Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 2251-2300
  1. หัวขวาน ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Picidae ไต่ตามต้นไม้ โดยใช้ปากเจาะต้นไม้เพื่อหากิน แมลง ขนหางแข็งช่วยพยุงตัวขณะไต่ต้นไม้ในแนวตั้ง เจาะต้นไม้เสียงดัง มาก ทํารังในโพรงไม้ สีสวย มีหลายชนิด เช่น หัวขวานสี่นิ้วหลังทอง (Chrysocolaptes lucidus) หัวขวานสีตาล (Celeus brachyurus).
  2. หัวคะแนน : (ปาก) น. ผู้รับหาคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง.
  3. หัวเทียน : น. เดือยหัวเสาสําหรับรับขื่อ; กลอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ซึ่งทํา หน้าที่ให้ประกายไฟฟ้าในการจุดระเบิด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ไอเชื้อเพลิง ผสมอากาศภายในกระบอกสูบ.
  4. หัวร่อ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวร่อ ก็มี.
  5. หัวเราะ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคํา หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี.
  6. หัวแร้ง : น. เหล็กที่ปลายมีลักษณะคล้ายหัวของนกแร้ง ใช้เผาไฟให้ร้อนจัด แล้วจี้ตะกั่วบัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ติดกัน, เครื่องมือไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เมื่อ ทำให้ปลายร้อนจัดด้วยกระแสไฟฟ้า ใช้จี้ตะกั่ว บัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ ติดกัน เรียกว่า หัวแร้งไฟฟ้า.
  7. หา ๒ : ว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.
  8. ห่า ๒ : (โบ) น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาด กลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง; โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มา หรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน.
  9. หางกังหัน : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า หางกังหัน ใช้แทนเสียง สระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
  10. หางเสือ : น. เครื่องถือท้ายเรือ, จะกูด จังกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก.
  11. หางหงส์ ๑ : น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรํา; เรียก เครื่องประดับที่ทําเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลาย ตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย.
  12. ห้ามสมุทร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยา ห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี.
  13. ห้าว : ว. แก่จัด ในคำว่า มะพร้าวห้าว; กล้าทางมุทะลุ เช่น คนห้าวมักไม่กลัวตาย; มีเสียงใหญ่.
  14. หินปากนก : น. หินเหล็กไฟที่ใช้ติดกับปลายเครื่องสับของปืนโบราณบาง ชนิดเพื่อสับแก๊ปปืนให้เกิดประกายไฟ, ศิลาปากนก ก็เรียก.
  15. หีบฝ้าย : ก. บีบเค้นเมล็ดออกจากปุยฝ้าย. น. เรียกเครื่องมือบีบเค้นเมล็ด ออกจากปุยฝ้ายว่า เครื่องหีบฝ้าย.
  16. หึ่ง ๑ : ว. อาการที่กลิ่นกระจายไป (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เหม็นหึ่ง ได้กลิ่นหึ่ง มาแต่ไกล.
  17. หึ, หึ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  18. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  19. หุ่นขี้ผึ้ง : น. หุ่นที่ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นต้น มักทำเป็นรูปคนที่มีชื่อเสียง สวม ใส่เสื้อผ้า มองดูคล้ายคนจริง ๆ.
  20. หุ้มแผลง : [-แผฺลง] น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือ แผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟัน ประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน.
  21. หุยฮา : ว. เสียงหัวเราะเยาะเย้ย (มักใช้ในการละเล่น).
  22. หูก : น. เครื่องทอแบบพื้นเมือง.
  23. หูกระต่าย : น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูก เป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วย ผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรือ อันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหิน ที่ กระทง๑). (รูปภาพ เงื่อนหูกระต่าย) (รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)
  24. หูกะพง : น. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก (?) ใช้ผูก ตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.
  25. หูช้าง ๑ : น. แผ่นกระดานที่ทําเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสําหรับติดกับ มุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือ พลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สําหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.
  26. หูดับ : ว. อาการของหูที่อื้อไปพักหนึ่งเนื่องจากได้ยินเสียงดังมาก.
  27. หูดับตับไหม้ : ว. ลักษณะเสียงที่ดังมากจนกลบเสียงอื่น.
  28. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  29. หูฝาด, หูเฝื่อน : ก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป.
  30. หูยาน : น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่ง มีติ่งหูยาวมากผิดปรกติ.
  31. หูแว่ว : ก. ได้ยินเสียงแผ่ว ๆ ไม่ชัดเจน; ได้ยินไปเอง.
  32. หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
  33. หูหนวก : น. หูที่ขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง, โดยปริยายหมายความ ว่า ฟังอะไรไม่ได้ยิน.
  34. หูไห : น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่งด้านหลังมีหูสําหรับร้อยเชือกผูกคอช้างศึก ม้าศึก.
  35. หูอื้อ : ว. อาการที่รู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในหูทำให้ไม่ค่อยได้ยินเสียง.
  36. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  37. เหง่ง : [เหฺง่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  38. เหติ : น. อาวุธ, เครื่องรบ. (ป., ส.).
  39. เหน่ง ๒ : [เหฺน่ง] ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงระนาดเป็นต้น.
  40. เหน่อ : [เหฺน่อ] ว. มีเสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสําเนียงมาตรฐาน.
  41. เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า : น. ปรากฏการณ์ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเนื่อง จากอํานาจแม่เหล็ก, เรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอํานาจแม่เหล็ก ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนํา,เรียกเครื่องมือสําเร็จที่ใช้สําหรับเปลี่ยนศักย์ ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้นมาก ๆ โดยอาศัยอํานาจแม่เหล็กว่า ขดลวดเหนี่ยวนํา.
  42. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  43. เหม่ง ๒ : ว. มีเสียงดังเช่นนั้น.
  44. เหม่, เหม่ ๆ : [เหฺม่] (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. ว. เสียงดังเช่นนั้น แสดงความโกรธ.
  45. เหมียว ๑ : น. คำใช้เรียกแทนคำว่า แมว ตามเสียงร้องของมันในคำว่า อ้ายเหมียว อีเหมียว.
  46. เหมียว ๒, เหมียว ๆ : ว. มีเสียงอย่างเสียงแมวร้อง, เสียงร้องเรียกแมว.
  47. เหมือด ๑ : [เหฺมือด] น. เครื่องกินกับขนมจีนนํ้าพริก มีหัวปลีซอยเป็นต้น. ว. ใช้ ประกอบกับคำ สลบ เป็น สลบเหมือด หมายความว่า สลบไสล, แน่นิ่งไม่ติงกาย.
  48. เหยื่อ : [เหฺยื่อ] น. อาหารที่ใช้ล่อสัตว์; เครื่องล่อ; ตัวรับเคราะห์ เช่น เหยื่อกระสุน.
  49. เหรอ, เหรอะ : (ปาก) คำที่มีเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า หรือ.
  50. เหลา ๒ : [เหฺลา] ก. ทําให้เกลี้ยงเกลาหรือให้แหลมด้วยเครื่องมือมีมีดเป็นต้น เช่น เหลาตอก เหลาดินสอ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | [2251-2300] | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.0749 sec)