Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างมั่นใจ, มั่นใจ, อย่าง , then มนจ, มั่นใจ, อยาง, อย่าง, อยางมนจ, อย่างมั่นใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างมั่นใจ, 2407 found, display 2201-2250
  1. ห้ำ : (ปาก) ก. เข้าทําร้ายกัน; ตัดให้สั้นอย่างไม่เป็นระเบียบ; เข้าตะครุบขบกัด (ใช้แก่สัตว์).
  2. หินฝนทอง : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง.
  3. หินแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.
  4. หิมวัต : [หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของ เทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้ หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).
  5. หิรัณยรัศมี : [หิรันยะรัดสะหฺมี] ว. มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก. (ส.).
  6. หึ่ง ๒, หึ่ง ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฆ้อง เสียงผึ้งหรือแมลงภู่เป็นต้นบิน เช่น เสียง ฆ้องดังหึ่ง เสียงผึ้งบินหึ่ง ๆ.
  7. หืด : น. ชื่อโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากหลอดลมตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในคนทั่วไป ทําให้ หลอดลมตีบแคบลงจนเกิดอาการหายใจไม่สะดวก, หืดหลอดลม ก็เรียก.
  8. หื่น : ก. มีความอยากอย่างแรงกล้า (มักใช้ในทางกามารมณ์).
  9. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  10. หุ่นยนต์ : น. หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงาน หลายอย่างแทนมนุษย์ได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่ง โดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล.
  11. หุบผาชัน : น. หุบผาลึกเกิดเพราะน้ำกัดเซาะอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นร่องลึก ลงไป เหลือหน้าผาสองด้านสูงชัน.
  12. หูตูบ : น. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงทํางานอย่าง หนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ.
  13. หูหาเรื่อง : (สำ) น. หูที่รับฟังแล้วตีความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะไป ในทางที่ไม่ดี.
  14. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  15. เหง่ง : [เหฺง่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  16. เหน่ง ๒ : [เหฺน่ง] ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงระนาดเป็นต้น.
  17. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  18. เหน็บ ๑ : น. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สัน ค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยม เหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.
  19. เหน็บ ๔ : น. อาการชาและเจ็บแปลบปลาบตามแขนขาเป็นต้น เกิดจากหลอดเลือด และเส้นประสาทหรืออย่างใดอย่างหนึ่งบริเวณนั้นถูกกดทับระยะหนึ่ง.
  20. เหนาะ ๆ : ว. อาการที่ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาอย่างสะดวกหรือคล่อง เช่น ได้กำไรมา เหนาะ ๆ.
  21. เหม็นเขียว : ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด.
  22. เหม, เหม- : [เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.), เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่าง ซึ่งมียอดแหลมปิดทอง, เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับ บัวกลุ่ม.
  23. เหมียว ๒, เหมียว ๆ : ว. มีเสียงอย่างเสียงแมวร้อง, เสียงร้องเรียกแมว.
  24. เหมือนกัน : ว. อย่างเดียวกัน, ไม่แปลกกัน, เช่น พี่น้องคู่นี้มีนิสัยเหมือนกัน.
  25. เหยง, เหยง ๆ : [เหฺยง] ว. อาการที่ทำซ้ำ ๆ อย่างเร็ว เช่น ขุดดินเหยง ด่าเหยง ๆ, (ปาก) ใช้ว่า เหย็ง หรือ เหย็ง ๆ ก็มี.
  26. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  27. เหย่า, เหย่า ๆ : [เหฺย่า] ว. อาการที่วิ่งอย่างช้า ๆ หรือเดินอย่างเร็ว.
  28. เหล็กพืด : น. เหล็กที่มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณร้อยละ ๐.๑๒- ๐.๒๕ และมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ รวมกันทั้งสิ้นน้อยกว่าร้อยละ ๐.๕ เรียกเหล็กเหนียว หลอมละลายที่ ๑๔๐๐?ซ.-๑๕๐๐?ซ., เหล็กเหนียว ก็เรียก, เรียกชนิดหนึ่งที่ เป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
  29. เหลอหลา : [-หฺลา] ว. มีหน้าตาเซ่ออย่างคนงงไม่รู้เรื่อง.
  30. เหลี่ยมคู : น. ชั้นเชิงอย่างคมคาย.
  31. เหลียว : ก. ผินไปทางขวาหรือทางซ้ายอย่างเอี้ยวคอ.
  32. เหลือง ๑ : [เหฺลือง] ว. สีอย่างสีรงทองหรือขมิ้น.
  33. เหลือหลอ : [-หฺลอ] ว. หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือ หลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจน ไม่มีอะไรเหลือหลอ.
  34. เหะหะ : ว. มีเสียงอึกทึกอย่างคนเมาเหล้า.
  35. เหาจะกินหัว, เหาจะขึ้นหัว : (สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือ ผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.
  36. แห่ : น. ขบวนที่ไปพร้อมกันด้วยวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจมีการ ตกแต่งหรือมีดนตรีประกอบเป็นต้น เช่น แห่นาค แห่ขันหมาก แห่ศพ. ก. ไปกันเป็นพวกเป็นหมู่มาก ๆ.
  37. แห้ : ว. เสียงอย่างเสียงหมาคําราม, เขียนเป็น แฮ่ ก็มี.
  38. แห้งผาก : ว. แห้งอย่างไม่มีความชื้นปนอยู่, แห้งสนิท.
  39. แหนง ๒ : [แหฺนง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. พิธีทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่ได้ แต่งงานตลอดไป.
  40. แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
  41. แหนม : [แหฺนม] น. อาหารอย่างหนึ่ง ทําด้วยหมู หมักให้เปรี้ยว.
  42. แหม ๑ : [แหฺม] น. ปลอกรัดสิ่งของบางอย่าง เช่นลํากล้องปืนยาวแบบโบราณให้ติด กับราง ด้ามมีด ด้ามสิ่ว ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  43. แหมะ ๒, แหมะ ๆ : [แหฺมะ] ว. เสียงดังอย่างเสียงน้ำหยด.
  44. แหย็ม : (ปาก) ก. เข้าไปยุ่งด้วยโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องของผู้ใหญ่ เด็กอย่างเราอย่าไปแหย็ม.
  45. แหยะ, แหยะ ๆ : [แหฺยะ] ว. ไม่น่ากินไม่น่าแตะต้องเพราะแฉะ; อาการที่เคี้ยวข้าวเคี้ยวหมาก เป็นต้นอย่างเนิบ ๆ.
  46. แหล่งเสื่อมโทรม : น. บริเวณที่คนอาศัยอยู่อย่างแออัด ประกอบด้วยบ้านเรือน ที่ทรุดโทรมไม่ถูกสุขลักษณะ.
  47. แห่แหน : [-แหนฺ] ก. ห้อมล้อมระวังกันไปเป็นขบวน เช่น ประชาชนแห่แหน พระพุทธสิหิงค์ไปตามถนน; ยกพวกกันมามาก ๆ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อนฝูงแห่แหนกันมาเต็มบ้าน.
  48. โหน่ง : [โหฺน่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงตีฆ้องวง.
  49. โหม่ง ๑ : [โหฺม่ง] ก. เอาหัวรับหรือกระแทกลูกตะกร้อหรือฟุตบอลเป็นต้น, โดย ปริยายหมายถึงอาการที่สิ่งหนึ่งตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง เช่น หัวโหม่งพื้นเครื่องบินโหม่งโลก.
  50. โหม่ง ๒ : [โหฺม่ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ฆ้องคู่. ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | [2201-2250] | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2407

(0.0991 sec)