Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างมั่นใจ, มั่นใจ, อย่าง , then มนจ, มั่นใจ, อยาง, อย่าง, อยางมนจ, อย่างมั่นใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างมั่นใจ, 2407 found, display 2301-2350
  1. อั้ก, อั้ก ๆ, อั๊ก, อั๊ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกําปั้นหรือเสียง ดื่มนํ้าอย่างเร็วเป็นต้น.
  2. อังกะลุง : น. ชื่อเครื่องดนตรีอย่างหนึ่งของชวา ใช้เขย่าให้เกิดเสียง.
  3. อังกุศ : [กุด] น. ขอเหล็กอย่างขอสับช้าง. (ส.; ป. องฺกุส).
  4. อังศุก : [สุก] น. ผ้าอย่างบาง. (ส.).
  5. อัจกลับ : [อัดจะกฺลับ] น. โคมอย่างหนึ่งทําด้วยทองเหลือง บางทีมีระย้า ห้อยด้วย ใช้ในสมัยโบราณ.
  6. อัญชัน : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ไม้ต้นชนิด Dalbergia duperreana Pierre และไม้เถาชนิด Clitoria ternatea L. ชนิดหลังดอกสีครามแก่ ขาว และม่วงอ่อน. ว. เรียกสีครามแก่ อย่างสีดอกอัญชัน ว่า สีอัญชัน.
  7. อัญดิตถีย์, อัญเดียรถีย์ : [ดิดถี, เดียระถี] น. พวกที่มีความเชื่อถือ อย่างอื่น, พวกนอกพระพุทธศาสนา. (ป. อญฺ?ติตฺถิย; ส. อนฺย + ตีรฺถฺย).
  8. อัฐยายซื้อขนมยาย : (สํา) ก. เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอ แต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้น โดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทําอย่างอื่นในทํานอง เดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่น ของผู้นั้น.
  9. อัดก๊อบปี้ : ก. บีบอัดให้แน่น เช่น อัดก๊อบปี้ผ้าม่วง, (ปาก) ปะทะ อย่างแรง เช่น รถเก๋งถูกรถบรรทุกอัดก๊อบปี้พังยับเยิน.
  10. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  11. อันว่า : ว. ใช้เป็นคํานําหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ ต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มี กําหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).
  12. อัพโพหาริก : ว. ไม่ควรกล่าวอ้าง, ไม่ควรอ้างเป็นกฎเกณฑ์ คือ ไม่ควรนับว่าผิด วินัยหรือกฎหมาย เช่นผู้กินแกงซึ่งปรุงด้วยเหล้าบางอย่างเพื่อ ฆ่าคาวหรือชูรสการกินเหล้าในที่นี้เป็น อัพโพหาริก คือ ไม่ควร นับว่ากินเหล้า. (ป.).
  13. อ้า ๒ : ว. คำออกเสียงขึ้นต้นประโยคในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง หรือพรรณนาวิงวอนอย่างเดียวกับคำ โอ้ หรือ โอ้ว่า.
  14. อากร : [กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด, เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียก เก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.
  15. อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
  16. อาคาร : [คาน] น. เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; (กฎ) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).
  17. อาจ : ว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ เช่น เรื่องยาก ๆ อย่างนี้เขาทำได้ ผมไม่อาจทำได้อย่างเขา; เป็นคําช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีก สิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.
  18. อาชญาบัตร : [อาดยาบัด, อาดชะยาบัด] (กฎ) น. ใบอนุญาตซึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้ประกอบการ อาชีพบางอย่างตามเขตที่กําหนด.
  19. อ้าซ่า : ว. อาการที่นั่งหรือนอนถ่างขาอย่างเปิดเผย ในความว่า นั่งถ่างขา อ้าซ่า นอนถ่างขาอ้าซ่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เปิดอกอ้าซ่า, ลักษณะที่ประตูหรือหน้าต่างเปิดแบะออกเต็มที่ เช่น เปิดประตูอ้าซ่า.
  20. อาด, อาด ๆ : ว. อย่างผึ่งผาย (ใช้แก่กริยาเดิน) เช่นเดินส่ายอาด เดินอาด ๆ.
  21. อาเทสนาปาฏิหาริย์ : น. การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่า อัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
  22. อาน ๒ : ว. บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียอาน, โดยปริยายหมายความว่า อย่างหนัก, อย่างมาก, เช่น ถูกต่อว่าอานเลย.
  23. อาเพศ : [เพด] น. เหตุที่เกิดขึ้นอย่างผิดปรกติวิสัย ถือว่าเป็นลางไม่ดี. (อาจมาจาก ส. อาเวศ).
  24. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  25. อายุ : น. เวลาที่ดํารงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมา จนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กําหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนําหน้าบางคํา, แต่เมื่อนําหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
  26. อารยธรรม : น. ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง ศีลธรรม และกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี.
  27. อาราม ๓ : ว. มุ่งหมายอย่างรีบร้อน, พะวงที่จะทําการใด ๆ, ตั้งหน้าตั้งตา, ใช้นําหน้ากริยา เช่น อารามจะไปเลยลืมกระเป๋าสตางค์.
  28. อิจฉา : [อิด] ก. เห็นเขาได้ดีแล้วไม่พอใจ อยากจะมีหรือเป็นอย่างเขาบ้าง (มีความหมายเบากว่า ริษยา). (ป., ส. อิจฺฉา ว่า ความอยาก, ความ ต้องการ, ความปรารถนา).
  29. อิฐ ๒ : [อิด] น. ดินเผามีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้ก่อตึกและ กําแพงเป็นต้น; โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อิฐบล็อก. ว. สีอย่างสีอิฐใหม่ เรียกว่า สีอิฐ. (ป. อิฏฺ?กา; ส. อิษฺฏกา).
  30. อิทธิปาฏิหาริย์ : น. ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้น วิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ใน ปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. (ป.).
  31. อินเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๙ สัญลักษณ์ In เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาวเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๖.๒?ซ. ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง เช่นทําอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับโลหะอื่น ให้เป็นโลหะเจือที่ใช้ในงานทันตกรรม ชุบฉาบผิวเหล็กซึ่งเคลือบ ด้วยเงินแล้ว. (อ. indium).
  32. อินทรธนู : [อินทะนู] น. รุ้ง (แถบสีโค้งบนท้องฟ้า); เครื่องประดับ บ่าอย่างหนึ่งเพื่อแสดงยศเป็นต้น; ชื่อลายขอบที่เป็นกระหนก.
  33. อินทรวิเชียร : [อินทฺระ] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คํา วรรคหลังมี ๖ คํา รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คําที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคําที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คําสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับ สัมผัสกับคําสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคํา สุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคําที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น (รูปภาพ สัมผัส) (อิลราช), แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น (รูปภาพ สัมผัส)
  34. อิ่มหมีพีมัน : ว. ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเต็มที่.
  35. อิมัลชัน : น. สารผสมที่ประกอบด้วยของเหลวต่างชนิดกันตั้งแต่ ๒ ชนิด ขึ้นไปผสมกันอยู่ในลักษณะซึ่งของเหลวชนิดหนึ่งเป็นอย่างน้อย อยู่ในสภาพเป็นเม็ดเล็ก ๆ ลอยแผ่กระจายทั่วโดยสมํ่าเสมอ. (อ. emulsion).
  36. อี๊ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น อี๊ ! เสื้อสกปรกอย่างนี้ ยังจะเอามาให้อีก, ยี้ ก็ว่า.
  37. อี ๒ : น. คําประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง เช่น อีตัก อีขีดอีเขียน; คําประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง เช่น อีงุ้ม อีเข่า ใน การเล่นสะบ้า อีรวบ อีกาเข้ารัง ในการเล่นหมากเก็บ.
  38. อีแก่, อีแก่กินน้ำ : น. ชื่อการเล่นไพ่อย่างหนึ่ง.
  39. อีดำอีแดง ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ ไม้ดำไม้แดง ก็เรียก.
  40. อีตัว : น. เบี้ยใช้ทอยในการเล่นบางอย่างเช่นต้องเต.
  41. อีโน : (โบ) น. เรียกชามขนาดใหญ่อย่างชามโคมว่า ชามอีโน.
  42. อีโปง ๒, อีโปงครอบ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ยซึ่งเรียกว่า ลูกอีโปง ลักษณะเป็นลูกบาศก์ หน้าทั้ง ๖ ด้านมีภาพนํ้าเต้า ปู ปลา กุ้ง เสือ ไก่ ให้ลูกค้าแทง ถ้าแทงถูกเจ้ามือใช้ ๓ ต่อ.
  43. อีโหลกโขลกเขลก : [โหฺลกโขฺลกเขฺลก] ว. อาการที่ยานพาหนะเป็นต้นเคลื่อนที่ไป อย่างทุลักทุเล เช่น นั่งรถอีโหลกโขลกเขลกมาทั้งวัน, ไม่เป็นโล้ เป็นพาย, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, เช่น ใช้ชีวิตอีโหลกโขลกเขลกไป วันหนึ่ง ๆ.
  44. อึ๊ก ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงสะอึก.
  45. อึก ๑, อึ้ก, อึ้ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกำปั้นหรือเสียงดื่มน้ำ อย่างเร็วเป็นต้น.
  46. อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
  47. อุจาด : ว. น่าเกลียด, น่าอาย, อย่างที่ไม่ควรทํา.
  48. อุณาโลม : น. ขนระหว่างคิ้ว; เครื่องหมายรูปอย่างนี้ (รูปภาพ อุณาโลม)
  49. อุตราวรรต : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักษิณาวรรต หรือ ทักขิณาวัฏ. (ส. อุตฺตราวรฺต; ป. อุตฺตราวฏฺฏ).
  50. อุตราวัฏ : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวรรต ก็ว่า, ตรงข้าม กับ ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต. (ป. อุตฺตราวฏฺฏ; ส. อุตฺตราวรฺต).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | [2301-2350] | 2351-2400 | 2401-2407

(0.1335 sec)