Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 1251-1300
  1. น้ำอ้อย : น. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทําเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทําเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสําหรับต้มกลั่นสุรา หรือใช้ผสมปูนสอสําหรับการก่อสร้าง.
  2. น้ำอัดลม : น. นํ้าที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่โดยใช้ความดัน อาจผสมนํ้าตาลหรือนํ้าผลไม้ ใช้เป็นเครื่องดื่ม.
  3. นิครนถ์ : [คฺรน] น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนา. (ส. นิรฺคฺรนฺถ; ป. นิคณฺ? ว่า ผู้ปราศจากเครื่องผูกหรือเครื่องร้อยรัดทั้งมวล).
  4. นิคหิต : [นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ? ในภาษาบาลีและสันสกฤต มีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน ชุํนุํ อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
  5. นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
  6. นิติ : [นิติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบ ธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  7. นิรโฆษ : [ระโคด] (แบบ) น. เสียงดัง, เสียงกึกก้อง. ว. ไม่มีเสียง, เงียบ, สงบ, สงัด. (ส.).
  8. นิรามิษ : [มิด] (แบบ) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).
  9. นิราศรพ : [สบ] (แบบ) ว. ไม่มีเครื่องหมักหมมในสันดาน, หมดมลทิน, หมายถึงพระอรหันต์. (ส. นิราศรฺว).
  10. นีติ : (แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส.).
  11. เนติ : [เนติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  12. เน้น : ก. ทําให้หนักแน่นเพื่อให้เห็นความสําคัญ (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น เน้น ถ้อยเน้นคํา, ลงเสียงหนัก เช่น เน้นเสียง, กดให้แน่น เช่น เน้นเหงือก
  13. เน้อ : ว. คําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ.
  14. เนียง ๑ : น. นาง (ออกเสียงตามเขมรที่เขียนว่า นาง).
  15. เนียน ๓ : น. เครื่องมือสําหรับกวดลวดเลี่ยมภาชนะ เช่นปากป้านปากถ้วยให้เรียบ.
  16. เนียรนาท : [เนียระนาด] ก. กึกก้อง เช่น เสียงฆ้องกลองประนังเนียรนาท สะเทือนท้องวนาวาสหิมวันต์. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์), นีรนาท ก็ใช้.
  17. เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
  18. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  19. ไน ๑ : น. เครื่องปั่นด้ายด้วยมือ และใช้ถ่ายด้ายที่ทําเป็นไจหรือเข็ดแล้วเข้าหลอด.
  20. ไนต์คลับ : น. สถานเริงรมย์ที่เปิดเวลากลางคืน ขายอาหาร เครื่องดื่ม มีดนตรี และมักจัดให้มีการแสดงด้วย. (อ. nightclub).
  21. บ๊งเบ๊ง : (ปาก) ว. ทําเสียงเอะอะ, ทําเสียงเอะอะจนฟังแทบไม่ได้ศัพท์.
  22. บงสุกูลิก : น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของ ภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทําเป็นเครื่อง นุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
  23. บรรจถรณ์ : [บันจะถอน] (แบบ) น. เครื่องลาด, เครื่องปู, ที่นอน. (ป. ปจฺจตฺถรณ).
  24. บรรถร : [บันถอน] (แบบ) น. ที่นอน, เครื่องปูลาด. (ป. ปตฺถร; ส. ปฺรสฺตร).
  25. บรรทัดฐาน : น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.
  26. บรรเลง : [บัน-] ก. ทําเพลงด้วยเครื่องดุริยางค์ให้เป็นที่เจริญใจ.
  27. บรัด : [บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัด แห่งพระองค์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  28. บราลี : [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด.
  29. บริขาร : [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
  30. บริภัณฑ์ ๒ : [บอริพัน] น. ของใช้, เครื่องใช้, เครื่องเรือน. (ป. ปริภณฺฑ).
  31. บริโภคเจดีย์ : [บอริโพกคะ-] น. เจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริขารของ พระพุทธเจ้า.
  32. บริสุทธิ์ : [บอริสุด] ว. แท้, ไม่มีอะไรเจือปน, เช่น ทองบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน, ปราศจากความผิด, เช่น เป็นผู้บริสุทธิ์, หมดจดไม่มีตําหนิ เช่น เพชรบริสุทธิ์ เครื่องแก้วบริสุทธิ์; เรียกสาวพรหมจารีว่า สาวบริสุทธิ์. น. แร่ชนิดหนึ่ง ในจําพวกนวโลหะ. (ป. ปริสุทฺธิ).
  33. บวงสรวง : [-สวง] ก. บูชาเทวดาด้วยเครื่องสังเวยและดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น.
  34. บวน : น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้มผัดกับเครื่องแกง มีหอมเผา กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น ต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้
  35. บ้อ, บ้อหุ้น : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง โดยเขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลง บนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน ''เอา มารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือ วงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า ''อีตัว'' โยน ลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็น ฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยน อีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า ''อู้ไว้'' หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่ โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง.
  36. บะหมี่ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.).
  37. บั้ง : ก. เชือดหรือฟันให้เป็นแผลตามขวาง เช่น บั้งปลา. น. รอยเชือดเป็น แผลตามขวาง เช่น กรีดยางเป็นบั้ง ๆ; เครื่องมือสําหรับถูไม้ คล้ายบุ้ง แต่มีฟันเป็นแถว ๆ, สิ่งที่เป็นแถบ ๆ อย่างเครื่องหมายยศทหารหรือ ตํารวจชั้นประทวนเป็นต้น; กระบอกไม้ไผ่.
  38. บังโกลน, บังโคลน : [-โกฺลน, -โคฺลน] น. เครื่องบังเหนือล้อรถ ป้องกัน โคลนมิให้กระเด็นขึ้นมาเปื้อนรถ.
  39. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  40. บังคับครุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระ สั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อํา ใอ ไอ เอา เช่น รํา ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
  41. บังคับลหุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.
  42. บังตะวัน : น. เครื่องบังแดดเช่นเดียวกับบังสูรย์. (สิบสองเดือน).
  43. บังตา : น. เครื่องบังประตูทําด้วยไม้หรือกระจกเป็นต้นติดอยู่กับกรอบ ประตูเหนือระดับตาเล็กน้อย ผลักเปิดปิดได้, ถ้าเป็นเครื่องบังหน้าต่าง ในระดับตา มักทําด้วยผ้า เรียกว่า ม่านบังตา; เครื่องบังตาม้าเพื่อไม่ให้ เห็นข้าง ๆ.
  44. บังแทรก : [-แซก] น. เครื่องสูงอย่างหนึ่งสําหรับใช้ในริ้วขบวนพิธีแห่, คู่กับ ทานตะวัน อยู่ระหว่างฉัตร. (รูปภาพ บังแทรก)
  45. บังเพลิง : น. เครื่องส่องแสงไฟที่มีกําบังไม่ให้เห็นผู้ส่อง.
  46. บังสุกูลิก : (แบบ) น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุ ผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทําเครื่องนุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
  47. บังสูรย์ : น. เครื่องสูงอย่างหนึ่ง สําหรับใช้บังแดดในการพิธีแห่ รูปคล้าย บังแทรก. (รูปภาพ บังสูรย์)
  48. บังเหียน : น. เครื่องบังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ ทําด้วยเหล็กหรือไม้ใส่ ผ่าปากม้า ที่ปลายมีห่วง ๒ ข้างสําหรับผูกสายบังเหียนโยงไว้ให้ ผู้ขี่ถือ, โดยปริยายหมายความว่า อํานาจบังคับบัญชาให้เป็นไปใน ทางที่ต้องการ เช่น ถือบังเหียนการปกครองบ้านเมือง กุมบังเหียน.
  49. บัตร : [บัด] น. แผ่นเอกสารแสดงสิทธิของผู้ใช้เป็นต้น มักทําด้วยกระดาษ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น บัตรประจําตัว บัตรเลือกตั้ง บัตรสมนาคุณ; ภาชนะทําด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสําหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, ถ้าทําเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้าทําเป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ; ใบไม้, กลีบดอกไม้ เช่น ปทุมบัตร; ขนปีก, ปีก เช่น หากันกระสันโบย บัตรเรียกมารังเรียง. (สมุทรโฆษ). (ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).
  50. บัตรกรุงพาลี : น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, บัตรพระภูมิ ก็เรียก, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตรพลี.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.0739 sec)