Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างสวยงาม, สวยงาม, อย่าง , then สวยงาม, อยาง, อย่าง, อยางสวยงาม, อย่างสวยงาม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างสวยงาม, 2423 found, display 951-1000
  1. ตา ๑ : น. พ่อของแม่, ผัวของยาย, ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือที่อายุ รุ่นราวคราวเดียวกับตา, (ปาก) คําเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ตาเถร ตาแก่ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ตาหนู. ตาทวด น. พ่อของตาหรือของยาย. ตามีตามา, ตาสีตาสา (สํา) น. ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป.
  2. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  3. ถก : ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมา อย่างถกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้า เศียรที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถกเศียร, ถลก ก็ว่า;ทึ้งให้หลุด ออก เช่น ถกหญ้า ถกเถาวัลย์; โดยปริยายหมายความว่า ยกเอาขึ้นมา พิจารณากันด้วยเหตุผล เช่น ถกปัญหา.
  4. ถนอม : [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกิน ของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม). ถนอมอาหาร ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้ อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
  5. ถลก : [ถะหฺลก] ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถลกผ้านุ่งถลกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุด ลอกออกมาอย่างถลกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่ว ไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถลกเศียร, ถก ก็ว่า.
  6. ถลุง : [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อ โลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความ แวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุง เสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  7. ถ้วย ๑ : น. ภาชนะก้นลึก มีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่นํ้าหรือของบริโภคเป็นต้น เช่น ถ้วยนํ้าร้อน ถ้วยนํ้าพริก ถ้วยตะไล โดยมากเป็นเครื่องเคลือบ ดินเผา ที่ทําด้วยแก้วหรือสิ่งอื่น ๆ ก็มี; ลักษณนามเรียกถ้วยที่ไม่มี อะไรบรรจุว่า ใบ เช่น ถ้วยใบหนึ่ง ถ้วย ๒ ใบ, เรียก ถ้วยที่มีสิ่งของ บรรจุว่า ถ้วย เช่น แกงถ้วยหนึ่ง แกง ๒ ถ้วย; เรียกสิ่งที่เป็นเครื่อง เคลือบดินเผา เช่น กระเบื้องถ้วย ช้อนถ้วย; เรียกสิ่งของหรือสัตว์ ที่มีรูปอย่างถ้วย เช่น มะเขือ ถ้วย แมงดาถ้วย.
  8. ถวายข้าวพระ : ก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับไปถวายพระพุทธ โดยยกมือประนมกล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺย?ฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ.
  9. ถอดไพ่ : ก. จัดเรียงไพ่ให้เข้าชุดโดยใช้หลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (มักใช้ในการเสี่ยงทาย).
  10. ถอนทุน : ก. ได้ทุนคืน, ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเอาทุนคืน.
  11. ถอยกรูด : ก. ถอยอย่างรวดเร็วไม่มีระเบียบ, ถอยอย่างตั้งตัวไม่ติด.
  12. ถอยฉะ : ก. สู้พลางถอยพลาง, ถอยอย่างมีชั้นเชิง.
  13. ถอยฉาก : ก. ถอยหลังพร้อมกับเบี่ยงตัวหลบทันที, หลบอย่างมีชั้นเชิง.
  14. ถั่ง : ก. ไหลอย่างเท, ไป, ถึง.
  15. ถั่ว ๒ : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือ เมล็ดละหุ่งเป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนน ทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือเศษ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตู แทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธี แทงโปมาใช้ มี เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และ อา, โปกํา ก็เรียก.
  16. ถ่านหิน : น. ถ่านธรรมชาติมีลักษณะแข็งอย่างหิน เกิดจากการแปร สภาพของพืชและต้นไม้ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานานมาก.
  17. ถ่ายแบบ : ก. เอาแบบอย่าง; ถอดแบบ, ถอดลักษณะหรือนิสัยใจคอ มา, เช่น ถ่ายแบบพ่อ ถ่ายแบบแม่.
  18. ถีบตัว : ก. พุ่งตัวหรือดันตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้น ว่าวถีบตัวขึ้นสูง, เลื่อนฐานะขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เขาทำงานหนักจน ถีบตัวอยู่ในขั้นเศรษฐีได้ในเวลาไม่กี่ปี.
  19. ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
  20. ถึงเป็นถึงตาย : ว. อย่างเอาจริงเอาจังเกินไป, อย่างรุนแรง เช่น ต่อสู้ กันอย่างถึงเป็นถึงตาย.
  21. ถึงลูกถึงคน : ว. รุนแรง (ใช้แก่การเล่นกีฬาประเภทลูกบอลเช่นฟุตบอล); ติดตามอย่างจริงจังใกล้ชิด เช่น เขาทำงานอย่างถึงลูกถึงคน.
  22. ถูกน้อย : (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งน้อย เป็นอาการของม้าวิ่งเรียบ ๆ ช้า ๆ. (อิเหนา).
  23. ถูกใหญ่ : (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งใหญ่ เป็นอาการของม้าวิ่งอย่างเร็ว.
  24. เถา : น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลง ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา เพลงราตรีประดับดาวเถา.
  25. เถือ : ก. เชือดเฉือนลงไปอย่างแรงด้วยของมีคม เช่น หนังเหนียวเถือไม่เข้า.
  26. แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
  27. แถบเหล็กพืด : น. เหล็กเหนียวชนิดหนึ่งเป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทํา ปลอกถัง.
  28. โถปริก : [–ปฺริก] น. โถเครื่องแป้งเป็นต้นที่ฝามียอดทําด้วยทองอย่าง หัวแหวนนพเก้า.
  29. โถม : ก. โผเข้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น โถมตัวเข้าหา; รวมกําลังพุ่งเข้าใส่ เช่น โถมกําลัง.
  30. ทนาย : [ทะ-] น. ผู้รับใช้, ผู้แทนนาย, (ใช้แก่ผู้มีอํานาจ); คำเรียกทนายความ อย่างสั้น ๆ.
  31. ทรงมัณฑ์ : [ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่างหัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คําว่า มัณฑ์ น่าจะตัดมาจากคํา มณฑป).
  32. ทรมาทรกรรม : [ทอระมาทอระกํา] (ปาก) ก. ทําให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น, ทําให้ทนทุกข์ทรมานอย่างยืดเยื้อ.
  33. ทราย ๑ : [ซาย] น. วัตถุที่เป็นเศษหินขนาดเล็ก มีลักษณะซุยร่วนไม่เกาะกัน มีหลายชนิด เช่น ทรายขี้เป็ด ทรายหยาบ ทรายละเอียด, ใช้เรียก สิ่งอื่นที่มีลักษณะอย่างทราย เช่น เนื้อแตงโมเป็นทราย นํ้าตาลทราย กระดาษทราย.
  34. ทฤษฎี : [ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาด เอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์ หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺ??). (อ. theory).
  35. ทวย ๒ : น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทําเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสําหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขัน ใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จาก เบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
  36. ทวอย : [ทะ-] น. ชื่อเพลงร้องรําอย่างหนึ่ง.
  37. ทศเบญจกูล : น. เครื่องเผ็ดร้อน ๑๐ อย่างตามตําราแพทย์แผนโบราณ.
  38. ทอง ๑ : น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า เช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม, เรียกเต็มว่า ทองคํา; เรียกสิ่งที่ทําด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลือง หรือแดงส้ม.
  39. ท้องขึ้นท้องพอง : ว. เรียกผลไม้บางอย่างที่ชํ้าจวนจะเสีย เช่น กล้วยท้องขึ้นท้องพอง คือกล้วยที่ชํ้าจวนจะเสีย, ท้องขึ้น ก็ว่า.
  40. ทองตากู : น. ทองตะโก. ทองทราย น. ทองที่เป็นเม็ด ๆ อย่างทรายปนอยู่กับทราย. ว. มี พื้นทาทองให้เป็นจุด ๆ อย่างเม็ดทราย.
  41. ทองแป : (โบ) น. ชื่อเหรียญทองตราโบราณที่ใช้แลกเปลี่ยนกัน ได้อย่างเงินตรา.
  42. ทองม้วน : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งประสมกับกะทิและไข่ เทราด ลงในพิมพ์ซึ่งมักมีลักษณะกลมให้เป็นแผ่นบาง ๆ ผิงไฟให้สุก แล้วม้วนเป็นหลอด, ถ้าพับเป็นชิ้น เรียก ทองพับ, มีทั้งอย่าง รสเค็มและรสหวาน.
  43. ท้องมาน : น. ชื่อโรคจําพวกหนึ่งมีอาการให้ท้องโตอย่างหญิงมีครรภ์.
  44. ท้องร่วง : ว. อาการที่ท้องเดินอย่างแรง.
  45. ท้องลาน : ว. มีรูปแบน ๆ เหมือนท้องแห่งลาน อย่างรูปคันกระสุน ที่เหลาแบน ๆ.
  46. ท้องหมู : น. หน้าท้องมีไขมันมากอย่างท้องคนอ้วน, เรียกครรภ์ ของหญิงที่มีลักษณะใหญ่มาก.
  47. ทองหยอด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่แดงประสมแป้งเล็ก น้อยหยอดเป็นลูกกลม ๆ อย่างหยดนํ้าในนํ้าเชื่อมเดือด ๆ, ลักษณนามว่า ลูก.
  48. ทอดผ้าป่า : ก. เอาผ้าถวายพระโดยวางไว้เพื่อให้พระชักเอาเอง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่วางไว้อย่างนั้น เช่น ทอดผ้าป่า เรียงวางไว้กลางสนาม. (อภัย).
  49. ทอย ๒ : ก. กิริยาที่ตอกลูกประสักหรือตะปูเป็นต้นให้ถอยออกมาจากที่เดิม. ว. ทยอยติด ๆ กันไปไม่ขาดระยะ เช่น เดินทอย ๆ กันเข้าไป. น. เรียก ไม้แหลมสําหรับตอกต้นไม้เป็นระยะ ๆ เพื่อเหยียบขึ้นไปว่า ลูกทอย, เรียกกิริยาที่ตอกลูกทอยอย่างนั้นว่า ตอกทอย.
  50. ทอยกอง : น. ชื่อการเล่นพนันอย่างหนึ่ง ใช้สตางค์หรือสิ่งอื่นตั้ง ซ้อน ๆ กันแล้วทอยให้ล้ม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2423

(0.0946 sec)