Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 51-100
  1. เครื่องบิน : น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ ลอยตัวอยู่ได้ ด้วยการให้พลังงานกลแก่อากาศโดยรอบก่อให้เกิดแรงพยุงขึ้นโต้ตอบ กับความโน้มถ่วงของโลกและใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน.
  2. เครื่องบูชา : น. สิ่งที่ใช้บูชาของไทย ใช้ของ ๔ อย่างเป็นสําคัญ คือ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน.
  3. เครื่องปรุงรส : น. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
  4. เครื่องมั่น : น. สัปคับช้างชนิดที่มีศัสตราวุธทั้ง ๒ ข้าง.
  5. เครื่องร่ำ : น. สิ่งที่ใช้อบให้มีกลิ่นหอม เช่น กํายาน.
  6. เครื่องเล่น : น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทํานองตลกขบขัน หรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช.
  7. เครื่องว่าง : (ราชา) น. ของว่าง, ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย.
  8. เครื่องสะดุ้ง : (โบ) น. นาคสะดุ้ง.
  9. เครื่องสังเค็ด : น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัด ถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ.
  10. เครื่องสุกำศพ : น. สิ่งของที่ใช้ในการทําสุกําศพ มีผ้าขาว ด้ายดิบ กระดาษฟาง นํ้ายาฟอร์มาลิน.
  11. เครื่องหลัง : น. สัมภาระที่ทหารหรือนักเดินทางเป็นต้นนําติดตัวไป โดยผูกรัดไว้ข้างหลัง.
  12. เครื่องอังทราย : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถาดบรรจุ ทราย ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยวิธีตั้งสิ่งนั้น บนถาดทราย แล้วเผาก้นถาดให้ร้อนจัด. (อ. sand bath).
  13. เครื่องอังน้ำ : (วิทยา) น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหม้อต้มนํ้า ทําด้วยโลหะ มีฝาเป็นแผ่นวงแหวนขนาดต่างกันหลาย ๆ วงวางซ้อน เหลื่อมกัน ใช้สําหรับส่งถ่ายความร้อนให้แก่สิ่งใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดย วิธีตั้งสิ่งนั้นบนช่องว่างของแผ่นฝา แล้วต้มนํ้าให้ร้อนเพื่อให้ไอนํ้าร้อน ส่งถ่ายความร้อนให้สิ่งนั้น. (อ. water bath).
  14. กระดิ่ง : น. เครื่องทําเสียงสัญญาณทําด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สําหรับทําให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน.
  15. กระดึง : น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.
  16. กริ่ง ๑ : [กฺริ่ง] น. เครื่องบอกสัญญาณมีเสียงดังเช่นนั้น; เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ข้างในกลวง มีก้อนโลหะ คลอนเขย่าดังกริ่ง ๆ ว่า พระกริ่ง.
  17. กองหนุน : น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  18. กุก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหกลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
  19. กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
  20. เก็บ ๒ : น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
  21. ขึ้นสาย : ก. เทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีสาย.
  22. ฆ้อง : น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็น แผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลม ตรงกลางสําหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
  23. ฆ้องโหม่ง : น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ ในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลา กลางวันเป็นสัญญาณบอก ''โมง'' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลา กลางคืนบอก ''ทุ่ม''.
  24. จ้องหน่อง : น. เครื่องทําให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วย เชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี.
  25. จะเข้ ๑ : น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาว ไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีด ทําให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว.
  26. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  27. ซ่า ๓ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น; เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
  28. ไซเรน : น. เครื่องส่งสัญญาณเสียงเพื่อเตือนภัย บอกหมดภัย หรือเตือนให้ ยวดยานอื่นหลีกทางให้ เป็นต้น; เสียงที่เกิดจากเครื่องเตือนภัย เรียก เสียงไซเรน. (อ. siren).
  29. ฐานกรณ์ : [ถานกอน] (ไว) น. ที่ตั้งและเครื่องทําให้เกิดเสียงในการพูด.
  30. ดนตรี : น. เสียงที่ประกอบกันเป็นทํานองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทําให้ รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตาม ทํานองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
  31. ดอกลำโพง : น. เครื่องช่วยในการขยายเสียง รูปเหมือนดอกลําโพง, เรียก สั้น ๆ ว่า ลําโพง.
  32. ดารา : น. ดาว, ดวงดาว; เรียกบุคคลที่แสดงนําหรือมีชื่อเสียงในศิลปะการแสดงใน ทางใดทางหนึ่ง เช่น ดาราภาพยนตร์; เครื่องประกอบราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ ชั้นทวีติยาภรณ์ขึ้นไป มีลักษณะเป็นดาวรัศมี ๘ แฉกบ้าง ๑๖ แฉกบ้าง, ถ้าเป็นดาราจักรี ก็ทําเป็นรูปจักร ๑๐ กลีบ. (ป., ส. ตารา).
  33. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  34. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  35. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  36. ถ่ายทอด : ก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่น หรือสถานที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่า นําเรื่องที่รู้ไปเล่าต่อ.
  37. ทัณฑฆาต : [ทันทะ-] น. ชื่อเครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการ ออกเสียง มีรูปดังนี้ ?.
  38. โทรทัศน์ : น. กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่ดังกล่าวว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่ได้รับจากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับเป็นคลื่นเสียงและภาพ ตามเดิมว่า เครื่องรับโทรทัศน์. (อ. television).
  39. โทรศัพท์ : น. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็น เครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนํา โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอํานาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสําคัญ. (อ. telephone), คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียน ย่อว่า โทร. ออกเสียงว่า [โท]. (ปาก) ก. พูดติดต่อกันทางโทรศัพท์.
  40. นกหวีด : น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังหวีด.
  41. โน้ต ๑, โน้ตเพลง : น. เครื่องหมายกําหนดเสียงดนตรี. (อ. note).
  42. ประทัด ๑ : น. เครื่องดอกไม้ไฟของจีน ทําด้วยกระดาษสีแดงอัดแน่นห่อดินปืน รูปร่างคล้ายบุหรี่ มีชนวนสําหรับจุด มีเสียงดัง, ลักษณนามว่า ดอก เช่น ประทัด ๒ ดอก.
  43. เป่า : ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทําให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียง โดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทําให้สิ่งที่อยู่ในลํากล้องเช่นกล้องเป่า เป็นต้น ออกจากลํากล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
  44. โปง ๒ : (ถิ่น) น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูก กระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้ แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, กระดึง ก็ว่า.
  45. โปงลาง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อนไม้กลม ผูกร้อยเรียงกันตามลําดับขนาดและลําดับเสียงเช่นเดียวกับระนาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า.
  46. เพลี้ย ๒ : น. ชื่อเครื่องดีดฟังเสียงชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่คล้ายจ้องหน่อง แต่จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเพลี้ยใช้ดีด, เพี้ย ก็ว่า.
  47. เพี้ย ๒ : น. ชื่อเครื่องดีดฟังเสียงชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่คล้ายจ้องหน่อง แต่จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเพี้ยใช้ดีด, เพลี้ย ก็ว่า.
  48. ไม้ ๒ : น. ชื่อเครื่องหมายกํากับตัวอักษร เพื่อบอกระดับเสียง เช่น ? เรียกว่า ไม้จัตวา, เพื่อบอกชนิดสระ เช่น ไ เรียกว่า ไม้มลาย, เพื่อให้อ่านซํ้า คือ ๆ เรียกว่า ไม้ยมก, หรือเพื่อไม่ให้ออกเสียงอ่าน คือ ?เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต.
  49. ไมโครโฟน : [-โคฺร-] น. เครื่องที่ใช้สําหรับขยายเสียงให้ดังขึ้น, เครื่องที่ใช้สําหรับเปลี่ยน คลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นในการส่งวิทยุ โทรศัพท์, มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า ไมค์. (อ. microphone).
  50. ไม้ทัณฑฆาต : น. เครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรตัวที่ไม่ต้องออกเสียง รูปดังนี้ ?.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.0734 sec)