Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 2401-2450
  1. อึก ๒ : น. ลักษณนามเรียกอาการกลืนของเหลวหรือเสียงทุบแผ่นหลังด้วย กำปั้นครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ดื่มน้ำ ๓ อึก เขาถูกทุบไป ๓ อึก.
  2. อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
  3. อึ่งยาง, อึ่งอ่าง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาว ประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน ร้อง เสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ ชนิด K. pulchra และอึ่งอ่างหลังขีด (K. mediolineata).
  4. อึงอล : ว. ดังลั่น เช่น เสียงคลื่นลมอึงอล.
  5. อื้อ : ว. อาการที่รู้สึกมีเสียงดังอยู่ในหู, ไม่ได้ยิน; (ปาก) มาก เช่น รวยอื้อ บ่นกันอื้อ.
  6. อุก ๑ : น. ชื่อเรียกปลากดหลายชนิดในวงศ์ Ariidae ซึ่งเมื่อถูกจับขึ้นมา พ้นนํ้าจะร้องเสียงอุก ๆ.
  7. อุณหภูมิ : [อุนหะพูม] น. ระดับความสูงต่ำของความร้อน นิยมวัด ได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์.
  8. อุดเตา : น. เตารีด, เครื่องทำด้วยโลหะ สำหรับรีดผ้าให้เรียบโดยอาศัย ความร้อนเช่นถ่าน หรือ ไฟฟ้า.
  9. อุตสาหกรรมศิลป์ : [อุดสาหะกําสิน] น. วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิด ความชํานาญในการประดิษฐ์และเกิดความคุ้นเคยกับการใช้ เครื่องมือและเครื่องกล.
  10. อุทาน ๑ : น. เสียงหรือคําที่เปล่งออกมาเวลาตกใจ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น; ในไวยากรณ์เรียกคําหรือเสียงที่เปล่งออกมาเช่นนั้นว่า คําอุทาน. (ป., ส.).
  11. อุปกิเลส : [อุปะกิเหฺลด] น. เครื่องทําใจให้เศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง มี อภิชฌาวิสมโลภ เป็นต้น. (ป. อุปกฺกิเลส).
  12. อุปพันธ์ : [อุปะ, อุบปะ] น. การติดต่อ, การร่วม; เยื่อใย, เครื่องผูกพัน. (ป., ส.).
  13. อุปโภค : [อุปะโพก, อุบปะโพก] ก. เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์, คู่กับ บริโภค. ว. ที่เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในคำว่า เครื่องอุปโภค. (ป., ส.).
  14. อุปริวัสน์ : น. เครื่องแต่งกายตอนบน, เสื้อ. (ป. อุปริวสน).
  15. อุปฮาด : [อุปะ, อุบปะ] น. (โบ; ถิ่นอีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองใน ภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้ว ผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่นพายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจาก ตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.
  16. อุ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจ มักเป็นเสียงผู้หญิง.
  17. อุรัจฉทะ, อุรัจฉัท : [อุรัดฉะทะ, อุรัดฉัด] น. เครื่องกําบังอก, เกราะ; เครื่องประดับอก. (ป.; ส. อุรศฺฉท).
  18. อุลกมณี : [อุนละกะมะนี] น. อุกกาบาตที่นำมาเจียระไนทำเป็นเครื่อง ประดับ เชื่อว่าเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง.
  19. อุลโลจ : [อุนโลด] น. เครื่องกั้นข้างบน, เพดาน. (ป., ส.).
  20. อุแว้ : ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ) เช่น เด็กคนนี้ พออุแว้ออกมาก็มีเงิน เป็นล้านแล้ว, แว้ ก็ว่า. ว. เสียงอย่างเสียงเด็กแดง ๆ ร้อง เช่น เสียงลูกร้องอุแว้, แว้ ก็ว่า.
  21. อุสุ : น. ธนู, หน้าไม้, เครื่องยิง. (ป.; ส. อิษ).
  22. อู้ ๑ : ว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สาย ชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนัง แพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรือ งา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.
  23. อู้อี้ : ว. มีเสียงไม่ชัดเจนอย่างเสียงคนจมูกบี้หรือคนบ่น.
  24. อู๋อี๋ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงชักคันซอ.
  25. เอกโทษ : [เอกโทด] น. คําที่เคยใช้ไม้โทโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ ไม้เอกเสียงเดียวกันในบทร้อยกรองประเภทโคลงที่บังคับใช้ไม้เอก เช่น เข้า เป็น เค่า, ถ้า เป็น ท่า.
  26. เอก, เอก : [เอกะ, เอกกะ] ว. หนึ่ง (จํานวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้น หรือขั้นของยศ ตําแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สําคัญ เช่น ตัวเอก; เรียก ระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง ๒ อันสําหรับตี ว่า ระนาดเอก. (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). (ป., ส.).
  27. เอ๋ง : ว. เสียงอย่างเสียงหมาร้องเมื่อถูกตีเป็นต้น.
  28. เอ็ด ๒ : ก. ทําเสียงดัง, ดุ, ดุเสียงดัง; แพร่งพราย; มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่าเอ็ดไป. ว. เอะอะ, อึกทึก.
  29. เอ็ดตะโร : ก. ทําเสียงอึกทึกครึกโครม, ดุด้วยเสียงดังลั่น. ว. อึกทึกครึกโครม.
  30. เอ่ย ๒ : ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. ว. คําออกเสียงใช้ในความเพื่อให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย.
  31. เอะอะ : ก. อึกทึก, ทําเสียงดังโวยวาย; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น เอะอะก็ไป เอะอะก็ด่า, อึกอัก ก็ว่า.
  32. เอะอะมะเทิ่ง : (ปาก) ก. ส่งเสียงดัง, เอ็ดตะโรโดยไม่เกรงใจผู้อื่น.
  33. เอาชื่อ : ว. มุ่งให้ได้ชื่อเสียง เช่น ทำงานเอาชื่อ.
  34. เอียง : ว. อาการของสิ่งที่เอนไปข้างหนึ่ง เช่น คอเอียง, อาการของสิ่งที่เสีย ระดับ ไม่ว่าจะในแนวนอนหรือแนวยืนก็ตาม เช่น เรือเอียง เรือน เอียง. ก. เปลี่ยนระดับไม่ว่าจะในแนวนอนหรือแนวยืนก็ตาม เช่น เครื่องบินกำลังเอียงปีกเพื่อร่อนลง เขาเอียงคอดู.
  35. เอียด ๒, เอี๊ยด : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  36. เอื๊อก : ว. เสียงดังในคออย่างเสียงดื่มน้ำแรง ๆ เช่น กลืนน้ำลายดังเอื๊อก.
  37. เอื้อน ๒ : ก. ออกเสียงขับร้องให้เลื่อนไหลกลมกลืนไปตามทำนองตอนที่ไม่มี เนื้อร้อง, ยืดหรือลากเสียงออกไปให้เข้ากับจังหวะของทํานองเพลง.
  38. แอด, แอด ๆ, แอ๊ด, แอ๊ด ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเปิดหรือปิดประตูฝืด ๆ.
  39. แอโนด : น. แผ่นหรือแท่งตัวนําที่โยงต่อกับขั้วบวกของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่. (อ. anode).
  40. แอมมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับวัดค่าของกระแสไฟฟ้าเป็นแอมแปร์. (อ. ammeter).
  41. โอ๋ : อ. คําที่เปล่งออกมาเป็นเสียงเช่นนั้นเพื่อปลอบเด็ก. ก. ตามใจ, เอาอกเอาใจ.
  42. โอ้ ๒ : ว. เสียงดัง, เปิดเผย, (ใช้แก่กริยาคุย).
  43. โอ ๓ : น. ภาชนะเครื่องเขินอย่างหนึ่งสําหรับใส่ของ รูปคล้ายขัน มีขนาด ต่าง ๆ, ต่อมาได้อนุโลมเรียกขันเคลือบทรงสูงว่า ขันโอ.
  44. โอ้ก : ก. อาเจียน. ว. เสียงอย่างเสียงอาเจียน.
  45. โอ๊ก ๑ : ว. เสียงอย่างเสียงไก่ร้อง; อาการที่แสดงว่าเหลืออดเหลือทน เช่น ของแพงจนคนร้องโอ๊ก.
  46. โอ๊ก ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Quercus วงศ์ Fagaceae เนื้อไม้ ใช้ทําเครื่องเรือน. (อ. oak).
  47. โอ้กอ้าก : ว. เสียงอย่างเสียงอาเจียนติดต่อกัน, โดยปริยายหมายถึง อาการของผู้หญิงที่แพ้ท้องหรืออาการของผู้ที่จะเป็นลม.
  48. โอชะ, โอชา : ว. มีรสดี, อร่อย. น. รสที่ซึมซาบ, เครื่องหรือสิ่งบํารุงเลี้ยงให้เกิด ความเจริญงอกงาม. (ป.).
  49. โอษฐชะ : (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจาก ริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับ สระอุ อู. (ป. โอฏฺ?ช; ส. โอษฺ?ฺย).
  50. โอสถ, โอสถ : [โอสด, โอสดถะ] น. ยาแก้โรค, ยารักษาโรค; เครื่องยา; ใน ราชาศัพท์ใช้ตลอดจนถึงยาสูบและบุหรี่ เช่น พระโอสถเส้น พระโอสถมวน. (ป. โอสถ, โอสธ; ส. เอาษธ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | [2401-2450] | 2451-2455

(0.0679 sec)