอย่างหุ่นจำลอง เช่น นี่เป็นย่อส่วนของแผนที่ฉบับนั้น.
  16. ยะ ๑ : คําประกอบข้างหน้าคําที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียว กับคําเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.
  17. ยัก ๑ : ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของ บางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้าง ไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุก ยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไป ลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่ง เรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตน ไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
  18. ยักกระสาย : (ปาก) ก. เปลี่ยนน้ำกระสายยาไปตามอาการของโรค, โดย ปริยายหมายความว่า เปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นหรือวิธีอื่นแทน.
  19. ยักคอ : ก. เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการ รำไทยอย่างหนึ่ง.
  20. ยักคิ้ว : ก. ลักษณะของสิ่งซึ่ง ๒ ข้างไม่เท่ากันอย่างนุ่งผ้าโจงกระเบนสูง ข้างต่ำข้าง เรียกว่า นุ่งผ้ายักคิ้ว.
  21. ยักษ์ : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดํา อํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งใน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดย ปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้า ยักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข).
  22. ยังกับ : ว. อย่างกับ, เหมือนกับ, ราวกับ, เช่น สวยยังกับนางสาวไทย เหมือนกันยังกับโขกมาจากพิมพ์เดียวกัน.
  23. ยังเลย : ใช้เป็นคำปฏิเสธกริยาที่ถูกถามอย่างสิ้นเชิง เช่น ถามว่า อ่าน หรือยัง ตอบว่า ยังเลย.
  24. ยัด : ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้า ห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้ แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).
  25. ยั่วยุ : ก. ยุให้เกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  26. ยากไร้ : ว. ยากจน, ขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น คนยากไร้.
  27. ยาง ๓ : น. ของเหลวและเหนียวไหลออกจากแผลต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง เช่น ยางสน ยางกล้วย ยางมะละกอ; เรียกสิ่งบางอย่างที่ทําจากยางพาราเป็นต้น เช่น ยางรถ ยางลบ, โดยปริยายเรียกของเหลวที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น แกงบูดเป็นยาง.
  28. ย่างเยื้อง : ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า.
  29. ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
  30. ยาย : น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือ ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คําเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อย เคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราว คราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู.
  31. ยาระบาย : น. ยาถ่ายอย่างอ่อน.
  32. ยารุ : น. ยาถ่ายอย่างแรง.
  33. ยาวเฟื้อย : ว. ยาวมาก (มักใช้แก่สิ่งที่เป็นเส้นอย่างผมหรือหางไก่เป็นต้น) เช่น ผมยาวเฟื้อย ไก่ฟ้าหางยาวเฟื้อย.
  34. ยาวรี : ว. กลมยาวเรียวและมีหัวท้ายเหมือนเมล็ดข้าวสาร, ยาวเรียวไป อย่างใบข้าว คือ โคนโตปลายเรียวเล็ก.
  35. ยาเสพติดให้โทษ : (กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้า สู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสําคัญ เช่นต้องเพิ่ม ขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดย ทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือ ให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่.
  36. ยำ ๑ : ก. เคล้าคละ, ปะปน. น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อ สัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ.
  37. ย้ำหัวเห็ด : ก. สอดนอตที่ปลายข้างหนึ่งบานลงในรูแผ่นโลหะ ๒ แผ่นที่ ซ้อนให้รูตรงกัน ทำให้นอตร้อนจัดแล้วตอกย้ำให้ปลายบานอย่างดอกเห็ด ซึ่งเมื่อปล่อยให้เย็น นอตจะหดตัวรัดโลหะ ๒ แผ่นนี้ให้แนบกันสนิท.
  38. ยิ่งนัก : ว. อย่างยิ่ง.
  39. ยิ่งยวด : ว. เยี่ยมที่สุด เช่น มีความสามารถอย่างยิ่งยวด, มากที่สุด เช่น ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด, ยวดยิ่ง ก็ว่า.
  40. ยิบ ๆ : ว. อาการที่รู้สึกคันทั่วไปตามผิวหนังเพราะเป็นผดหรือถูกละออง เป็นต้น เช่น คันผดยิบ ๆ; อาการกะพริบตาถี่ ๆ เช่น ทำตายิบ ๆ; เป็น ประกายอย่างเปลวแดด เช่น เห็นแดดยิบ ๆ.
  41. ยิ้มแฉ่ง : ก. ยิ้มอย่างร่าเริงเบิกบาน.
  42. ยิ้มแต้ : ก. ยิ้มอย่างเปิดเผยด้วยความยินดีหรือดีใจมาก.
  43. ยิมนาสติก : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง แข่งขันกันโดยผู้เล่นต้องแสดงท่าต่าง ๆ ที่มีทั้งท่า บังคับและท่าสมัครให้เข้ากับอุปกรณ์การเล่นแต่ละอย่าง เช่น บาร์เดี่ยว บาร์คู่ ห่วงนิ่ง. (อ. gymnastic).
  44. ยิ้มเผล่ : ก. ยิ้มอย่างกระหยิ่มอิ่มใจ.
  45. ยิ้มแย้ม, ยิ้มแย้มแจ่มใส : ก. ยิ้มอย่างชื่นบาน, แย้มยิ้ม ก็ว่า.
  46. ยิ้มแหย : [แหฺย] ก. ยิ้มอย่างเก้ออาย.
  47. ยี้ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น ยี้! เสื้อสกปรกอย่างนี้ยังจะเอามาให้อีก, อี๊ ก็ว่า.
  48. ยึดมั่น : ก. ยึดถืออย่างมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย ๆ เช่น ยึดมั่นในหลักการ ยึดมั่นในตัวบุคคล.
  49. ยืนกราน : ก. ยืนคําอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็น เป็นอื่น).
  50. ยืนโรง : น. เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจํา เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม; เรียกช้าง หรือสัตว์เลี้ยงที่ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ประจําโรง เช่น ช้างยืนโรง ม้ายืนโรง. ก. ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอด รายการ; (โบ) ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | [1601-1650] | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2407

(0.1019 sec)