Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 1801-1850
  1. รถปรับอากาศ : น. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ.
  2. รถสามล้อ : น. ยานพาหนะถีบขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มี ๓ ล้อ เรียกเต็มคำว่า จักรยานสามล้อ, ถ้าติดเครื่องยนต์ เรียกว่า สามล้อเครื่อง หรือ จักรยาน สามล้อเครื่อง.
  3. รพ, รพะ, รพา : [รบ, ระพะ, ระพา] น. เสียงร้อง, เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก. (ป., ส. รว).
  4. ร่มชูชีพ : น. เครื่องพยุงตัวเมื่อโดดจากที่สูง ตามปรกติกางแล้วรูปคล้าย ร่ม แต่ในปัจจุบันเมื่อกางแล้วมีลักษณะคล้ายกาบกล้วยเป็นลอน ๆ ตามขวางก็มี.
  5. ร่วน : ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตก ละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.
  6. รวะ : น. เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก, เสียงอึง, เสียงร้องครํ่าครวญ. ก. ร้อง, ร้องไห้. (ป., ส.).
  7. รหัส : [–หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้ข้อความ ที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษร ของข้อความนั้นหรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง กุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
  8. รอก : น. เครื่องผ่อนแรงรูปคล้ายล้อ มีแกนหมุนได้รอบตัว ที่ขอบเป็นร่อง สําหรับให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเดินได้สะดวก ใช้สําหรับยก ลาก หรือดึงของหนักให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น.
  9. ร้อง : ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คํา แวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
  10. ร้องบอก : ก. เปล่งเสียงบอกให้รู้.
  11. ร้องโยนยาว : ก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพาย เรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
  12. ร้องเรียก : ก. เปล่งเสียงเรียกเพื่อให้มาหรือเพื่อมุ่งหมายอย่างอื่น.
  13. ร้องแรก, ร้องแรกแหกกระเชอ : ก. ร้องเอ็ดตะโร, ส่งเสียงโวยวายให้ผู้อื่นรู้.
  14. ร้องส่ง : ก. ร้องเพลงให้เครื่องดนตรีรับ.
  15. รอด ๒ : ก. พ้นไป, ปลอดจาก, เช่น รอดอันตราย, บางทีหมายความว่า ผ่านพ้น ภัยอันตรายหรือสิ่งที่ไม่พึงปรารถนามาได้ เช่น เครื่องบินตกรอดมาได้ รอดจากถูกครูตี. ว. ถึงจุดหมายปลายทาง เช่น ไปรอด, ถึง เช่น ตลอด รอดฝั่ง.
  16. รอด ๓ : น. ชื่อพระเครื่องชนิดหนึ่งของลําพูน เรียกว่า พระรอด.
  17. ร่อน : ก. อาการของสิ่งมีลักษณะแบนเลื่อนลอยไปหรือมาในอากาศ, ทำให้ สิ่งแบน ๆ เคลื่อนไปในอากาศหรือบนผิวน้ำ เช่น ร่อนรูป ร่อนกระเบื้อง ไปบนผิวน้ำ; กางปีกแผ่ถาไปมาหรือถาลง เช่น นกร่อน เครื่องบินร่อน ลง; แยกเอาของละเอียดออกจากของหยาบ โดยใช้เครื่องแยกมีแร่ง เป็นต้นแกว่งยักไปย้ายมา ให้ของที่ละเอียดหลุดลงไป เช่น ร่อนข้าว, แกว่งวนเวียนไปรอบตัว เช่น ร่อนดาบ; เอาคมมีดถูวนเบา ๆ ที่หิน ในคําว่า ร่อนมีด.
  18. ร้อยแก้ว : น. ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและ ความหมาย.
  19. ระงม : ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.
  20. ระดับ : น. ลักษณะของพื้นผิวตามแนวนอนระหว่างจุด ๒ จุดที่มีความสูงเสมอกัน โดยปรกติใช้ระดับนํ้าทะเลเป็นมาตรฐานในการวัด, เรียกเครื่องวัดความ เสมอของพื้นผิวว่าเครื่องวัดระดับ. ก. ปูลาด, แต่งตั้ง.
  21. ระทึง : ว. เสียงหึ่ง ๆ อย่างเสียงผึ้ง.
  22. ระนาดทุ้ม : น. ระนาดที่มีเสียงต่ำกว่าและมีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอก ลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอกแต่ใหญ่และยาวกว่า มี ๑๗ ลูก ปาก รางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวนด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้น มีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว.
  23. ระนาดเอก : น. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมาก ทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง โดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัด มีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือ ไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบา และนุ่มนวล.
  24. ระแนะ : น. เครื่องสําหรับรองรากตึกและเสาเรือน, แระ ก็เรียก; ท้องเรือ.
  25. ระบือ : ว. เล่าลือ เช่น ข่าวระบือ, เลื่องลือ, แพร่หลายรู้กันทั่ว, เช่น ชื่อเสียงระบือ ไปไกล.
  26. ระย้า : น. เครื่องห้อยย้อยเป็นพวงเป็นพู่. ว. ที่ห้อยย้อยลงมา เช่น ตุ้มหูระย้า โคมระย้า.
  27. ระรัว : ว. รัว ๆ, สั่นถี่ ๆ, สั่นสะท้าน, เช่น กลัวจนตัวสั่นระรัว เสียงสั่นระรัว.
  28. ระวังไพร, ระวังวัน : น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวสีนํ้าตาล ปากแหลมโค้ง คอ อก และ ท้องสีขาว หางยาว มักหากินเป็นฝูงและส่งเสียงตลอดเวลา กินแมลง ตามพื้นดินและพุ่มไม้ มีหลายชนิด เช่น ระวังไพรปากเหลือง (Pomatorhinus schisticeps) ระวังไพรปากยาว (P. hypoleucos), ตระเวนไพร หรือ ตระเวนวัน ก็เรียก.
  29. ระวิง ๒ : น. เครื่องคล้องโคนหางช้าง ทำด้วยโลหะรูปโค้ง ปลายทั้ง ๒ ข้างงอ เป็นขอและติดห่วงไว้สำหรับคล้องกระวินต่อกับปลายสายสำอาง.
  30. ระหัด : น. เครื่องวิดนํ้าอย่างหนึ่งเป็นราง ใช้ถีบด้วยเท้าหรือฉุดด้วยเครื่องจักร เป็นต้น.
  31. รัก ๒ : ก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ.
  32. รักษายี่ห้อ : (ปาก) ก. ระวังไม่ให้เสียชื่อเสียง.
  33. รังผึ้ง : น. รังที่ผึ้งทําสําหรับอยู่อาศัยและทํานํ้าผึ้ง, รังที่คนทําให้ผึ้งอาศัย ทํารวงข้างใน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; เครื่องสําหรับระบาย ความร้อนของหม้อนํ้ารถยนต์ มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง; ดินเผาหรือเหล็ก เป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สําหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตก ลงข้างล่าง โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น, ตะกรับ ก็ว่า.
  34. รัดเกล้า : น. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสํานักแต่โบราณ และประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี ๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สําหรับกษัตรี และรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลวสําหรับพระสนม.
  35. รัดช้อง : น. เครื่องประดับสําหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอย ใช้ประกอบกับรัดเกล้า.
  36. รัตนชาติ : น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงามคงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.
  37. รัตนวราภรณ์ : น. ชื่อตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จะพระราชทานได้ ทั่วไปทุกชั้นบุคคลตามพระราชประสงค์ ไม่เกี่ยวด้วยยศหรือบรรดาศักดิ์.
  38. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  39. รั้ว : น. เครื่องล้อมกันเป็นเขตของบ้านเป็นต้น มักทำด้วยเรียวไผ่ ต้นไม้ ขนาดเล็กหรือสังกะสี เช่น รั้วมะขามเทศ รั้วสังกะสี, โดยปริยายเรียก ทหารซึ่งทำหน้าที่เป็นกำลังป้องกันชาติว่า รั้วของชาติ.
  40. รั่ว ๒ : ว. อาการที่ไล่ไม้ตีระไปบนลูกระนาดโดยไม่ลงคู่ ทำให้เสียงเพี้ยนหรือ ไม่ชัดเจน เช่น เขาตีระนาดรั่ว ฟังไม่เป็นเพลง.
  41. รัว ๒, รัว ๆ : ก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทําให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลอง รัวปืนกล;อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว. ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ;ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพ รัว ๆ เห็นรัว ๆ.
  42. รัสสระ : [รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อํา ใอ ไอ เอา. (ป.).
  43. รางบดยา : น. เครื่องบดยาไทยและยาจีนให้เป็นผง ทำด้วยโลหะรูปร่าง คล้ายรางระนาดแต่ก้นสอบ มีลูกบด.
  44. รางบรรทัด : น. เครื่องตีเส้นบรรทัดบนใบลาน.
  45. ราชธรรม : น. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของ ผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ–การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตปะ–ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ–ความ ไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดธรรม. (ส.).
  46. ราชปะแตน : [ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัด ตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคําบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).
  47. ราชรถ : [ราดชะรด] น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีบุษบกเป็นเครื่อง ประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันมีอยู่ ๒ คัน คือ พระมหาพิชัยราชรถ กับ เวชยันตราชรถ ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศ และพระโกศ.
  48. ราชาโชค : (โหร) น. ชื่อตําแหน่งดาว ถือว่าให้คุณสูงในทางเกียรติยศ ชื่อเสียงการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทำให้ผู้เกิด หรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปรานของ ขุนนาง เจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.
  49. ราชาฤกษ์ : (โหร) น. ชื่อฤกษ์กําเนิด ถือว่าเป็นมงคลสูง ให้เกียรติยศ ชื่อเสียง และผลดีทางการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทําให้ ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปราน ของขุนนางเจ้าพระยา พระมหากษัตริย์.
  50. ราชูปโภค, ราโชปโภค : [ราชูปะโพก, ราโชปะโพก] น. เครื่องใช้สอย ของพระราชา. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | [1801-1850] | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.0515 sec)