Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างยุติธรรม, ยุติธรรม, อย่าง , then ยุติธรรม, อยาง, อย่าง, อยางยตธรรม, อย่างยุติธรรม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างยุติธรรม, 2428 found, display 401-450
  1. ขยับ : [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทําท่าว่าจะทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้ เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่น นั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
  2. ขย้ำ : [ขะยํ่า] ก. เอาปากงับกัดอย่างแรง, โดยปริยายหมายถึงการทำร้ายด้วย วาจาหรือการกระทำอย่างรุนแรง.
  3. ขยิบ : [ขะหฺยิบ] ก. ทําหลับตาแล้วลืมโดยเร็วครั้งหนึ่ง โดยเป็นอาณัติ สัญญาณให้ผู้อื่นกระทําหรือเว้นกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  4. ขยุบ, ขยุบขยิบ : [ขะหฺยุบ, -ขะหฺยิบ] ว. กระดุบ ๆ, เต้นดุบ ๆ อย่างเนื้อเต้น.
  5. ขยุ้ม : [ขะยุ่ม] ก. เอาปลายนิ้วทั้ง ๕ หยิบรวบขึ้นมาเพื่อให้ได้มาก, โดยปริยาย ใช้ในอาการอย่างนั้น เช่น แมงมุมขยุ้มหลังคา. น. ปริมาณของที่ขยุ้มมา ได้ครั้งหนึ่ง ๆ เรียกว่า ขยุ้มหนึ่ง.
  6. ขรึม : [ขฺรึม] ว. มีอาการนิ่งอย่างตรึกตรอง.
  7. ขลุก ๒, ขลุก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขุก หรือ ขุก ๆ ก็ว่า, เสียงดังอย่าง ก้อนดินกลิ้งอย่างเร็ว ในคำว่า กลิ้งขลุก ๆ.
  8. ขลุกขลัก : ว. ติดกุกกักอยู่ในที่แคบ, ติดขัด, ไม่สะดวก, เสียงดังอย่าง ก้อนดินกลิ้งอยู่ในหม้อหรือในไห.
  9. ขลุม : [ขฺลุม] น. เครื่องผูกปากม้าอย่างหนึ่ง.
  10. ขวักไขว่ : [ขฺวักไขฺว่] ว. อาการที่เคลื่อนไหวสวนกันไปมาอย่างสับสน เช่น เดินขวักไขว่ บินขวักไขว่.
  11. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  12. ขวาง : [ขฺวาง] ก. กีดกั้น, สกัด; รำคาญหรือไม่ถูกใจ; ใช้เข้าคู่กับ กว้าง เป็น กว้างขวาง หมายความอย่างเดียวกับคําว่า กว้าง.
  13. ขว้างข้าวเม่า : น. ประเพณีอย่างหนึ่ง เอามะพร้าวทั้งผลโยนไปยัง ที่เขากําลังทําข้าวเม่ากันอยู่ เพื่อแสดงว่าเอามะพร้าวมาขอแลกข้าวเม่า ไปกินบ้าง.
  14. ขว้างจักร : [-จัก] น. กรีฑาประเภทลานอย่างหนึ่ง ผู้แข่งขันจะต้องยืนอยู่ ในวงเขตที่กําหนด แล้วขว้างจานไม้กลมตรงกลางนูนทั้ง ๒ ข้างออกไป ให้ไกลที่สุด.
  15. ข้อง ๑ : น. เครื่องจักสานสําหรับใส่ปลา ปู เป็นต้น รูปคล้ายตะกร้าปากแคบ อย่างคอหม้อดิน ก้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดต่าง ๆ.
  16. ของเก่า : น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็น อาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจําหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
  17. ของเหลว : น. ของที่ไม่แข็งมีลักษณะไหลได้อย่างนํ้า; (วิทยา) สถานะ หนึ่งของสสารซึ่งมีปริมาตรคงตัวแต่รูปร่างเปลี่ยนไปได้ตามภาชนะ ที่รองรับ, สถานะระหว่างแก๊สกับของแข็ง.
  18. ขอด ๒ : ก. ทำให้สิ่งที่ติดอยู่ออกมาด้วยอาการอย่างขูด เช่น ขอดเกล็ดปลา, เหลืออยู่น้อยจนถึงกับต้องขูดเอา เช่น น้ำขอดคลอง น้ำขอดโอ่ง ข้าวขอดหม้อ.
  19. ขอทาน : ก. ขอเงินหรือสิ่งของเลี้ยงชีวิต, หากินทางขอสิ่งที่ผู้อื่นให้. น. เรียกบุคคลที่หาเลี้ยงชีพอย่างนั้นว่า ขอทาน.
  20. ขอไปที : ว. พอให้พ้น ๆ ไป, พอเอาตัวรอด, เช่น ทำอย่างขอไปที.
  21. ขอรับกระผม, ขอรับผม : คำรับด้วยความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง (ใช้พูดกับผู้ใหญ่).
  22. ข้อลำ : น. พละกำลัง เช่น ข้อลำอย่างนี้จะสู้งานหนักไหวหรือ.
  23. ขะมักเขม้น : [ขะมักขะเม่น, ขะหฺมักขะเม่น] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้ว เสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, เขม้นขะมัก ก็ว่า.
  24. ขัณฑสกร : [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทย อย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณู โรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาล ก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ? ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการ โอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร.(ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา, ส.ขณฺฑศรฺกรา).
  25. ขัน ๓ : ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.
  26. ขันแข็ง : ว. อย่างเอาจริงเอาจัง เช่น ขยันขันแข็ง รับปากขันแข็ง.
  27. ขันโตก : (ถิ่น-พายัพ) น. ภาชนะทําด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่าง เครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็น วงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
  28. ขับ ๑ : ก. ต้อนให้ไป, บังคับให้ไป, ไล่; ไล่ตาม; บังคับให้เคลื่อนไปได้ เช่น ขับเกวียน ขับรถม้า, สามารถบังคับเครื่องยนต์ ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ ไปได้ เช่น ขับรถ ขับเรือ; บังคับให้ออก เช่น ขับปัสสาวะ; ประชดอย่าง ล้อ, พูดล้อเพื่อสนุก.
  29. ขับไม้ : น. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่ง ขับร้องลํานํา คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ ให้จังหวะ; ชื่อคําประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.
  30. ขับไม้บัณเฑาะว์ : [-บันเดาะ] น. วิธีบรรเลงอย่างหนึ่ง; ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง.
  31. ขับไล่ไสส่ง : ก. ไล่ไปอย่างไม่มีเยื่อใย, ขับไสไล่ส่ง ก็ว่า.
  32. ข้า ๒ : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่ พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  33. ขากรรไกร : [-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่าง กรรไกร, ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.
  34. ข่าง ๑ : น. ของเล่นอย่างหนึ่งเป็นลูกกลม ๆ มีเดือยใช้ปั่นให้หมุนด้วยมือ หรือด้วยเชือก เรียกว่า ลูกข่าง; ชื่อดาวหมู่หนึ่งมี ๔ ดวงคล้ายรูปลูกข่าง.
  35. ขาง ๓ : (ถิ่น-อีสาน) น. โลหะชนิดหนึ่งอย่างเหล็กกระทะ.
  36. ข้าง ๆ คู ๆ : ว. ออกนอกแนวนอกเรื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น เถียงไปข้าง ๆ คู ๆ.
  37. ข้างจัน : น. วิธีเหลาไม้ให้เป็นผิวนูนมีลักษณะอย่างข้างของลูกจัน.
  38. ขาดตลาด : ก. ไม่มีขายในท้องตลาดอย่างที่เคยมี.
  39. ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ : (สํา; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบ ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อน เจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้น ก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
  40. ข้านอกเจ้าบ่าวนอกนาย : (สำ) น. ผู้ที่กระทำหรือประพฤตินอกเหนือ คำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมา.
  41. ข้าพเจ้า : [ข้าพะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  42. ขายตามคำพรรณนา : (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขาย ทรัพย์สินตามลักษณะและคุณภาพที่ผู้ขายได้บรรยายไว้อย่างละเอียด.
  43. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  44. ขาว ๑ : น. สีชนิดหนึ่งเหมือนสําลี. ว. มีสีอย่างสำลี, โดยปริยายหมายความว่า แจ่มแจ้ง, สะอาดบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน.
  45. ข้าวกระยาทิพย์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
  46. ข้าวควบ : (ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวเกรียบใส่นํ้าตาลอ้อย มีรสหวานอย่าง ข้าวเกรียบว่าว.
  47. ข้าวแคบ : (ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวเกรียบที่มีรสเค็ม ๆ อย่างข้าวเกรียบกุ้ง.
  48. ข้าวตอกแตก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดัง อย่างเสียงแตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก.
  49. ข้าวทิพย์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวนมักทําในพิธี สารท, ข้าวกระยาทิพย์ ก็เรียก.
  50. ข้าวบุหรี่ : น. ข้าวหุงอย่างวิธีของแขกมีเครื่องปรุงและเนื้ออยู่ในตัว. (กะบุลี แปลว่า ข้าวปรุงอย่างแบบชาวกรุงกาบุล).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2428

(0.0943 sec)