Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 2151-2200
  1. สัญญาณ : น. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทําตามที่ บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็น สัญญาณให้พระลงโบสถ์.
  2. สัญญาณจราจร : (กฎ) น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น.
  3. สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).
  4. สัด ๑ : น. ภาชนะรูปทรงกระบอก ทําด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตวงข้าว; เครื่องตวงบางชนิดในสมัยโบราณ ใช้ตวงดินปืนบรรจุปากกระบอก ปืน; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๕ ทะนาน เป็น ๑ สัด มีอัตราเท่ากับ ๑ ถัง หรือ ๒๐ ลิตร.
  5. สัทวิทยา : [สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษา โดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).
  6. สัทศาสตร์ : [สัดทะ] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติของการออกเสียงและ การเปล่งเสียงพูด. (อ. phonetics).
  7. สัทอักษร : [สัดทะอักสอน] น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียง ประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. (อ. phonetic alphabet).
  8. สันทาน : น. สายป่าน, เชือก, เครื่องผูกพัน. (ป., ส.).
  9. สันธาน : น. การเกี่ยวข้อง, การเป็นเพื่อน; เครื่องพัวพัน; (ไว) คําพวกที่เชื่อม ประโยคให้เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เขาชอบสีเหลือง แต่ฉันชอบสีแดง น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก. (ป., ส.).
  10. สัปทน : [สับปะทน] น. (โบ) ร่มทำด้วยผ้ามีระบายรอบ คันยาว เป็นเครื่อง แสดงยศขุนนางโบราณชั้นสูงกว่าพระยา; ร่มขนาดใหญ่ทำด้วยผ้า หรือแพรสีต่าง ๆ มีระบายรอบ มีด้ามยาว ใช้กั้นนาค ผ้าไตร หรือ พระพุทธรูป เป็นต้น.
  11. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  12. สัมผัสใน : น. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มีได้ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร เช่น (รูปภาพ ถึงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา). (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวม ถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข. (ตะเลงพ่าย).
  13. สัมผัสสระ : น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตรา เดียวกัน เช่น (รูปภาพ อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ. (เพลงยาวถวาย โอวาท), คนใจจืดชืดชื้อเหมือนชื่อบาง ควรตีห่างเหินกันจนวันตาย). (นิ. วัดสิงห์).
  14. สัมผัสอักษร : น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
  15. สัมภาระ : [สำพาระ] น. สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และเสบียงซึ่ง สะสมรวบรวมหรือจัดเตรียมไว้เพื่อภาระต่าง ๆ เช่น เตรียมสัมภาระ สำหรับไปต่างจังหวัด; การเกื้อหนุน, การเลี้ยงดู. (ป., ส.).
  16. สาก ๑ : น. เครื่องมือสําหรับตําอย่างหนึ่ง, คู่กับ ครก.
  17. สากล : ว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคํา ''ระหว่างประเทศ'' ก็มี เช่น สภา กาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).
  18. สาคูไส้หมู : น. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยสาคูเม็ดเล็กนวดน้ำร้อน ให้ดิบ ๆ สุก ๆ ปั้นเป็นก้อน มีเนื้อหมูเป็นต้นสับผัดกับเครื่องปรุงทำ เป็นไส้ แล้วนึ่ง.
  19. : พยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นําอักษรตํ่าที่เป็น อักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.
  20. หงส์แล่น : น. เครื่องประดับสันหลังคาหรือส่วนฐานของอาคาร ทำด้วยปูน ไม้ หรือหิน เป็นรูปหงส์เรียงกันเป็นแถว.
  21. หงส-, หงส์ ๑ : [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูล สูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดิน ของหงส์. (ป., ส. หํส).
  22. หง่อง ๆ : ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึง เดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
  23. หงับ ๆ : ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงโดยไม่มีเสียง เช่น ทำปากหงับ ๆ, อาการที่ เคี้ยวของ เช่น เคี้ยวขนมหงับ ๆ.
  24. หง่าง : ว. เสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  25. หง่าว : ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียก ว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.
  26. หงิง ๆ : ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
  27. หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ : ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ.
  28. หงุบหงับ : ว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยว อาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  29. หญ้าฝรั่น : [-ฝะหฺรั่น] น. ชื่อเรียกยอดเกสรเพศเมียแห้งของไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Crocus sativus L. ในวงศ์ Iridaceae ใช้ทํายาและเครื่องหอม. (อาหรับ za'faran; อ. saffron).
  30. หนวก : [หฺนวก] ว. อาการที่หูขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง.
  31. หนวกหู : ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉัน หนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรําคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.
  32. หนอ : [หฺนอ] อ. คําออกเสียงแสดงความรําพึง เช่น ชีวิตนี้ไม่เที่ยงหนอ น่าอนาถจริงหนอ.
  33. หนังเงียบ : (ปาก) น. ภาพยนตร์ที่ไม่มีเสียงในฟิล์ม.
  34. หนังเรียด : น. หนังที่ทําเป็นเส้นแบน ๆ เล็ก ๆ สําหรับใช้โยงเร่งเสียง โดย สอดเข้าไปกับไส้ละมานที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของตะโพน เปิงมาง กลองสองหน้า เป็นต้น มักร้อยถี่จนมองแทบไม่เห็นตัวหุ่นกลอง ถ้าเร่งหนังเรียดให้ตึงขึ้นเท่าใด หน้ากลองก็ตึงยิ่งขึ้นเท่านั้น.
  35. หนังสติ๊ก : น. เครื่องยิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยแถบยางผูกติดกับสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ ยิงด้วยลูกกระสุนที่ตามปรกติเป็นลูกดินปั้นกลม ๆ.
  36. หนังสือ : น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียน หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมาย ที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.
  37. หนับ : ว. มาก เช่น เหนียวหนับ, มีเสียงดังอย่างดึงของเหนียวจนขาดหรือปล่อย เช่น ดึงหนังสติ๊กดังหนับ.
  38. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  39. หน้ากาก : น. เครื่องบังใบหน้าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  40. หน้าจั่ว : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สําหรับกันลมและ แดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน คู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว.
  41. หน้าฉาก : (สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก.
  42. หน้าตา : น. เค้าหน้า เช่น เด็กคนนี้หน้าตาเหมือนแม่; เกียรติยศชื่อเสียง เช่น นักกีฬาไปแข่งขันชนะเลิศในต่างประเทศก็เป็นหน้าตาให้กับประเทศ ของตน.
  43. หน้าไม้ : น. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก; เครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและ ราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้.
  44. หน้าแว่น : น. เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือ ทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, แว่น ก็เรียก, เรียก ขนมปังกรอบที่มีรูปเช่นนั้นว่า ขนมปังหน้าแว่น; ผิวดินที่กระเทาะเป็น แผ่นบาง ๆ.
  45. หนุบ, หนุบ ๆ : ว. ลักษณะอาการตอด, อาการที่เจ็บในกายรู้สึกเต้นกระเทือนแต่น้อย ๆ; อาการที่ติดแน่นอยู่แล้วดึงออกมามีเสียงดังเช่นนั้น.
  46. หมดกัน : คําออกเสียงแสดงความเสียดายหรือผิดหวังเป็นต้น.
  47. หมวก : [หฺมวก] น. เครื่องสวมศีรษะมีรูปต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องประดับหรือกันแดด กันฝนเป็นต้น.
  48. หมวกหนีบ : น. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาด รูปทรง คล้ายซองจดหมายอย่างยาว.
  49. หมวกหูกระต่าย : น. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทําด้วยผ้าหรือสักหลาด สีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวก สําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง. (รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)
  50. หมอง : [หฺมอง] ว. ขุ่น, มัว, เช่น เครื่องแก้วหมอง เครื่องเงินหมอง, ไม่ผ่องใส, ไม่แจ่มใส, เช่น หน้าหมอง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | [2151-2200] | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.0675 sec)