Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 1951-2000
  1. ลูกกะแอ : น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ ลูกแหง่ ก็เรียก. ลู
  2. ลูกกุญแจ : น. เครื่องมือชนิดหนึ่ง ทำด้วยเหล็กหรือทองเหลือง เป็นต้น สำหรับไขแม่กุญแจ.
  3. ลูกเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, เก็บ หรือ ทางเก็บ ก็ว่า.
  4. ลูกขัด ๑ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไป อีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  5. ลูกขัด ๒ : น. อุปกรณ์สําหรับขัดหรือปัดเงาเครื่องโลหะ ทําด้วยผ้า ซ้อนกันหลายชั้นเป็นรูปกลมคล้ายลูกล้อ มีรูตรงกลาง สวมเข้ากับ แกนที่ต่อออกมาจากมอเตอร์.
  6. ลูกคอ : น. เสียงเอื้อนหรือเสียงครวญในเวลาร้องเพลงเป็นต้น.
  7. ลูกคั่น : น. เครื่องประดับเป็นลูกกลม ๆ เป็นต้น ใช้คั่นระหว่าง ตะกรุดหรือลูกประคำ.
  8. ลูกคิด : น. เครื่องคํานวณเลขของจีน ทําด้วยไม้เป็นต้น เป็นลูกกลม ๆ ร้อยใส่ไว้ในราง.
  9. ลูกคู่ : น. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับพ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยายหมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่. ลูกฆ้อง น. ทํานองหลักของเพลงไทยที่โดยปรกติจะบรรเลงด้วย ฆ้องวงใหญ่.
  10. ลูกตอด : น. การบรรเลงที่ทำเสียงกระตุกสั้น ๆ สลับจังหวะ ทำนองเพลง.
  11. ลูกเน่ง : น. โลหะที่แขวนในกระดิ่ง เมื่อแกว่งไปกระทบตัวกระดิ่ง จะมีเสียงดัง.
  12. ลูกบท : น. เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่; เรียกลิเกที่ผู้ แสดงเป็นตัวพระตัวนางไม่เข้าเครื่องอย่างโขน ละครหรือลิเก ทรงเครื่อง ว่า ลิเกลูกบท.
  13. ลูกบิด : น. อุปกรณ์สําหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิม ทําเป็นลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สําหรับปิดเปิด ให้ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สําหรับบิดเร่ง หรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือ หย่อน มักทําด้วยไม้หรืองา.
  14. ลูกเบี้ยว : น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ ทําหน้าที่ดันทองขาว ในจานจ่ายให้แยกจากกัน เพื่อตัดวงจรไฟตํ่าให้ไปเกิดไฟแรงสูงที่ คอยล์; อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ทําหน้าที่ควบคุมการปิดเปิด ของลิ้นเครื่องยนต์ เพื่อรับไอดีเข้าไปเผาไหม้และถ่ายไอเสียออกตาม จังหวะที่ถูกต้อง.
  15. ลูกประคบ : น. ผ้าห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ ใช้อังไฟนาบหรือ กดคลึงตามร่างกายตรงบริเวณที่ปวดหรือโนเป็นต้น.
  16. ลูกประคำ : น. ไม้หรือแก้วเป็นต้นที่ทําเป็นเม็ดกลมมีรูตรงกลางร้อย ด้วยด้ายหรือไหม ส่วนมากมี ๑๐๘ ลูก สําหรับนักบวชมีฤษีเป็นต้น ใช้สวมคอเพื่อกําหนดนับการบริกรรมภาวนา คือเมื่อบริกรรมภาวนา จบครั้งหนึ่ง ๆ ก็รูดไว้เม็ดหนึ่ง, เครื่องประดับที่ทําเช่นนั้น.
  17. ลูกประหล่ำ : น. เครื่องประดับข้อมือ มักทําเป็นลูกกลม ๆ หรือเป็น กลีบอย่างลูกมะยม หรือเป็นเหลี่ยมเป็นต้น สลักเป็นลวดลาย เดิมมี สีแดง ๆ, ปะวะหลํ่า ก็ว่า.
  18. ลูกปราย : น. ลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ สําหรับยัดใส่ในลํากล้อง ปืนครั้งละหลายลูก เมื่อยิงไปครั้งหนึ่ง ๆ ลูกจะกระจายไป, กระสุน ปืนชนิดที่มีลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ หลาย ๆ ลูกผสมปนอยู่กับ ดินปืนในนัดเดียวกัน เวลายิงจะกระจายออก เช่น ปืนลูกซองใช้ กระสุนลูกปราย.
  19. ลูกปัด : น. เม็ดแก้วเป็นต้นมีรูตรงกลางสําหรับร้อยเป็นเครื่องประดับ ต่าง ๆ.
  20. ลูกผักชี : น. ชื่อเรียกผลของผักชี กลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องเทศ.
  21. ลูกพรวน : น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, กระพรวน พรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  22. ลูกพริก : น. เครื่องประดับรูปคล้ายเมล็ดพริก ทำด้วยทอง เงิน นาก หรืองา เป็นต้น สําหรับร้อยคาดเอวเด็กผู้ชาย.
  23. ลูกพลู : น. เครื่องประดับเครื่องแต่งตัวของช้างห้อยเป็นระย้าเรียง เป็นแถวลงมา มักทำด้วยทองเหลืองหรือเงินกะไหล่.
  24. ลูกไฟ : น. ส่วนที่แยกออกจากวัตถุกําลังลุกเป็นไฟแล้วกระเด็น หรือกระจายออกไปเป็นดวงไฟน้อย ๆ จํานวนมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ลูกไฟพะเนียง ลูกไฟจากปล่องเรือโยง ลูกไฟจากเตาถ่าน.
  25. ลูกล้อ ๒ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทํานองซํ้าอย่างเดียวกัน และ ทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใดหรือจะมี เพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  26. ลูกหนู ๓ : น. เครื่องมือช่างชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับตัดและขัดกระเบื้อง ปูพื้น.
  27. ลูกหม่อ : น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกกะแอ หรือ ลูกแหง่ ก็เรียก.
  28. ลูกหีบ : น. เครื่องหีบอ้อยรูปกลมเป็นเฟืองอย่างเครื่องจักร; สิ่งซึ่ง มีลักษณะคล้ายหีบใช้สําหรับรองก้าวขึ้นก้าวลงอย่างขั้นบันได.
  29. ลูกแหง่ : น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ ลูกกะแอ ก็ว่า; เด็กตัวเล็ก ๆ; (ปาก) เหรียญกระษาปณ์อัน เล็ก ๆ; โดยปริยายหมายถึงคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้น หรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ.
  30. เล้ง : (ปาก) ก. ขึ้นเสียงดัง เช่น เมื่อเช้าถูกเจ้านายเล้ง.
  31. เล็งระดับ : ก. ใช้เครื่องมือวัดหาความเที่ยงและความเสมอกันทั้ง ทางนอนและทางดิ่ง.
  32. เลเซอร์ : (ฟิสิกส์) น. เครื่องซึ่งแปลงลําแสงที่ผ่านเข้าไปให้ออกมาเป็นลําแสง สีเดียวที่อัดรวมกันจนมีขนาดลําแสงแคบอย่างยิ่ง และมีความเข้ม สูงมาก, เรียกลําแสงที่ได้ออกมาลักษณะเช่นนี้ว่า ลําแสงเลเซอร์. (อ. laser).
  33. เล็ดงา : น. ชื่อลายผ้านุ่ง ลักษณะเป็นดอกเล็ก ๆ สีขาวขนาดเท่า เมล็ดงากระจายอยู่บนผ้าพื้นสีเข้ม.
  34. เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
  35. เล่นคำ : ก. ใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำ หรือซ้ำอักษรให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ ยิ่งขึ้น เช่น ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสาสู่กระสัง รังเรียงรังรังนาน. (ลอ).
  36. เล่นงาน : ก. กระทำเอา (มักใช้ในทางไม่ดี เช่นถูกดุด่าว่ากล่าว ทำร้าย เป็นต้น) เช่น ไข้ป่าเล่นงานเสียงอมแงม เจ้านายเล่นงาน ลูกน้องแต่เช้า ถูกเขาเล่นงานจนอาน.
  37. เล็บนาง : น. เครื่องสวมปลายนิ้วมือให้ดูเป็นเล็บยาวงอนในเวลา ฟ้อนรํา.
  38. เลป–, เลปน์ : [เลปะ–, เลบ] น. การไล้, การทา, เครื่องลูบไล้ เช่น เฉวียงสายพรรณ รายสูตรวิภุสนพัตรมาลัยเลปน์กามา ตระศัก. (เสือโค). (ป., ส.).
  39. เลวง : [ละเวง] ว. ฟุ้งไป; เสียงอื้ออึง.
  40. เลา ๓ : ลักษณนามเรียกเครื่องเป่าที่มีลักษณะยาวตรงและกลมอย่างปี่ ขลุ่ย เช่น ปี่เลาหนึ่ง ขลุ่ย ๒ เลา.
  41. เลียน : ก. เอาอย่าง, ทําหรือพยายามทําให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับแบบอย่าง, เช่น พูดเลียนเสียงเด็กร้องเลียนเสียงนก; ชั่งโดยเอาเงินตราเป็นเกณฑ์ นํ้าหนัก.
  42. เลี่ยมพระ : ก. ใช้โลหะหุ้มพระเครื่องเพื่อกันไม่ให้แตกหรือชำรุด.
  43. เลือกตั้ง : ก. เลือกสรรบุคคลให้เป็นผู้แทนหรือให้ดํารงตําแหน่ง ด้วยการออกเสียงลงคะแนน เช่น เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกตั้งกรรมการ.
  44. เลื่องลือ : ก. รู้กันกระฉ่อนทั่วไป เช่น ชื่อเสียงเลื่องลือ ความสามารถ เป็นที่เลื่องลือ.
  45. เลือดเย็น ๑ : ว. มีใจเหี้ยมสามารถทำลายชีวิตหรือชื่อเสียงผู้อื่นได้ โดยไม่รู้สึกหวั่นไหว เช่น ฆ่าอย่างเลือดเย็น.
  46. เลื่อย : น. เครื่องมือสําหรับตัด มีหลายชนิด ใบเลื่อยทําด้วยเหล็กกล้า ด้าน ที่ใช้เลื่อยมีคมเป็นฟันจัก ๆ. ก. ตัดด้วยเลื่อย.
  47. เลื่อยฉลุ : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิด หนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ? ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลาย ตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบน ขนาดเล็ก.
  48. เลื่อยชักไม้ : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ มีขนาดใหญ่ ใบเลื่อยมี ลักษณะเป็นปื้นหรือแถบยาวติดกับปลายขาคันเลื่อยทั้งคู่ มีไม้ยาว ที่เรียกว่า อกเลื่อย ยันอยู่ตรงกลาง ปลายขาคันเลื่อยด้านตรงข้าม มีเชือกคล้องรั้งและบิดเพื่อขึงใบเลื่อยให้ตึง ใช้คนชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน.
  49. เลื่อยโซ่ : น. เครื่องมือสำหรับตัด ซอยไม้ หรือโค่นต้นไม้ ใบเลื่อย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันคล้ายสายโซ่เคลื่อนที่หมุนเวียนบน คานแบน ๆ ด้วยกำลังมอเตอร์.
  50. เลื่อยตะขาบ : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแผ่นแบนยาว ท้องเลื่อยหย่อนโค้ง ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างทำ เป็นบ้อง สำหรับสอดไม้ท่อนกลม ๆ เพื่อใช้จับชักใบเลื่อย ใช้คน ชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน, เลื่อยยมบาล ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | [1951-2000] | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.1257 sec)