Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 2301-2350
  1. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  2. เหะหะ : ว. มีเสียงอึกทึกอย่างคนเมาเหล้า.
  3. เห่า ๑ : ก. อาการส่งเสียงสั้น ๆ ของหมา.
  4. แห้ : ว. เสียงอย่างเสียงหมาคําราม, เขียนเป็น แฮ่ ก็มี.
  5. แห ๑ : น. ชื่อเครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่าย ใช้ทอดแผ่ลงในนํ้าแล้วค่อย ๆ ดึงขึ้นมา.
  6. แหกปาก : (ปาก) ก. ตะเบ็งเสียง.
  7. แหง่ : [แหฺง่] น. เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกแหง่, ลูกกะแอ ก็ว่า; เรียกเด็กตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, (ปาก) เรียกเหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, โดยปริยายเรียกคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้นหรือยัง ทําอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่.
  8. แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
  9. แหม่ : [แหฺม่] ว. เสียงขู่เด็กเล็ก ๆ ให้กลัว.
  10. แหม ๒ : [แหฺม] ว. เสียงที่เปล่งออกมาให้รู้สึกว่าเป็นการแปลกเป็นต้น.
  11. แหมะ ๒, แหมะ ๆ : [แหฺมะ] ว. เสียงดังอย่างเสียงน้ำหยด.
  12. แหลน : [แหฺลน] น. เครื่องมือใช้แทงปลาเป็นต้น ทําด้วยเหล็กกลมยาว ปลายแหลม มีด้ามยาว; ชื่อเครื่องกีฬาชนิดหนึ่ง มีลักษณะกลมยาว ปลายแหลม ใช้พุ่ง ในการแข่งขันกรีฑาประเภทลาน.
  13. แหลม : [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดิน หรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
  14. แหว : [แหฺว] ว. ลักษณะของเสียงดังที่แสดงอาการดุ. ก. แผดเสียงดุ.
  15. แหวน : [แหฺวน] น. เครื่องประดับสําหรับสวมนิ้วทําด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, เรียก สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นวงว่า วงแหวน เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
  16. แหะ, แหะ ๆ : ว. เสียงคนหัวเราะมีเสียงเช่นนั้น. ก. ทำเสียงดังเช่นนั้น เช่น เขาไม่พูดอะไร ได้แต่แหะ ๆ.
  17. โห่ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนําเพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทําเสียงเช่นนั้น; โดยปริยาย หมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
  18. โหน่ง : [โหฺน่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงตีฆ้องวง.
  19. โหม่ง ๑ : [โหฺม่ง] ก. เอาหัวรับหรือกระแทกลูกตะกร้อหรือฟุตบอลเป็นต้น, โดย ปริยายหมายถึงอาการที่สิ่งหนึ่งตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง เช่น หัวโหม่งพื้นเครื่องบินโหม่งโลก.
  20. โหม่ง ๒ : [โหฺม่ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ฆ้องคู่. ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง.
  21. โหย่ง ๒, โหย่ง ๆ : [โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตน สูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้า ที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.
  22. โหยหวน : ว. ลักษณะของเสียงที่คร่ำครวญด้วยความเสียใจหรือเจ็บปวด เป็นต้น ทำให้รู้สึกวังเวงใจ.
  23. โหวกเหวก : [โหฺวกเหฺวก] ว. มีเสียงดังเอะอะโวยวาย เช่น เรียกกันโหวกเหวก ตะโกน โหวกเหวก.
  24. โหวด ๒ : [โหฺวด] (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าชนิดหนึ่งของภาคอีสาน.
  25. โหวต : [โหฺวด] (ปาก) ก. ออกเสียงลงคะแนน. (อ. vote).
  26. ไหม ๑ : น. ชื่อผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ตัวอ้วนป้อมมีขนสี ขาวและสีครีมคลุมเต็ม ปีกมีลายเส้นสีนํ้าตาลอ่อนพาดตามขวางหลายเส้น ตัวหนอนสีขาวหรือสีครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายเขาที่ปลายหาง กินใบหม่อนได้อย่างเดียว เมื่อโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้ ซึ่งใยนี้สามารถ สาวเป็นเส้นไหมนํามาทอเป็นเสื้อผ้าได้, ใยของสัตว์ชนิดนี้ก็เรียกว่า ไหม; เรียกเครื่องนุ่งห่มที่ทอด้วยไหมว่า ผ้าไหม.
  27. อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  28. อกไก่ ๒ : น. ไม้เครื่องบนที่พาดเบื้องบนเป็นสันหลังคาเหนือใบดั้ง.
  29. องค์ประกอบ : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่ง ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, ส่วนประกอบ ก็เรียก
  30. องศา : น. หน่วยในการวัดขนาดของมุม โดยกําหนดให้มุมที่รองรับโค้ง ๑ ใน ๓๖๐ ส่วนของเส้นรอบวง มีขนาด ๑ องศา และ ๙๐ องศา เป็น ๑ มุมฉาก; หน่วยในการวัดอุณหภูมิตามชนิดของเครื่องวัด; (โหร) น. ส่วนหนึ่งของจักรราศี คือ วงกลมในท้องฟ้า แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒ ราศี และแบ่ง ๑ ราศีออกเป็น ๓๐ องศา ฉะนั้นวงกลมจึงเท่ากับ ๓๖๐ องศา. (ส. อํศ).
  31. อนิจกรรม : น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือ ทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
  32. อนุสรณ์ : น. เครื่องระลึก, ที่ระลึก. ก. ระลึก, คำนึงถึง. (ป. อนุสฺสรณ).
  33. อบ : ก. ปรุงกลิ่นด้วยควันหรือรมด้วยกลิ่นในที่ที่ควันหรือกลิ่นกระจาย ออกไปไม่ได้; ทําให้ร้อนหรือสุกด้วยไอนํ้าหรือไอไฟในที่ที่ความ ร้อนออกไม่ได้; อากาศถ่ายเทไม่ได้.
  34. อปยศ, อัปยศ : [อะปะยด, อับปะยด] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอายขายหน้า. (ส.).
  35. อภิรุต : น. เสียง, เสียงร้อง. (ป., ส.).
  36. อภิรุม : น. ฉัตรเครื่องสูงอย่างหนึ่ง ใช้ในกระบวนแห่ของหลวง หรือปัก เป็นเครื่องประดับเกียรติยศ, โบราณเขียนเป็น อภิรม ก็มี.
  37. อภิเลปน์ : น. การลูบไล้; เครื่องลูบไล้, ของหอม. (ป.).
  38. อมฤต, อมฤต : [อะมะริด, รึด, ริดตะ, รึดตะ] น. นํ้าทิพย์ เรียกว่า นํ้าอมฤต; เครื่องทิพย์. (ส.; ป. อมต).
  39. อรรธสระ : [อัดทะสะหฺระ] น. เสียงกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ.
  40. อลังการ : น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่องประดับ. ว. งาม ด้วยเครื่องประดับตกแต่ง. (ป., ส.).
  41. อ้วก : ก. ราก, อาเจียน. ว. เสียงราก, เสียงอาเจียน.
  42. อวเคราะห์ : [อะวะเคฺราะ] น. อุปสรรค, เครื่องกีดขวาง; ความเหนี่ยวรั้ง. (ส. อวคฺรห; ป. อวคฺคห).
  43. อวน : น. ชื่อเครื่องจับปลา มีหลายชนิด ถักเป็นตาข่ายผืนยาว ใช้ล้อมจับปลา.
  44. อวนลอย : น. อวนชนิดที่ไม่มีเครื่องถ่วง ใช้ผูกมุมขอบบนของอวน กับเรือ อีกมุมหนึ่งผูกกับทุ่น ปล่อยให้อวนลอยไป, กัดวาง ก็เรียก.
  45. อสัญกรรม : น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.
  46. ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่า และออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ออกยักษ์ เป็น ออกยักษ์ ออกโขน.
  47. ออกงิ้ว : ก. แสดงอาการโกรธโดยทําท่าทางและส่งเสียงเอะอะตึงตัง อย่างเล่นงิ้ว.
  48. ออกยักษ์ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่าง เล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.
  49. ออด ๒, ออด ๆ : ว. ไม่หยุดหย่อน (มักใช้แก่กริยาบ่น); เสียงดังเช่นเสียงของแข็ง ๆ เสียดสีกัน.
  50. อ๊อดแอ๊ด, อ๊อด ๆ แอ๊ด ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงเปิดปิดประตูที่บานพับฝืดเป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | [2301-2350] | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.0956 sec)