Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างสวยงาม, สวยงาม, อย่าง , then สวยงาม, อยาง, อย่าง, อยางสวยงาม, อย่างสวยงาม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างสวยงาม, 2423 found, display 1801-1850
  1. ลดรูป : ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียง สระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.
  2. ลดละ : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้ายอย่างไม่ลดละ, ละลด ก็ว่า.
  3. ล้นหลาม : ว. มากมายเหลือประมาณ เช่น ประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จ อย่างล้นหลาม.
  4. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  5. ล้มเค้า : ก. เล่นการพนันบางอย่างเช่นถั่วโป โดยวิธีแทงเท่าจำนวน เค้าที่เจ้ามือมีอยู่ที่หน้าตัก ถ้าแทงถูกเจ้ามือก็หมดเค้า เรียกว่า แทงล้มเค้า.
  6. ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
  7. ลวก ๆ : ว. อย่างหยาบ ๆ, มักง่าย, ยังไม่เรียบร้อย, เช่น ทำงานลวก ๆ พอ ให้เสร็จ ๆ ไป.
  8. ล้วน, ล้วน ๆ : ว. แท้, เป็นอย่างเดียวกันหมด, ไม่มีอะไรปน, เช่น ทองล้วน เงิน ล้วน ๆ.
  9. ล้อ ๑ : น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ลูกล้อ ก็ว่า. ก. กลิ้งหมุนไปอย่างล้อรถ เช่น ล้อสตางค์ให้กลิ้งไป.
  10. ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
  11. ลองใจ : ก. พิสูจน์ว่าจะมีนํ้าใจอย่างที่คาดหมายไว้หรือไม่ เช่น เอาแหวนวางไว้ลองใจคนใช้ว่าจะซื่อสัตย์หรือไม่.
  12. ลอดช่อง : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนพอสุก กดลง ในกะโหลกที่มีรูให้ไหลออกเป็นตัว ๆ หัวท้ายแหลม กินกับน้ำกะทิ.
  13. ล้อต๊อก : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยปล่อยเงินเหรียญให้ ล้อไปบนกระดานเป็นต้นที่วางเอียง ๆ ถ้าใครล้อได้ไกลกว่าแต่ ต้องไม่เลยเส้นกำหนด จะได้ทอยคนที่ล้อใกล้กว่า ถ้าทอยถูกก็กิน ถ้าทอยผิดก็เริ่มต้นเล่นใหม่.
  14. ลอน : น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไปบน พื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
  15. ลอยกระทง : น. ชื่อเทศกาลอย่างหนึ่ง เอากระทงที่บรรจุธูปเทียน ดอกไม้ แล้วจุดให้ลอยในน้ำ ทำในวันเพ็ญเดือน ๑๒.
  16. ลอยนวล : ว. ตามสบาย, ไม่มีผู้ขัดขวางจับกุม, เช่น ผู้ร้ายหนีไป อย่างลอยนวล; กรีดกราย เช่น แทนที่จะไปโรงเรียน กลับไปเดิน ลอยนวลอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า.
  17. ล้อเลียน : ก. เอาอย่างเพื่อยั่วเย้าเล่น เช่น พูดทำเสียงล้อเลียนคน ติดอ่างหรือคนพูดไม่ชัด แสดงกิริยาเดินขากะเผลกล้อเลียนคนขาเป๋.
  18. ละ ๒ : ว. คําใช้ประกอบหน้าคํา ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
  19. ละเมิดลิขสิทธิ์ : (กฎ) ก. กระทําอย่างหนึ่งอย่างใดต่องานที่มีลิขสิทธิ์ ตามกฎหมาย ได้แก่ ทําซํ้าหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์.
  20. ละเมียด : ก. มิดชิดอย่างสุภาพ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ละไม เป็น ละเมียดละไม; คล้ายคลึง, ละม้าย, มักใช้เข้าคู่กับคำ เหมือน เป็น ละเมียดเหมือน.
  21. ละลด : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า.
  22. ละลาย : ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้า หรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลาย ในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีก อย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอน ละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายใน แก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  23. ละล้าว : ว. อย่างเกรงกลัว เช่น ไหว้ละล้าว. (นิ. นรินทร์).
  24. ละล่ำละลัก : ก. อาการที่พูดไม่ได้เร็วอย่างใจกระอึกกระอักติด ๆ ขัด ๆ เพราะ เหนื่อย ตกใจ ดีใจ หรือรีบร้อน เป็นต้น.
  25. ละเอียดลออ : ว. ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น ตรวจบัญชีอย่างละเอียดลออ ดูแลข้าวของอย่างละเอียดลออ ไม่ให้ตกเรี่ยเสียหาย.
  26. ลักเค้า : ก. ลอบทําเอาแบบอย่างเขา.
  27. ลักจั่น : [ลักกะจั่น] น. นํ้าเต้าหรือภาชนะดินรูปคล้ายนํ้าเต้า สําหรับบรรจุนํ้า ในเวลาเดินทางอย่างที่พระธุดงค์ใช้.
  28. ลักซ่อน : ก. อาการที่คล้ายมีอะไรบางอย่างมาทำให้มองไม่เห็น หรือหาไม่พบ เชื่อกันว่าถูกผีลักไปซ่อนหรือผีบังตา.
  29. ลักลอบ : ก. ลอบกระทำการบางอย่าง เช่น ลักลอบได้เสียกัน ลักลอบ เข้าเมือง ลักลอบเล่นการพนัน.
  30. ลักศพ : ก. นําศพไปอย่างเงียบ ๆ เพื่อปลง.
  31. ลับลมคมใน : ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็น อย่างไร เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมใน ต้องสืบสวนต่อไป.
  32. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  33. ลา ๒ : น. เรียกการจบหรือสิ้นสุดลงระยะหนึ่ง ๆ ของพิธีบางอย่างว่า ลาหนึ่ง ๆ เช่น โห่ ๓ ลา ยํ่าฆ้อง ๓ ลา.
  34. ลาก : ก. ทําให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไป โยงไป เช่น ลากเกวียน ม้าลากรถ กระโปรงยาวลากดิน; โดยปริยาย หมายความว่า ใช้อย่างสมบุกสมบัน, ใช้ถูไถ, เช่น เอาผ้าซิ่นไหม มานุ่งลากอยู่กับบ้าน. ว. ที่ทำให้เคลื่อนที่ตามไปโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ดึง ฉุด ระไป ถูไป ล่ามไปโยงไป เช่น รถลาก.
  35. ลาข้าวพระ : ก. ทําพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสํารับพระพุทธ โดยยกมือ ประนมกล่าวคําว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสํารับออกมา.
  36. ลาง ๔ : ว. ต่าง, แต่ละ, บาง, เช่น ลางคน ลางสิ่งลางอย่าง.
  37. ล้างซวย : ก. ทำพิธีหรือประกอบความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อล้าง ความซวยให้หมดไป เช่น อาบน้ำมนต์ล้างซวย ทำบุญล้างซวย.
  38. ลางเนื้อชอบลางยา : น. ยาอย่างเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับ อีกคนหนึ่ง; (สํา) ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีก คนหนึ่ง.
  39. ล้างยา : ก. ทำลายฤทธิ์ยา, ทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อม, โดยเชื่อกันว่าอาหาร หรือผลไม้บางอย่างเมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อมได้.
  40. ล้างสมอง : ก. ทําให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือ ของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่าง สิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการ ต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง.
  41. ล้างอาถรรพ์, ล้างอาถรรพณ์ : ก. ทำพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้คุณไสย ที่ถูกกระทำหรือแก้อำนาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป.
  42. ล้างอาย : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการแก้หน้า.
  43. ล่าเตียง, ล้าเตียง : น. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่งใช้ไข่โรยเป็นร่างแห ห่อไส้ซึ่งทำด้วยกุ้ง ผัดกับเครื่องปรุง ให้มีขนาดพอดีคำ.
  44. ลาน ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Corypha วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล ใบใช้จารหนังสือ ทําหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด C. umbraculifera L. ปลูกตามวัด, ชนิด C. lecomtei Becc. ขึ้นในป่าดิบ. ว. สีเหลืองนวล อย่างใบลาน เรียกว่า สีลาน.
  45. ลาภมิควรได้ : (กฎ) น. ทรัพย์ที่บุคคลได้มาเพราะบุคคลอีกคนหนึ่ง กระทําเพื่อชําระหนี้ หรือได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้ มีมิได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว หรือได้มา เพราะประการอื่น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็น ทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ.
  46. ลาย ๑ : น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็น จุด ๆ เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทํา เป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
  47. ลายก้นหอย : น. ลายนิ้วมือเป็นต้นที่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่าง ก้นหอย, ลายถักที่ขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างก้นหอย.
  48. ลายเฉลวโปร่ง : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานสิ่งของ หลายอย่าง เช่น สานชะลอม สานกระเช้าตาดอกพิกุล มักสานด้วย ไม้ไผ่ จะสานด้วยตอกปื้นหรือตอกตะแคงก็ได้ มีลักษณะเป็นตา หกเหลี่ยม, ลายเฉลว ๖ มุม ก็เรียก.
  49. ลายมัดหวาย : น. ลายนิ้วมือเป็นต้นที่ไม่ขดวนเข้าหาศูนย์กลาง อย่างก้นหอย.
  50. ลายไม้ : น. ลายอย่างลายไม้ของผ้าม่วงหรือแพรเกิดเพราะทออัดแน่น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | [1801-1850] | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2423

(0.1106 sec)