Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องกระจายเสียง, เครื่อง, กระจาย, เสียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องกระจายเสียง, 2455 found, display 651-700
  1. ขึ้นหน้าขึ้นตา : ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
  2. ขื่อ : น. ชื่อไม้เครื่องบนสําหรับยึดหัวเสาด้านขวาง; เครื่องจองจํานักโทษ ทําด้วยไม้มีช่องสําหรับสอดมือหรือเท้าแล้วมีลิ่มตอกกำกับกันขื่อหลุด; เรียกกระดูกเชิงกรานที่ขวางอยู่ด้านหน้า.
  3. ขื่อขวาง, ขื่อคัด : น. ขื่อที่ ๒ อยู่ใต้ขื่อเดิม อยู่ในพวกเครื่องเรือน.
  4. ขุก ๒, ขุก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ขลุก หรือ ขลุก ๆ ก็ว่า.
  5. ขุดเพ็ด : น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, ปลัดขิก ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก ก็เรียก, ถ้าใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า เรียกว่า ดอกไม้เจ้า, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
  6. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  7. ขู่เข็ญ : ก. ทําให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่น ต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือ ทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
  8. เขน ๑ : น. เครื่องปิดป้องศัสตราวุธ รูปกลมคล้ายกระทะ ทำด้วยโลหะ ด้านหลัง มีห่วงสำหรับสอดแขนและมือจับ มักใช้คู่กับดาบหรือหอก.
  9. เขบ็ต : [ขะเบ็ด] น. ชื่อตัวหมายเสียงอย่างหนึ่งที่ใช้บันทึกเสียงดนตรีสากลมี ๔ ชนิด คือ เขบ็ตชั้นเดียว เขบ็ต ๒ ชั้น เขบ็ต ๓ ชั้น และเขบ็ต ๔ ชั้น.
  10. เข็ม ๑ : น. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง คล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา; ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่น ที่มีลักษณะเช่นนั้นสําหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เสาเข็ม ก็ว่า; เครื่องประดับสําหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม; โดย ปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต.
  11. เข็มกลัด : น. เครื่องประดับสําหรับกลัดสไบและเสื้อเป็นต้น, เข็มซ่อนปลาย.
  12. เข็มขัด : น. เครื่องคาดเอวชนิดหนึ่ง, สายรัดเอว.
  13. เข็มขัดนิรภัย : น. เข็มขัดที่ติดอยู่ที่นั่งในรถยนต์หรือเครื่องบินเพื่อ ป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารถูกเหวี่ยงกระเด็นจากที่นั่งเมื่อมีอุบัติเหตุ.
  14. เข็มทิศ : น. ชื่อเครื่องชี้บอกทิศ มีเข็มเป็นแม่เหล็กซึ่งปลายข้างหนึ่ง ชี้ไปทางเหนือเสมอ.
  15. เขย้อแขย่ง : [ขะเย่อขะแหฺย่ง] ก. ตะเกียกตะกายจะให้ตัวสูงขึ้น, ออกเสียงว่า ขะเย้อขะแหย่ง ก็มี.
  16. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  17. เขิง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานสําหรับร่อนสิ่งของหรือช้อนกุ้งปลาเป็นต้น มีลักษณะเป็นรูปกลม ก้นลึก ช่องตาถี่, ภาคกลางเรียกว่า ตะแกรง.
  18. เขิน ๑ : น. ชื่อคนไทยใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า; เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วย รักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทยเขิน ซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
  19. เขี่ย : ก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือ วาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือ เป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.
  20. เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
  21. แขกเต้า : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดําลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดํา ลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดํา อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียง อื่น ๆ บางอย่างได้.
  22. แขนนาง ๒ : น. เครื่องค้ำยันชายคาเรือนเครื่องสับ ทำด้วยไม้หรือเหล็ก.
  23. แขวน ๒ : [แขฺวน] น. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับจันทัน ระเบียง, ค้างคาว หรือ โตงเตง ก็เรียก.
  24. แขวนลอย : (เคมี) น. ภาวะที่อนุภาคซึ่งมีขนาดจํากัดแผ่กระจายอยู่ในของไหลหรือ ของแข็งโดยไม่ละลายหรือสลายตัวรวมเป็นเนื้อเดียวกับของไหลหรือ ของแข็งนั้น, สารที่อยู่ในภาวะเช่นนี้เรียกว่า สารแขวนลอย เช่น ฝุ่นใน อากาศ หยดนํ้าเล็ก ๆ ในแก๊ส. (อ. suspension).
  25. โขลก, โขลก ๆ : [โขฺลก] ก. ตําให้เข้ากัน หรือให้เหนียว หรือให้แหลก. ว. เสียงดังเช่น นั้น เช่น เสียงไอโขลก ๆ.
  26. ไขควง : น. ชื่อเหล็กเครื่องมือมีด้าม ทางปลายแบนหรือเป็นแฉก ๆ สําหรับไขตะปูควง.
  27. ไข่มุก : น. วัตถุมีค่า มักมีลักษณะกลม ๆ เกิดจากหอยบางชนิด ที่รู้จักกันทั่วไป มีสีขาวที่เป็นสีขาวอมชมพูหรือสีดำก็มี ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ.
  28. คชาธาร : น. ช้างทรง, ช้างพระที่นั่ง; เครื่องแต่งหลังช้างชนิดหนึ่ง มี ๓ อย่าง คือ ๑. พระคชาธารเครื่องมั่น สําหรับใช้ในการสงคราม. ๒. พระคชาธารพุดตานทอง สำหรับผูกช้างพระที่นั่งทรงซึ่งใช้ในกระบวน อิสริยยศ. ๓. พระคชาธารกาญจนฉันท์ สําหรับผูกหลังช้าง ประดิษฐาน พระชัยวัฒน์. (ป. คช + อาธาร).
  29. คชาภรณ์ : น. เครื่องประดับช้าง. (ป. คช + อาภรณ).
  30. คน ๒ : ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นกวนเพื่อทําสิ่งที่นอนก้นหรือที่เกาะกันอยู่ เป็นกลุ่มเป็นก้อนให้กระจายขยายตัว หรือกวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน.
  31. ครก : [คฺรก] น. เครื่องใช้ที่มีลักษณะอย่างหลุมสําหรับตําหรือโขลกด้วยสาก, เครื่องใช้ที่ทําด้วยไม้ทั้งท่อนขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ขุดเนื้อในออกให้เป็นหลุมลึก สําหรับตําหรือซ้อมข้าวเป็นต้นด้วยสาก หรือตะลุมพุก เรียกว่า ครกซ้อมมือ, ถ้าใช้ตําด้วยกระเดื่อง เรียกว่า ครก กระเดื่อง; เรียกขนมที่ทําด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะ ที่ทําเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ ว่า ขนมครก; ชื่อปืนใหญ่ขนาดสั้นใช้สําหรับยิง โดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก, เครื่องยิงลูกระเบิด มีลํากล้องขนาดใหญ่และสั้น ผิวลํากล้องเป็นเกลียวหรือเรียบก็ได้ บรรจุลูกระเบิดทางปากกระบอก ใช้สําหรับยิงลูกระเบิดโดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก.
  32. ครบมือ : ว. มีอยู่ครบในครอบครอง (ใช้แก่อาวุธและคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มีอาวุธครบมือ; มีเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง พร้อมเพรียง เช่น ช่างไม้มีอุปกรณ์ครบมือ.
  33. ครรชิต : [คันชิด] (แบบ) ก. คํารน, บันลือเสียง, เอิกเกริก, กึกก้อง, กระหึม, เช่น ครรชิตฤทธิ์ราวี. (ลอ). (ส. ครฺชิต; ป. คชฺชิต).
  34. ครอก ๓ : [คฺรอก] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงกรนของคนที่หลับ.
  35. ครอบ ๑ : [คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงําไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสําหรับครอบ พระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ด ทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.
  36. ครัว ๒ : [คฺรัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้าขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้องจะได้รับทรัพย์มรดก มากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.
  37. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  38. คราด ๑ : [คฺราด] น. เครื่องมือทําไร่ทํานาใช้วัวหรือควายลาก ลักษณะเป็นคาน มีซี่ห่าง ๆ กัน มีคันชักสําหรับลากขี้หญ้าและทําให้ดินที่ไถแล้วซุย, เครื่องมือสําหรับชักหรือลากขี้หญ้าหรือหยากเยื่อเป็นต้น ทําเป็นซี่ ๆ มีด้ามสําหรับจับชักหรือลากไป. ก. ชักหรือลากขี้หญ้าเป็นต้นด้วยคราดนั้น.
  39. ครึน : [คฺรึน] น. ชื่อเครื่องดักนกและไก่ทําเป็นบ่วง, ครืน ก็เรียก.
  40. ครึ้ม : [คฺรึ้ม] ว. มืดมัว เช่น อากาศครึ้ม; ร่มและเย็น เช่น ป่าครึ้ม; ดกและงาม (ใช้แก่หนวด); ทําให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม. ก. กริ่ม, กระหยิ่ม, ร่าเริงในใจ, เช่น ครึ้มใจ.
  41. ครืด ๒ : [คฺรืด] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงลากสิ่งของครูดไป หรือเสียงกรน.
  42. ครืดคราด ๑ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหายใจไม่สะดวก.
  43. ครืน ๒ : [คฺรืน] ว. เสียงดังลั่นเช่นฟ้าร้อง.
  44. ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
  45. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  46. ครุย : [คฺรุย] น. ชายผ้าที่ทําเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า; ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวม หรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.
  47. คลอ : [คฺลอ] ก. เคียงคู่กันไปอย่างคู่รักหรืออย่างสนิทสนม; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาคลอ หรือ น้ำตาคลอหน่วย; ทําเสียงดนตรีหรือร้องเพลง เบา ๆ ตามไปให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เช่น ร้องคลอเสียงดนตรี.
  48. คล้องจอง : ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้อง อยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.
  49. คลั่ก ๒, คลั่ก ๆ : [คฺลั่ก] ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น หม้อข้าวเดือดคลั่ก ๆ.
  50. คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2455

(0.0751 sec)