Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างยุติธรรม, ยุติธรรม, อย่าง , then ยุติธรรม, อยาง, อย่าง, อยางยตธรรม, อย่างยุติธรรม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างยุติธรรม, 2428 found, display 601-650
  1. เค็ม : ว. มีรสอย่างรสเกลือ; โดยปริยายหมายความว่า พยายามให้ได้ ประโยชน์มากกว่า.
  2. เคยปาก : ก. พูดอย่างนั้นเสมอ ๆ, พูดจนเป็นนิสัย.
  3. เคยมือ : ก. ทําอย่างนั้นเสมอ ๆ, ทําจนเป็นนิสัย.
  4. เคร่งครัด : [-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน) แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้ง ห่อผ้าห่มหวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติ ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด; ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.
  5. เคราะห์ ๑ : [เคฺราะ] (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่า มีเทวดาประจําแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน; สิ่งที่นําผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มัก นิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์. (ป. คห; ส. คฺรห ว่า ยึด).
  6. เครื่องบูชา : น. สิ่งที่ใช้บูชาของไทย ใช้ของ ๔ อย่างเป็นสําคัญ คือ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน.
  7. เครื่องมือ : น. สิ่งของสําหรับใช้ในการงาน, โดยปริยายหมายถึงคน หรือสิ่งที่ใช้ทําประโยชน์อย่างเครื่องมือ เช่น อย่าตกเป็นเครื่องมือ ของโจรผู้ร้าย, ส่วนเครื่องมือที่มีคม ราชาศัพท์ว่า พระแสง เช่น พระแสงสิ่ว พระแสงกบ พระแสงเลื่อย. (ลัทธิ).
  8. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและ บําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้ สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือ ส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.
  9. เคล็ด ๑ : [เคฺล็ด] น. วิธีการที่ฉลาด พลิกแพลง ใช้ในการอย่างใดอย่างหนึ่ง; การ กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือกันภัยหรือเหตุร้าย ที่จะมีมา เช่น ต้นไม้บางชนิดไม่มีลูก เชื่อกันว่าถ้าเอามีดไปสับต้นเป็น เคล็ดแล้วจะมีลูก; อุบาย, เล่ห์, กลเม็ด, เช่น รู้เคล็ด มีเคล็ด เคล็ดลับ.
  10. เคลื่อนไหว : ก. ไม่อยู่นิ่ง, ไม่คงที่, เช่น น้ำในสระเคลื่อนไหวอยู่ตลอด เวลาเพราะกระแสลม; แสดงกิริยาหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พรรคการเมืองเคลื่อนไหว.
  11. เคว้งคว้าง : ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมกระแสนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินเคว้งคว้างไม่รู้จะไปไหนดี, คว้างเคว้ง ก็ว่า.
  12. แครง ๓ : [แคฺรง] ว. อึกทึก, กึกก้อง, เช่น อย่างแครงครวญ. (กล่อมช้างของเก่า), สงครามแครง ฟ้งเฟือด. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
  13. แคลคูลัส : [แคน-] น. คณิตศาสตร์ชั้นสูงแขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับค่าของจํานวน ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แบ่งออกเป็น แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ และแคลคูลัสเชิงอินทิกรัล. (อ. calculus).
  14. แควก : [แคฺวก] ว. เสียงดังอย่างเสียงผ้าขาด.
  15. โค ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งคล้ายขนมต้มขาว มีไส้อย่างหน้ากระฉีก ราด หัวกะทิขลุกขลิก เรียกว่า ขนมโค.
  16. โค้ง : ก. น้อมลง, ทําให้น้อมลง เช่น โค้งคำนับ โค้งตัว. ว. ลักษณะของเส้น หรือสิ่งที่มีรูปอย่างส่วนหนึ่งของวงกลม เช่น ทางโค้ง.
  17. โคม : น. เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ, ตะเกียงเครื่อง ตามไฟ หรือเครื่องให้แสงสว่างซึ่งมีเครื่องบังลมหรือเครื่องบังคับ แสงไฟเช่นนั้น ใช้ตั้ง หิ้ว หรือแขวน เช่น โคมไฟฟ้า, ลักษณนามว่า โคม, ดวง, ใบ, ลูก, เรียกชามอย่างเก่าขนาดใหญ่ รูปคล้ายโคม ว่า ชามโคม, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
  18. โคมดอกไม้ : น. โคมที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยนำดอกไม้มาร้อยกรองให้มี รูปร่างอย่างโคมสำหรับแขวนในเทศกาลหรืองานพระราชพิธีบางอย่าง.
  19. โครม : [โคฺรม] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงคนหรือของหนัก ๆ ล้มหรือตกเป็นต้น.
  20. โคราช : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
  21. ใคร่ : [ไคฺร่] ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่; ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการ ขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.
  22. ฆ้อง : น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็น แผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลม ตรงกลางสําหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
  23. เฆี่ยน : ก. ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ; (ปาก) เร่งความเร็ว เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขัน อย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด.
  24. งก ๑ : ก. แสดงอาการอยากได้หรือไม่อยากเสียจนเกินควร. ว. มีอาการสั่น อย่างคนแก่หรืออย่างกลัวหรืออย่างหนาวมาก.
  25. งก ๆ, ง่ก ๆ : ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก เช่น ทำงานง่ก ๆ ทั้งวันจนไม่มีเวลาหยุดพัก.
  26. งง : ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติ ไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างแรงเป็นต้น.
  27. งวง ๑ : น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิด จะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรง มาก ลํานี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำ เป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง.
  28. งอ : ว. ลักษณะที่มีส่วนปลายหักโค้งเข้าหาตัวมันเองเช่นรูปอย่างขอ; เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างอ. ก. ทําให้มีรูปหรือเป็นเช่นนั้น, เรียกอาการของ คนที่หัวเราะจนตัวงอว่า หัวเราะงอ.
  29. งอก ๑ : ก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก.
  30. งอน ๑ : น. ส่วนปลายแห่งของบางอย่างที่เป็นรูปยาวเรียวและช้อยขึ้น เช่น งอนไถ. ว. ช้อยขึ้น, โง้งขึ้น. ก. แสดงอาการโกรธเคืองหรือไม่พอใจ เพื่อให้เขาง้อ, ทําจริตสะบัดสะบิ้ง.
  31. ง่อย : ว. อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ. ง่อยเปลี้ยเสียขา ว. มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปรกติ.
  32. งะ : (โบ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง.
  33. งับ : ก. ปิดอย่างไม่สนิทหรือปิดอย่างไม่ลงกลอน เช่น งับประตู; อาการที่ อ้าปากคาบหรือกัดโดยเร็ว.
  34. งาแซง : น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปัก ตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นสําหรับตั้งกีดขวางทางเข้า ประตูค่ายเป็นต้น.
  35. ง้ำ : ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎา งํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างํ้า.
  36. งุบงิบ : ก. ทําอย่างเงียบ ๆ, ทํากันอย่างปิดบัง.
  37. งุ้ม : ว. งอลงอย่างปากนกแก้ว.
  38. งูกินหาง ๒ : น. การเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง สมมุติฝ่ายหนึ่งเป็นแม่งู มีลูกงูเกาะหลังเป็นแถว อีกฝ่ายเป็นพ่องู คอยไล่จับลูกงูตัวที่อยู่ท้ายแถว เอามาเป็นพวกทีละตัว ๆ.
  39. งูสวัด : น. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอาการอักเสบ อย่างเฉียบพลันที่ปมประสาทไขสันหลัง และพุเป็นเม็ดพองตาม ผิวหนังเป็นทางยาวพาดขวางลําตัวเป็นต้น ทําให้ปวดแสบปวดร้อน.
  40. เง้า : ว. เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น ว่า หน้าเง้า.
  41. เง้างอด, เง้า ๆ งอด ๆ : ว. กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, กระเง้ากระงอด ก็ว่า.
  42. เงี่ยง ๑ : น. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลาย เช่นเบ็ดหรือลูกศร.
  43. เงียบ ๆ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
  44. แง่น : ก. แยกเขี้ยวจะกัด (อย่างหมา). แง่น ๆ ว. แสดงกิริยาโกรธอย่างหมาจะกัด.
  45. จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
  46. จงกรม : [-กฺรม] ก. เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม. (ส.; ป.จงฺกม).
  47. จงเกลียดจงชัง : ก. ผูกใจเกลียดชังอย่างยิ่ง.
  48. จงรัก, จงรักภักดี : ก. ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง.
  49. จน ๑ : ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทําได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.
  50. จนแล้วจนรอด : ว. เป็นอยู่อย่างนั้นจนถึงบัดนี้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2428

(0.0930 sec)