Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 1601-1650
  1. พาง ๒ : น. แผ่นโลหะสําหรับตีบอกเสียง.
  2. พาณิชยศิลป์ : น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อวัตถุ ประสงค์ในด้านธุรกิจการค้าโดยเฉพาะ เช่น ศิลปะในการเขียนภาพ โฆษณา ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.
  3. พาณี : น. เสียง, ถ้อยคํา, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).
  4. พาทย์ : (กลอน) น. เครื่องประโคม. (ส. วาทฺย).
  5. พานพระขันหมาก, พระขันหมาก : (โบ; ราชา) น. พานมีรูปทรง คล้ายพานแว่นฟ้า ทำด้วยทองคำ จำหลักลวดลายลงยาสี เป็นเครื่อง ราชูปโภค ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินในพานประกอบด้วย ตลับพู่ใส่ ขี้ผึ้ง ๑ มังสี ๒ สำหรับใส่หมากเจียน ๑ หมากทั้งลูก ๑ซองพลู ๒ สำหรับใส่พลูจีบ ๑ พลูทั้งใบ ๑ ตลับใส่กระวาน ๑ ตลับใส่ยาฝอย ๑ และพระแสงกรรบิด ๑, พานพระศรี ก็ว่า.
  6. พาย : น. เครื่องมือสําหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ทำด้วยไม้ มีด้ามกลมยาว ประมาณ ๒ ศอก สำหรับจับด้านที่ใช้พุ้ยน้ำมีลักษณะแบน, ถ้า ลอกลวดเป็นคิ้วตลอดกลางใบพาย เรียกว่า พายคิ้ว, ถ้าด้ามสั้น ใบป้อม เพื่อให้จับได้ถนัด เรียกว่า พายทุย, เรียกไม้แบน ๆ ที่มี รูปคล้ายพาย เช่น พายกวนขนม. ก. เอาพายพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน.
  7. พาส : ก. นุ่งห่ม; อยู่. (ป., ส. วาส ว่า ที่อยู่, เครื่องนุ่งห่ม).
  8. พาสน์ : น. การนุ่งห่ม, เครื่องนุ่งห่ม; การอยู่; การอบ, การทําให้หอม. (ป., ส. วาสน).
  9. พาหนะ : [หะนะ] น. เครื่องนําไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สําหรับขี่บรรทุกหรือ ลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยาน ต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ. (ป., ส. วาหน).
  10. พาหุรัด : น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดต้นแขน, ทองต้นแขน ก็เรียก.
  11. พำพึม, พำ ๆ, พึม ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงคนพูดหรือบ่นค่อย ๆ, พึมพํา ก็ว่า.
  12. พิฆน์ : น. อุปสรรค; เครื่องกีดขวาง, แก่ง. (ส. วิฆน).
  13. พิณ : น. ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีสายสําหรับดีด. (ป., ส. วีณา).
  14. พิณพาทย์ : น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า, ปี่พาทย์ ก็เรียก.
  15. พิตร : [พิด] น. ทรัพย์, ของเครื่องปลื้มใจ. (ส., ป. วิตฺต).
  16. พิภูษณะ : [พูสะนะ] น. วิภูษณะ, เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสน).
  17. พิมพา : น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและ หาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโต ขึ้น ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง เสือทะเล หรือ ฉลามเสือก็เรียก.
  18. พิมพาภรณ์ : น. เครื่องประดับร่างกาย ในคําว่า ถนิมพิมพาภรณ์. (ป. พิมฺพ + อาภรณ).
  19. พิราบ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา รูปร่าง คล้ายกันแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทาอมฟ้า หากินบน พื้นดิน กินเมล็ดพืช ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Columba livia. (ส. วิราว, พิราว, พิราพ ว่า เสียงร้อง).
  20. พิราม ๑ : น. การหยุดพัก, การหยุดเสียง, ที่สุด. (ส. วิราม).
  21. พิษนาศน์ ๑ : [พิดสะหฺนาด] น. ชื่อเครื่องยาไทยชนิดหนึ่ง. (ส. วิษนาศน).
  22. พึ่บ, พึ่บพั่บ : ว. ทันทีทันใด เช่น ไฟลุกพึ่บ ลุกกันพึ่บพั่บ; เสียงดังเช่นนั้นอย่าง เสียงนกกระพือปีกเป็นต้น.
  23. พึม : ว. เสียงบ่นเบา ๆ เช่น นักเรียนบ่นกันพึมเลย.
  24. พุก ๓ : น. เครื่องกระเบื้องที่ตรึงกับฝาเป็นต้นสำหรับยึดสายไฟฟ้า.
  25. พุง : น. ท้อง เช่น นอนตีพุง พุงปลิ้น, เรียกเครื่องในท้องของปลาบาง ชนิดรวมกัน มีกระเพาะและไส้เป็นต้น ว่า พุง เช่น พุงปลาช่อน.
  26. พุ่มทรงข้าวบิณฑ์ : น. เครื่องบูชาทำด้วยข้าวบิณฑ์ ตั้งบนภาชนะ เช่นพาน, เรียกรูปทรงที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ทรงข้าวบิณฑ์ หรือ พุ่มข้าวบิณฑ์; เรียกลายไทยแบบหนึ่งผูกเขียนในรูปทรงเช่นนั้นว่า ลายทรงข้าวบิณฑ์ หรือ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์.
  27. พู่ : น. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชู ก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า.
  28. พู่กัน : น. เครื่องเขียนหนังสือหรือระบายสี ตอนปลายเป็นพู่ทำด้วย ขนสัตว์.
  29. พูด : ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคํา, พูดจา ก็ว่า.
  30. เพชรนิลจินดา : [เพ็ดนิน] น. เครื่องเพชรพลอย.
  31. เพชร, เพชร : [เพ็ด, เพ็ดชะ] น. ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่าพลอย อื่น ๆ ใช้ทําเครื่องประดับหรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม; โดยปริยายหมายความว่า แข็งที่สุด เช่น เหล็กเพชร ใจเพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  32. เพชรร่วง : น. เพชรเม็ดเล็ก ๆ ที่เจียระไนแล้ว แต่ยังไม่ได้ทําเป็น เครื่องประดับหรือเครื่องใช้.
  33. เพดานบิน : น. ระดับสูงสุดที่เครื่องบินสามารถบินได้.
  34. เพ้ย : ว. คําขับไล่ที่เปล่งเสียงแรง ๆ ให้สัตว์เช่นไก่หนีไป; คํารับในเวลา พากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. ก. ตะเพิด เช่น ถูกเพ้ย.
  35. เพราะ ๑ : ว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ.
  36. เพศ : น. รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย; (ไว) ประเภทคําในบาลีและ สันสกฤตเป็นต้น, ตรงกับ ลิงค์ หรือ ลึงค์; เครื่องแต่งกาย; การ ประพฤติปฏิบัติตน เช่น สมณเพศ. (ป. เวส; ส. เวษ).
  37. เพียงออ : น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งเสียงทุ้ม.
  38. เพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย เช่น หน้าเพี้ยน, คลาดเคลื่อน เช่น พูดเพี้ยน เสียงเพี้ยน, ผิดเพี้ยน ก็ว่า, โบราณใช้ เพียน ก็มี; (ปาก) ไม่ค่อยปรกติ (มักใช้แก่คน) เช่น เขามีท่าทางเพี้ยน ๆ.
  39. แพน ๑ : ก. แผ่ออก, กระจายออกไป, เช่น นกยูงแพนหาง นกพิราบแพนหาง. น. หางนกบางชนิดที่แผ่ออกไปเป็นแผ่น เช่น แพนหางนกยูง แพน หางนกพิราบ, สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แพนสําหรับคัดท้ายแพซุง.
  40. แพน ๒ : น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของท้องถิ่น ใช้เป่า.
  41. แพร่ : ก. กระจายออกไป, แผ่ออกไป, เช่น แพร่ข่าว แพร่เชื้อโรค.
  42. แพร่ข่าว : ก. กระจายข่าวออกไป.
  43. แพร่งพราย : ก. แยก, กระจายไป, แผ่ไป; เปิดเผยความลับ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เรื่องนี้รู้แล้วอย่าแพร่งพรายไป.
  44. แพร่สะพัด : ก. กระจายไปทั่ว เช่น ข่าวแพร่สะพัดไปโดยเร็ว.
  45. แพร่หลาย : ก. กระจายออกไปให้มาก, ทั่วถึง, เช่น รู้กันแพร่หลาย ใช้กันแพร่หลาย.
  46. แพลทินัม : [แพฺล] น. ธาตุลําดับที่ ๗๘ สัญลักษณ์ Pt เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเงินเป็นเงางามหลอมละลายที่ ๑๗๖๙ํซ. ใช้ประโยชน์ นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และใช้เป็นเครื่องประดับที่มี ค่าสูง. (อ. platinum).
  47. โพงพาง : น. เครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่ง เป็นถุงตาข่ายรูปยาวรี ใช้ผูกกับเสา ใหญ่ ๒ ต้นที่ปักขวางลํานํ้า สําหรับจับปลากุ้งทุกขนาด.
  48. โพชฌงค์ : [โพดชง] น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ; ชื่อพระ ปริตรที่พระสงฆ์สวดให้คนเจ็บหนักฟัง เรียกว่า สวดโพชฌงค์. (ป.).
  49. โพล่ง : [โพฺล่ง] ว. ใช้ประกอบกับคํา พูด เป็น พูดโพล่ง หมายความว่า พูดอย่างไม่ยับยั้ง; เสียงดังอย่างเสียงกระโดดลงไปในนํ้า.
  50. โพละ : [โพฺละ] ว. เสียงอย่างเสียงทุบหม้อดินแตกเป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | [1601-1650] | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.0786 sec)