Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ช่างเพชรพลอย, เพชร, พลอย, ช่าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ช่างเพชรพลอย, 249 found, display 201-249
  1. ลูกหนู ๓ : น. เครื่องมือช่างชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับตัดและขัดกระเบื้อง ปูพื้น.
  2. ลูกหลง : น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้าง อยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่น ซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มี เจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไป หมอบกับพื้นเวที.
  3. เลปกร : [เลปะกอน] น. ช่างอิฐ, ช่างปูน. (ป.).
  4. เลื่อยทำทอง : น. เครื่องมือช่างทอง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นเส้นลวด แบน ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็ก เป็นรูปอย่างนี้ ? คล้ายคันเลื่อยฉลุ แต่สั้นกว่าและทำด้วยเหล็ก แข็งกว่า.
  5. แล้วไป : (ปาก) ก. เสร็จสิ้นไป, ช่างปะไร, (มักพูดแสดงความไม่พอใจ) เช่น ไม่ทำก็แล้วไปให้กินแล้วไม่กินก็แล้วไป.
  6. วัชรยาน : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญา สูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มี ใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. (ส.).
  7. วัชราสน์ : น. ท่านั่งขัดสมาธิเพชร. (ส.).
  8. วับ ๆ, วับวาบ, วับวาม, วับแวบ : ว. ระยับตา เป็นอาการของแสง หรือเงาที่ปรากฏแล้วหายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น แสงเพชรเป็นประกายวับ ๆ.
  9. ว่าจ้าง : ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
  10. วาจาล : (แบบ) ว. ช่างพูด. (ป., ส.).
  11. วาววาม : ว. เป็นแสงวูบวาบ เช่น แสงเพชรวาววาม.
  12. วาวแวว : ว. มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน เช่น แหวนเพชรวงนี้มีน้ำ วาวแวว, แวววาม หรือ แวววาว ก็ว่า.
  13. วิชา : น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  14. วิชาชีพ : น. วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์.
  15. วิศวกรรม : [วิดสะวะกํา] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชํานาญในการช่าง ทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนําความรู้ทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.
  16. เวณะ : น. ช่างจักสาน. (ป.; ส. ไวณ).
  17. แวว : ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้ แกะสลักปิดทอง.
  18. แวววาม, แวววาว : ก. มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน เช่น เพชรเม็ดนี้ มีน้ำงาม มีแสงแวววาว, วาวแวว ก็ว่า.
  19. ศิโรรัตน์ : น. เพชรประดับหัว. (ส.).
  20. ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  21. ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
  22. สถบดี : [สะถะบอดี] (แบบ) น. ช่างก่อสร้าง, ช่างไม้. (ส. สฺถปติ; ป. ถปติ).
  23. สนับ ๑ : [สะหฺนับ] น. เสื้อ; เครื่องสวม; เครื่องรองอย่างเครื่องรองมือของ ช่างเย็บเพื่อกันเข็มแทงมือเป็นต้น. ก. ทาบ, ซ้อน, เช่นหญ้าที่โทรม ทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก เรียกว่า ตกสนับ.
  24. สร่ง ๑ : [สะหฺร่ง] น. วิธีฝังเพชรเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลาลงไปบนพื้นที่ทําให้ โปร่ง, ถ้าแกะแรให้ผิวเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูเหมือนฝังเพชร เรียกว่า ตัดสร่ง.
  25. สลับ : [สะหฺลับ] ว. คั่นเป็นลําดับ เช่น เขียวสลับแดง ผู้หญิงผู้ชายนั่งสลับกัน สร้อยทับทิมสลับเพชร; สับเปลี่ยน เช่น สลับคู่.
  26. สว่างไสว : [สะหฺว่างสะไหฺว] ว. สว่างรุ่งเรืองทั่วไป เช่น บริเวณงานมี แสงไฟสว่างไสว, โดยปริยายหมายความว่า มีความสุข เช่น โลกนี้ช่าง สว่างไสวเหลือเกิน เดี๋ยวนี้ฉันหมดหนี้สินแล้ว ชีวิตฉันจึงสว่างไสวขึ้น.
  27. สอดรู้, สอดรู้สอดเห็น : ก. เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.
  28. สัชฌ, สัชฌะ, สัชฌุ : น. เงิน. (ป.). สัชฌกร, สัชฌการ, สัชฌุกร, สัชฌุการ น. ช่างเงิน. (ป.).
  29. หน้าเป็น : ว. อาการที่ทำหน้ายิ้มหรือหัวเราะอยู่เรื่อย ๆ, ช่างหัวเราะ.
  30. หนามเขียะ : (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระบองเพชร. (ดู กระบองเพชร๒).
  31. หมอแคน : น. ผู้มีความชำนาญในการเป่าแคน, อีสานเรียก ช่างแคน.
  32. หมาก ๓ : น. เรียกสิ่งของที่เป็นหน่วยเป็นลูกว่า หมาก เช่น หมากเก็บ หมากรุก; (โบ) ลักษณนามเรียกของที่เป็นเม็ดเป็นลูกว่า หมาก เช่น แสงสิบหมาก ว่า พลอยสิบเม็ด.
  33. หลุด : ก. ออกจากที่ที่ติดอยู่ เช่น พลอยหลุดจากหัวแหวน, พ้นจากความควบคุม อยู่ เช่น หลุดจากที่คุมขัง; (กฎ) ขาดกรรมสิทธิ์ เช่น เอาทรัพย์จํานําหลุด เป็นสิทธิ.
  34. หัตถกรรม : น. งานช่างที่ทำด้วยมือ โดยถือประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก. (ป. หตฺถ + ส. กรฺมนฺ; ป. หตฺถกมฺม).
  35. หัตถการ, หัตถกิจ : น. การทําด้วยฝีมือ, การช่าง.
  36. หางเลข : น. เครื่องหมายย่อแทนตัวเลขสําหรับทําเลขอย่างเก่า; (ปาก) เลข ท้ายสลากกินแบ่งที่ได้รางวัล, โดยปริยายหมายถึงพลอยถูกผู้ใหญ่ดุหรือ ตำหนิไปด้วย เช่น หัวหน้าถูกผู้ใหญ่ดุ ลูกน้องก็เลยพลอยถูกหางเลขไปด้วย.
  37. หาบมิได้, หาบ่มิได้ : [หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.
  38. หิรัณยการ : [หิรันยะกาน] น. ช่างทอง. (ส.).
  39. หุง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทําให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.
  40. เหลี่ยม ๑ : [เหฺลี่ยม] น. ด้านที่เป็นสัน; เส้นประกอบมุมของรูปที่มีด้านตั้งแต่ ๓ ด้าน ขึ้นไป; ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา, คู่กับ วง คือ ส่วนสัดของมือที่ใช้ ในการรํา. ว. เป็นสัน เช่น บวบเหลี่ยม เหลี่ยมเพชร เหลี่ยมเขา.
  41. แหวนหัว : น. แหวนที่ฝังพลอยเม็ดใหญ่เม็ดเดียวนูนขึ้น.
  42. อนุโมทนา : ก. ยินดีตาม, ยินดีด้วย, พลอยยินดี; เรียกคําให้ศีลให้พรของพระว่า คําอนุโมทนา. (ป., ส.).
  43. อนุโมทนาบัตร : น. บัตรที่แสดงความพลอยยินดีหรืออนุโมทนาต่อ บุญกุศลที่บุคคลนั้น ๆ ได้ทําแล้ว.
  44. อวบน้ำ : ว. มีเนื้อชุ่มนํ้า (ใช้แก่พืช) เช่น ต้นกระบองเพชรเป็นพืช ที่มีลําต้นอวบนํ้า.
  45. อิศวร : [อิสวน] น. ชื่อเรียกพระศิวะซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของพราหมณ์; ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช. (เพชรมงกุฎ). (ส. อีศฺวร).
  46. อุสุการ : น. ช่างทําธนู.
  47. เอออวย : ก. พลอยเห็นตามไปด้วย, เห็นดีด้วย.
  48. เออออ, เออออห่อหมก : ก. เห็นด้วย, พลอยเห็นตามไปด้วย, เช่น เขาก็เออออห่อหมกด้วย.
  49. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-249]

(0.0227 sec)