Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 1301-1350
  1. บัตรเทวดา : น. เรียกสิ่งที่ประกอบด้วยก้านกล้วย ๔ ก้านตั้งเป็นเสา ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียวตรงขึ้นไปแล้วรวบยอดปักแผ่นรูปเทวดาที่ จะสังเวย ระหว่างร่วมในเสาทํากระบะกาบกล้วยเรียงขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ สําหรับวางเครื่องสังเวยเทวดา, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตร ก็มี.
  2. บัตรพลี : [บัดพะลี] น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะ สี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, เรียกเต็มว่า บัตรกรุงพาลี, ถ้าทำเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้ามีเสาธงประกอบ ตั้งแต่ ๔ เสาขึ้นไป เรียกว่า บัตรพระเกตุ, ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอด เรียกว่า บัตรนพเคราะห์. บัตรสนเท่ห์
  3. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  4. บันลือ : ก. เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสีหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น ข่าวบันลือโลก.
  5. บัวกลุ่ม : น. ลายปูนหรือลายแกะไม้ที่ทําเป็นรูปดอกบัวที่เริ่มแย้ม ร้อยกันเป็นเถา อยู่ระหว่างบัลลังก์กับปลียอดของเจดีย์หรือปลาย เครื่องบนของปราสาท.
  6. บาน ๑, บาน- : [บาน, บานนะ-] น. นํ้าสําหรับดื่ม, เครื่องดื่ม เช่น สุราบาน ชัยบาน อัฐบาน. (ป., ส. ปาน).
  7. บานพับ : น. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่าง เป็นต้น เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร บานพับขา.
  8. บ้าบ่น : น. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้มโหรีเป็นเครื่องรับ ทําตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน, กระทงลอย หรือ กระทงน้อย ก็เรียก.
  9. บายศรี : น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทําด้วยใบตอง รูปคล้าย กระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลําดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่อง สังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือ ข้าวขวัญ).
  10. บาร์ ๒ : น. ร้านขายเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ มักมีดนตรีและที่ให้ ลูกค้า เต้นรําด้วย, สถานบริการเหล้าหรือเครื่องดื่มภายในบ้าน เป็นต้น เช่น เปิดฟรีบาร์. (อ. bar).
  11. บารอมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้วัดความกดดันของบรรยากาศ อาจประกอบด้วย ปรอท หรือตลับโลหะสุญญากาศ แล้วแต่ความมุ่งหมายและความ สะดวกที่จะนําไปใช้. (อ. barometer).
  12. บ้าหว่า : [-หฺว่า] น. เครื่องประดับข้อมืออย่างหนึ่ง. (ขุนช้างขุนแผน).
  13. บิดหล่า : [บิดหฺล่า] น. เครื่องมือสําหรับเจาะไม้ชนิดหนึ่ง ใช้มือดึงเชือก บิดเป็นเกลียว ปลายมีคม คล้ายสว่าน. (รูปภาพ บิดหล่า)
  14. บิน ๑ : ก. ไปในอากาศด้วยกําลังปีกหรือเครื่องยนต์เป็นต้น เช่น นกบิน เครื่องบินบิน, โดยปริยายหมายถึงการไปโดยลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ขวัญบิน จานบิน; เรียกหน่อไม้ที่ขึ้นสูงจนเป็นลํา แต่ยอดยังมีกาบหุ้มอยู่แก่เกินกิน ว่า หน่อไม้บิน.
  15. บื๋อ : ว. เสียงดังอย่างเสียงเร่งเครื่องยนต์ โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อน ไปอย่างรวดเร็ว เช่น เรือบื๋อ.
  16. บุ้ง ๓ : น. เครื่องมือสําหรับถูไม้ ทําด้วยเหล็ก มีฟันเป็นปุ่มแหลมคม.
  17. บุ้งกี๋ : น. เครื่องสานรูปคล้ายเปลือกหอยแครง สำหรับใช้โกยดินเป็นต้น, ปุ้งกี๋ ก็ว่า.
  18. บุนนาค : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mesua ferrea L. ในวงศ์ Guttiferae ใบยาวรี ปลายใบเรียวแหลม ดอกสีขาวคล้ายสารภีแต่ใหญ่กว่า กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้ แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทําเครื่องเรือน.
  19. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : [บุบเพ-] น. ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึง ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, การระลึกชาติได้. (ป. ปุพฺเพนิวาสา นุสฺสติ?าณ).
  20. บุหงา : [-หฺงา] น. ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มีมะลิ กระดังงา กุหลาบ เป็นต้น ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้าโปร่งเล็ก ๆ ทําเป็น รูปร่างต่าง ๆ. (ตัดมาจาก บุหงารําไป).
  21. บุหงารำไป : น. ดอกไม้ที่ปรุงด้วยเครื่องหอมแล้วบรรจุในถุงผ้า โปร่งเล็ก ๆ ทําเป็นรูปร่างต่าง ๆ, มักเรียกย่อว่า บุหงา. (ช.).
  22. บูชา : ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความ สามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
  23. บูชายัญ : น. การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง, การเซ่นสรวงด้วย วิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา. ก. เซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคน หรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา.
  24. บูดู : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุง รส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดู แบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้.
  25. เบ่ง : ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะ เป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทําให้ พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก) เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอํานาจ, อวดทําเป็นใหญ่.
  26. เบญจกูล : น. เครื่องยา ๕ อย่าง คือ ขิง ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูล เพลิง. (ส. ปญฺจโกล).
  27. เบญจดุริยางค์ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบา ใช้เล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขน ชนิดหนึ่ง, อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทํา จังหวะ ๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) ๑. (ตํานานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).
  28. เบญจรงค์ : น. แม่สีทั้ง ๕ คือ ดํา แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง, เรียกเครื่องถ้วยชามที่เขียนลวดลายด้วยแม่สีทั้ง ๕ ว่า ถ้วย เบญจรงค์ ชามเบญจรงค์.
  29. เบญพาด : [เบนยะ-] น. ตัวไม้ที่คุมกันเข้าเป็นเครื่องคํ้ายันเสาตะลุงให้มั่นคง. (รูปภาพ เบญพาด)
  30. เบ็ด : น. เครื่องมือสําหรับตกปลา หรือ กุ้ง รูปเป็นขอสําหรับเกี่ยวเหยื่อ ส่วนมากมีเงี่ยง.
  31. เบรก : [เบฺรก] น. เครื่องห้ามล้อ. ก. ห้ามล้อ. (อ. brake).
  32. เบา : ว. มีน้ำหนักน้อย, ตรงข้ามกับ หนัก; ย่อมเยา เช่น เบาราคา; ค่อย, ค่อย ๆ, เช่น เสียงเบา เดินเบา ๆ, ทุเลา เช่น ไข้เบาลง, ชะลอกําลัง เร็วให้ช้าลง เช่น เบารถ เบาฝีจักร; ที่ให้ผลเร็ว เช่น ข้าวเบา. (ปาก) น. เยี่ยว. ก. ถ่ายปัสสาวะ, เยี่ยว.
  33. เบาะ ๑ : น. เครื่องรองรับซึ่งมีลักษณะนุ่ม เช่น เบาะยัดนุ่น เบาะรองนั่ง เบาะ สําหรับเด็กนอน.
  34. เบือ ๒ : น. ข้าวสารที่ตําประสมกับเครื่องแกงเพื่อให้นํ้าแกงข้น เรียกว่า ข้าวเบือ, เรียกสากไม้ที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า สากกะเบือ, เรียกครกดินที่ใช้ตําข้าวเบือหรือนํ้าพริกว่า ครกกะเบือ.
  35. แบนโจ : น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีสาย ๕ สาย ใช้มือดีด. (อ. banjo).
  36. แบรก : [บะแหฺรก] (กลอน) น. แปรก, เครื่องเกวียนหรือรถชนิดหนึ่ง สําหรับประกบหัวเพลากับคานกันลูกล้อไม่ให้เลื่อนหลุด.
  37. โบ๊เบ๊ : ว. มีเสียงเอ็ดอึงจนฟังไม่ได้ศัพท์.
  38. โบสถ์ : น. สถานที่สําหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวด พระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลม เรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคําว่า อุโบสถ). (ป. อุโปสถ).
  39. ใบ : น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็น แผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว; สิ่งที่ทําด้วยผืนผ้าเป็นต้น สําหรับขึงที่เสากระโดงเพื่อรับลม; แผ่นเอกสารหรือหนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่ ใบทะเบียน; เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ; ลักษณนามสําหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่ ๕ ใบ.
  40. ใบขับขี่ : (ปาก) น. ใบอนุญาตให้ขับเคลื่อนยานยนต์ได้, ถ้าเป็นใบ อนุญาตให้ขับเรือ เรียกว่า ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือ, ถ้าเป็น ใบอนุญาตให้ขับเครื่องบิน เรียกว่า ใบอนุญาตนักบิน.
  41. ใบปรือ : น. ชื่อไม้หรือปูนรูปเป็นครีบ ๆ คล้ายใบระกาติดที่ตะเข้ เครื่องบนโบสถ์วิหารเป็นต้น.
  42. ใบพัด : น. วัตถุที่มีลักษณะแบนมีรูสําหรับใส่แกนหรือเพลาให้ หมุนได้ สําหรับพัดลมพัดนํ้า เพื่อขับยานมีเครื่องบินและเรือ เป็นต้น ให้ เคลื่อนที่หรือเพื่อให้เกิดความเย็นเป็นต้น เช่น ใบพัดเครื่องบิน ใบพัดพัดลม ใบพัดสีลม.
  43. ใบโพ ๑ : น. แผ่นโลหะทำเป็นรูปใบโพแขวนไว้ที่ปลายลูกเน่ง เพื่อรับลมไปแกว่งลูกเน่งให้กระทบตัวกระดิ่งหรือกระดึงให้ เกิดเสียงดัง.
  44. ใบอนุญาตขับขี่ : (กฎ) น. ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วย รถยนต์ ใบอนุญาตสําหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาต ผู้ประจําเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง, (ปาก) ใบขับขี่.
  45. ปกกระพอง : น. เครื่องปกส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างหัวช้าง.
  46. ปกีรณัม : [ปะกีระนํา] ก. จําแนกหรือกระจายออกไป. (ส. ปฺรกีรณมฺ).
  47. ปง ๑, ปงปัง : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  48. ปฏิกรณ์ : (ฟิสิกส์) น. เครื่องที่ใช้สําหรับก่อให้เกิดปฏิกิริยาแตกสลายทาง นิวเคลียร์อย่างสมํ่าเสมอและควบคุมได้เพื่อผลิตพลังงาน สาร กัมมันตรังสี เครื่องชนิดนี้มีหลายแบบ และใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งมักเป็นแท่งยูเรเนียม, มักเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู. (อ. reactor).
  49. ปฏิรพ : [-รบ] (แบบ) ก. ส่งเสียงเอาชัย, ร้องดัง, ร้องขู่. (ป. ปฏิรว).
  50. ปฐม, ปฐม- : [ปะถม, ปะถมมะ-] ว. ประถม, ลำดับแรก, ลำดับเบื้องต้น; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลจุลจอมเกล้าว่า ปฐมจุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.0529 sec)