Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างยุติธรรม, ยุติธรรม, อย่าง , then ยุติธรรม, อยาง, อย่าง, อยางยตธรรม, อย่างยุติธรรม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างยุติธรรม, 2428 found, display 451-500
  1. ข้าวยาคู : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยเมล็ดข้าวอ่อนตําแล้วคั้น เอานํ้าตั้งไฟจนสุก ใส่น้ำตาล เรียกว่า ข้าวยาคูน้ำ, ถ้าเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ข้าวยาคูแห้ง.
  2. ข้าวหมาก : น. ของกินอย่างหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแล้วหมัก กับแป้งเชื้อ.
  3. ข้าวเหนียว : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ด ขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิ และนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและ นํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอา มานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อ แล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม และเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.
  4. ขิก ๆ : ว. หัวเราะเสียงอย่างนั้น. (โบ) ก. หัวเราะเบา ๆ เช่น พระลออดบ่ได้ ขิกหัว. (ลอ).
  5. ขี้กลาก : น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน, กลาก ก็ว่า.
  6. ขี้คร้าน : ก. เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เช่น พอยอเข้าหน่อยขี้คร้านจะทำให้ทุกอย่าง.
  7. ขี้ปาก : น. คําที่เอาอย่างเขามาพูด; คนสําหรับเขาล้อด่าว่าและติเตียน.
  8. ขี่ม้าส่งเมือง : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ฝ่ายแพ้ต้องให้ฝ่ายชนะ ขี่หลังไปส่งถึงที่ฝ่ายชนะ.
  9. ขี้แมว ๑ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งในพวกจันอับ.
  10. ขี้โล้ : น. เรียกน้ำมันที่เป็นขี้ตะกอนว่า น้ำมันขี้โล้; กะทิที่เคี่ยวจนเป็น น้ำมันใช้ทำอาหารบางอย่าง.
  11. ขี้หนอน : [-หฺนอน] น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Zollingeria dongnaiensis Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าโปร่งที่ตํ่า ผลมี ๓ ครีบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Scleropyrum wallichianum (Wight et Arn.) Arn. ในวงศ์ Santalaceae ลําต้นมีหนามแข็ง ใบอ่อนและดอกเป็นพิษ อย่างแรง. (๓) ดู สําเภา๒.
  12. ขึ้งเคียด : ก. โกรธอย่างชิงชัง.
  13. ขึงตา : ก. จ้องดูอย่างเขม็งด้วยอาการโกรธ หรือด้วยประสงค์จะห้าม.
  14. ขึ้นร้าน : น. วิธีนับคะแนนในการเล่นหมากเก็บ โดยเอาตัวหมากทั้งหมด วางบนหลังมือกระดกมือให้หมากลอยขึ้นแล้วหงายมือรับอย่างรวดเร็ว.
  15. ขุก ๒, ขุก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขลุก หรือ ขลุก ๆ ก็ว่า.
  16. ขุน ๒ : ก. ให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง, โดยปริยายหมายถึงเลี้ยงดูอย่างดี. ขุนไม่ขึ้น, ขุนไม่เชื่อง (สํา) ว. เลี้ยงไม่เชื่อง มีแต่เนรคุณ.
  17. ขุ่นแค้น : ก. โกรธอย่างเจ็บใจ.
  18. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  19. เข่ง : น. ภาชนะสานอย่างหนึ่งมีรูปและขนาดต่าง ๆ เช่น เข่งลําไย เข่งปลาทู; ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวกับนํ้าตาล ใส่กระทงวางใน เข่งเล็ก ๆ นึ่งให้สุกเรียกว่า ขนมเข่ง.
  20. เข็น : ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทน อย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  21. เข่น : ก. ทุบหรือตีอย่างแรงเพื่อให้แบนเป็นต้น เช่น เข่นมีด. เข่นเขี้ยว ก. กัดฟันด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เคี้ยวฟัน เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  22. เขบ็ต : [ขะเบ็ด] น. ชื่อตัวหมายเสียงอย่างหนึ่งที่ใช้บันทึกเสียงดนตรีสากลมี ๔ ชนิด คือ เขบ็ตชั้นเดียว เขบ็ต ๒ ชั้น เขบ็ต ๓ ชั้น และเขบ็ต ๔ ชั้น.
  23. เขม็ง : [ขะเหฺม็ง] ว. ตึงเครียด; แน่น, แข็ง; อย่างแน่วแน่ เช่น จ้องเขม็ง. ก. ทำให้ตึง เช่น เขม็งเกลียว.
  24. เขม็ดแขม่ : [ขะเหฺม็ดขะแหฺม่] ก. กระเหม็ดกระแหม่, ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะเกรงว่าจะไม่พอใช้.
  25. เขม้นขะมัก : [ขะเม่น-] ก. ตั้งใจทําอย่างรีบเร่งเพื่อให้แล้วเสร็จไป, ก้มหน้าก้มตาทํา, ขะมักเขม้น ก็ว่า.
  26. เขมือบ : [ขะเหฺมือบ] ก. กลืนกินอย่างปลา, กินอย่างตะกละ.
  27. เขยก : [ขะเหฺยก] ก. อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ, อาการ ที่เดินหรือวิ่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการ.
  28. เขย่งเก็งกอย : ก. กระโดดตีนเดียว. น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง.
  29. เขรอะ, เขลอะ : [เขฺรอะ, เขฺลอะ] ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเขรอะ, เกรอะ ก็ว่า; เลอะเทอะ เช่น รองเท้าเปื้อนโคลนเขลอะ. ก. จับหรือเกาะซับซ้อนกันอยู่ เช่น สนิมเขรอะ ฝุ่นเขลอะ.
  30. เขลง ๑ : [เขฺลง] ว. ทอดอารมณ์อย่างสบาย (ใช้แก่กริยานอน).
  31. เข้าคู่ : ก. เอาไพ่ตอง ๒ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ คู่; ไปด้วยกัน ได้อย่างดี.
  32. เข้าเจ้าเข้านาย : ก. รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลัก ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม.
  33. เข้าตำรา : ก. ถูกแบบแผน, ตรงตามแบบอย่างที่เคยมีมา, ถูกกับเรื่องราว ที่เคยเล่ากันมา.
  34. เข้าถึง : ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.
  35. เข้าทุน : ก. รวมทุนกันเพื่อทํากิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  36. เข้าสมาธิ : [-สะมาทิ] ก. ทําจิตให้แน่วแน่อย่างเข้าฌาน.
  37. เขี่ย : ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือ วาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือ เป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.
  38. เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
  39. เขียว ๒ : ว. มีสีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว;กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด เรียกว่า เหม็นเขียว.
  40. เขียวไข่กา : น. ชื่อชามสมัยก่อน สีเขียวปนครามอ่อน ๆ รูปก้นสอบ ปากผาย. ว. มีสีอย่างสีเขียวปนครามอ่อน ๆ.
  41. เขี้ยวตะขาบ : น. เหล็กที่ทําเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบ สําหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก; ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากัน คล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง.
  42. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  43. แข่งกับเวลา : (สำ) ก. ทำอย่างรวดเร็ว เช่น ทำงานแข่งกับเวลา.
  44. แข็งแรง : ว. มีกําลังมาก, ลํ่าสัน, มั่นคง, คงทน, อย่างเต็มกําลัง เช่น ทํางานแข็งแรง.
  45. แขวง : [แขฺวง] น. เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กําหนดไว้เพื่อสะดวก ในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  46. โขง : ว. กลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขลง ก็ว่า.
  47. โขน ๑ : น. การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรํา มักเล่นเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดง สวมหัวจําลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน.
  48. โขยด : [ขะโหฺยด] ว. วิ่งอย่างกระโดด เช่น ทั้งพระยากาสรตัวกล้าก็ลับเขา โขยดโลดลองเชิง. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  49. โขลง ๒ : [โขฺลง] ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขง ก็ว่า.
  50. ไข่จิ้งหรีด : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยข้าวตากคั่วจนพองเหลืองกวน กับนํ้าตาลปีบที่เคี่ยวเหนียว บางทีโรยมะพร้าวขูดด้วย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2428

(0.1694 sec)