Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างสวยงาม, สวยงาม, อย่าง , then สวยงาม, อยาง, อย่าง, อยางสวยงาม, อย่างสวยงาม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างสวยงาม, 2423 found, display 1101-1150
  1. น้ำเงิน ๑ : ว. สีอย่างสีคราม; (โบ) น. ค่าป่วยการที่ชักออกจากจํานวน เงินที่ส่งไป เรียกว่าค่านํ้าเงิน, เรียกทาสที่ขายตัวแก่นายเงิน หรือที่ นายเงินไถ่ค่าตัวมาว่า ทาสนํ้าเงิน.
  2. น้ำจิ้ม : น. นํ้าผสมเครื่องเทศบางอย่าง โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน เช่น นํ้าจิ้มทอดมัน.
  3. น้ำตก : น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทําให้ตกลงมา ในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; อาหารอย่างหนึ่งใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู หรือเนื้อวัว ย่างพอสุกเล็กน้อยหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น; ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ ใส่เลือดวัวสด.
  4. น้ำตะกู, น้ำตะโก : น. กระดาษที่มีสีเหลืองอย่างสีทองคํา นิยมนํามาใช้สลักปรุเป็นลวดลาย หรือใช้ทั้งแผ่นปิดตกแต่งสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์บางอย่างเป็นการ ชั่วคราว เรียกว่า กระดาษนํ้าตะกูหรือ กระดาษนํ้าตะโก.
  5. น้ำตา : น. นํ้าที่ไหลออกจากนัยน์ตา, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไหลเยิ้ม อย่างนํ้าตาลที่ไหลซึมจากหม้อตาล.
  6. น้ำตาเช็ดหัวเข่า : (สํา) เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก.
  7. น้ำตาตกใน : (สํา) เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ.
  8. น้ำตาล : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และ ไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็น ความหมายเฉพาะอย่างและทําด้วยอะไร ก็เติมคํานั้น ๆ ลงไป เช่น ทํา จากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทําจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทําเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทําจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทําให้เป็น นํ้าตาลทรายเรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทําเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทําเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยว ให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทําเป็น รูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้าย สีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.
  9. น้ำป่า : น. นํ้าที่เกิดท่วมในที่ตํ่าโดยฉับพลันทันทีและไหลลดลงอย่าง รวดเร็ว.
  10. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  11. น้ำยา ๑ : น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง ทําด้วยปลาโขลก กับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่าง เช่น ถั่วงอก ใบแมงลัก ใช้คลุกกิน กับขนมจีน, คู่กับ นํ้าพริก; สิ่งที่ประสมเป็นนํ้าสําหรับจิตรกรรมหรือ ระบายภาพ; นํ้าที่ผสมสารเคมีเพื่อใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น นํ้ายา ล้างรูป.
  12. น้ำแร่ : น. นํ้าที่มีสารบางอย่างละลายอยู่เป็นพิเศษ บางอย่างมีสมบัติทาง ยารักษาโรค.
  13. น้ำหน้า : น. หน้า (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น เป็นต้น) เช่น นํ้าหน้าอย่างนี้ทําไม่สําเร็จดอก เกลียดนํ้าหน้า ชังนํ้าหน้า; (โบ; กลอน) นํ้าตา เช่น นํ้าหน้าไล้กําลูน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  14. นิคมที่ดิน : น. ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชากรอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่น ฐานเพื่อประกอบอาชีพและอยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการวางแผน เพื่อพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาชีพ รวมทั้งบริการ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า.
  15. นิโคติน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C10H14N2 ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีขีดเดือด ๒๔๗?ซ. เป็นพิษอย่างแรง มีปรากฏอยู่ในใบยาสูบ. (อ. nicotine).
  16. นิติ : [นิติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบ ธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  17. นิทัศน์ : น. ตัวอย่างที่นํามาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์. (ส. นิทรฺศน; ป. นิทสฺสน).
  18. นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
  19. นิปริยาย : [นิปะริยาย] (แบบ) น. ความไม่อ้อมค้อม, ความตรง. (ตรงกันข้ามกับ ปริยาย = อย่างอ้อม). ว. สิ้นเชิง. (ป. นิปฺปริยาย).
  20. นิยัตินิยม : [นิยัดติ] น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทําทุกอย่างของมนุษย์หรือ เหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกําหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. (อ. determinism).
  21. นิรินธนพินาศ : [รินทะนะ] น. ความหมดสิ้นอย่างไฟขาดเชื้อ คือ ไม่ลุกลามได้อีก (มักใช้เปรียบถึงความดับกิเลสของพระอรหันต์).
  22. นิล ๑, นิล : [นิน, นินละ] น. พลอยชนิดหนึ่ง มีสีดํา ถ้าสีนํ้าเงินแก่ เรียก นิลสีดอก ผักตบ. ว. สีอย่างนิล เรียกว่า สีนิล เช่น ตาสีนิล. (ป., ส. นีล).
  23. นิลบัตร : [นินละ] น. พิษซางอย่างหนึ่งมีสีดําที่โคนแขนเป็นแผ่นเดียว.
  24. นีติ : (แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส.).
  25. นุ่มนิ่ม : ว. กิริยามารยาทที่อ่อนโยนน่ารักน่าเอ็นดูอย่างเด็ก ๆ, อ่อนนุ่ม อย่างไข่จะละเม็ด.
  26. นูน : ว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน, มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.
  27. เนตบอล : น. กีฬาอย่างหนึ่ง คล้ายบาสเกตบอล มีผู้เล่นฝ่ายละ ๗ คน และส่ง ลูกบอลโดยวิธีโยนหรือขว้างเท่านั้น ห้ามเตะหรือตบลูกบอลกับพื้น. (อ. netball).
  28. เนติ : [เนติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  29. เนิบ, เนิบ ๆ : ว. แช่มช้า, ช้า ๆ อย่างมีจังหวะ เช่น เดินเนิบ ๆ พูดเนิบ ๆ.
  30. เนื้อตาย : น. เนื้อเยื่อที่ขาดเลือดหรือถูกพิษอย่างอื่นจนเซลล์ตาย.
  31. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  32. แน่บ : ว. อาการที่วิ่งอย่างรวดเร็วไม่เหลียวหลัง เช่น โกยแน่บ.
  33. แนบเนียน : ว. อย่างสนิทและรัดกุม เช่น ทําได้อย่างแนบเนียน ปลอมตัว ได้อย่างแนบเนียน.
  34. แนบแน่น : ว. สนิทแน่น เช่น รักอย่างแนบแน่น.
  35. โนรี ๑ : น. ชื่อนกปากขอในวงศ์ Loriidae คล้ายนกแก้ว ตัวมีสีสันสวยงาม เช่น สีแดงสดหรือเลือดหมู นํ้าเงิน ม่วง เขียว ปีกสีเขียวหรือเหลือง หางสั้น มีถิ่นกําเนิดอยู่ในหมู่เกาะนิวกินี อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย มีหลายชนิด เช่น ชนิด Lorius chlorocercus, L. tibialis, L. lory.
  36. บงกชกร : [-กดชะกอน] (กลอน) น. มือมีรูปอย่างดอกบัวตูม, กระพุ่มมือ, มือ เช่น กระพุ่มบงกชกร. (เพชรมงกุฎ).
  37. บด ๒ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว, ถ้าใช้กรรเชียงมักท้ายตัด อย่างเรือบดทหารเรือ.
  38. บรม, บรม- : [บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศ ยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.
  39. บรมัตถ์ : [บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริง ที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นําหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).
  40. บรรจง : [บัน-] ก. ตั้งใจทํา เช่น บรรจงเขียน, ทําโดยระมัดระวัง เช่น มีน้อย ใช้น้อยค่อยบรรจง. ว. อย่างประณีต เช่น เขียนบรรจง, ตัวบรรจง.
  41. บรรทัด : [บัน-] น. ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็น แนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก, ลักษณนามว่า บรรทัด เช่น ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย ๕๐ บรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่ เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวเต็มบรรทัด, เรียก ตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้น ว่า ตัวครึ่งบรรทัด, เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด, เรียกเส้นที่ตี หรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้นหรือระหว่างเส้น ว่า เส้นบรรทัด.
  42. บรรทัดรองมือ : น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับจิตรกรใช้รองมือเขียน ภาพ เป็นไม้แบน ๆ ยาว ๑-๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑ นิ้ว หุ้มปลาย ข้างหนึ่งด้วยสำลีพันกระดาษฟางหรือผ้าเนื้อนุ่ม.
  43. บรรทัดราง : น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งของช่างไม้ เป็นเชือกพันลูกรอก อยู่ในรางไม้ เมื่อดึงปลายเชือกออกจากรอก เชือกจะผ่านกระปุกซึ่ง มีสีดำบรรจุอยู่ทำให้เชือกติดสี เมื่อดึงเชือกให้ตึงตรงแนวพื้นกระดาน เป็นต้นที่ต้องการขีดเส้นแล้วดีด สีจากเชือกจะติดพื้นเป็นเส้นตรงตาม ต้องการ.
  44. บรรษัท : [บันสัด] (แบบ; แผลงมาจาก บริษัท) น. หมู่, ผู้แวดล้อม; การรวมกัน เข้าหุ้นส่วนทําการค้าขาย; (กฎ) นิติบุคคลที่มีฐานะอย่างเดียวกับ บริษัทจํากัด ซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ. (อ. corporation).
  45. บริษัทเงินทุน : (กฎ) น. บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุน และใช้เงินทุนนั้นในการประกอบกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การพาณิชย์ การพัฒนา การเคหะ.
  46. บหลิ่ม : [บะหฺลิ่ม] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า), ปลิ่ม ก็ว่า. (รามเกียรติ์ ร. ๑), นอกนี้ยังมีเรียกและเขียนกันอีกหลายอย่าง คือ ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม มะหลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม.
  47. บ่อ : น. ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังนํ้าขังปลาเป็นต้น หรือ เป็นแหล่งที่เกิดของสิ่งบางอย่าง เช่น บ่อเกลือ บ่อถ่านหิน บ่อแร่.
  48. บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
  49. บอกปัด, บอกเปิด : ก. พูดปัดไปให้พ้นตัว, พูดอย่างไม่รู้ไม่ชี้.
  50. บ้องตื้น : ว. มีความคิดอย่างโง่ ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2423

(0.0862 sec)