Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ช่างเพชรพลอย, เพชร, พลอย, ช่าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ช่างเพชรพลอย, 249 found, display 51-100
  1. นายว่าขี้ข้าพลอย : ( (สํา) ก. พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย.
  2. พล่อย : [พฺล่อย] ว. อาการที่พูดง่าย ๆ โดยไม่ตริตรอง.
  3. รู้น้อยพลอยรำคาญ : (สํา) ก. รู้น้อยไม่เข้าใจ ทําให้เกิดความรําคาญใจ, มักพูดเข้าคู่กับ รู้มากยากนาน เป็น รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรําคาญ.
  4. วชิร, วชิระ : [วะชิระ] น. สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์. (ป.; ส. วชฺร).
  5. วิเชียร : น. วชิระ, สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์.
  6. กบเต้นสลักเพชร : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บเรียมห่าง จางรักให้ใจเรียมหวน.
  7. กระทงเพชร : น. ไม้ติดขวางรองแคร่เกวียนเพื่อยึด ไม่ให้แคร่แยกออกไป.
  8. เขื่อนเพชร : น. ตึกแถวมีผนังหลังตันหันออกมาข้างนอกในพระราชฐาน เฉพาะตรงที่แบ่งข้างหน้ากับข้างในต่อกัน.
  9. ช้อยช่างรำ, ช้อยนางรำ : ดู กระช้อยนางรํา.
  10. ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ : (สํา) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ.
  11. ตกกระไดพลอยโจน : (สํา) จําเป็นที่จะต้องยอมเข้าไปเกี่ยว ข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีทางเลี่ยง.
  12. ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง : (สำ) ก. ไม่เอามาใส่ใจว่าจะเป็นอย่างไร.
  13. บ่างช่างยุ : (สํา) น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.
  14. ปูนเพชร : น. ปูนชนิดหนึ่ง ทําด้วยปูนขาวผสมทรายละเอียด นํ้ากาวหนัง และนํ้าเชื้อนํ้าตาล ใช้ปั้นรูปต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ลายกระหนก หัวนาค.
  15. ผีซ้ำด้ำพลอย : (สํา) ว. ถูกซํ้าเติมเมื่อพลาดพลั้งลงหรือเมื่อคราว เคราะห์ร้าย.
  16. ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย, ผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย : (สํา) น. คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทําความเสียหายได้.
  17. ลูกขุนพลอยพยัก : (สํา) น. ผู้ที่คอยว่าตามหรือเห็นด้วยกับผู้ใหญ่ เป็นเชิงประจบสอพลอเป็นต้น.
  18. สลักเพชร : น. ไม้หรือเหล็กสําหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบ เรือนไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และ เดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอด เดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัด แน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรง ตะโพกกับหัวกระดูกต้นขาทําให้ขากางออกได้.
  19. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  20. กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม : ว. มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม. (นิ. เพชร).
  21. เกรียด : [เกฺรียด] ว. เสียงเขียดร้อง เช่น เสียงกรอดเกรียดเขียดกบเข้าขบเคี้ยว. (นิ. เพชร).
  22. แก่นแก้ว : ว. ยิ่งในทางที่เลว, เก่งในทางซุกซนหรือในทางไม่สู้ดี. (ถิ่น-พายัพ) น. เพชร.
  23. คาร์บอน : น. ธาตุลําดับที่ ๖ สัญลักษณ์ C เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป เช่น เพชร แกรไฟต์ คาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุดธาตุหนึ่งของสิ่งที่มีชีวิต. (อ. carbon).
  24. เงี้ยว ๔ : ว. คด เช่น แล้วลวงล่องอเงี้ยว. (นิ. เพชร).
  25. นพรัตน์ : [นบพะ] น. แก้ว ๙ อย่าง คือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์, นวรัตน์ หรือ เนาวรัตน์ ก็ว่า. (ส.).
  26. นวรัตน์ : น. นพรัตน์, แก้ว ๙ อย่าง คือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์, เนาวรัตน์ ก็ว่า. (ส.).
  27. พชระ : [พดชะระ] (กลอน) น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  28. พัชระ : น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  29. พิเชียร : น. เพชร. (ป. วชิร; ส. วชฺร).
  30. เพชรายุธ : ดู เพชร, เพชร.
  31. ไพรำ ๒ : น. มณีอันมีค่า. (ทมิฬ ไพลํา ว่า เพชร).
  32. รัตนชาติ : น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงามคงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.
  33. อมรรัตน์ : [อะมอนระ] น. เพชร. (ส.).
  34. อัญรูป : [อันยะ] น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนําไป ทําปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบ อันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนําอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน.
  35. กบ ๔ : น. เครื่องมือช่างไม้สําหรับไสไม้ ทําหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็น ราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
  36. กรรมาร : [กํามาน] (แบบ) น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร; ป. กมฺมาร).
  37. กระช้อยนางรำ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codariocalyx motorius Ohashi ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบคู่ล่างเล็กกว่าและกระดิกไหวไปมาได้, ช้อยนางรํา ช้อยช่างรํา หรือ นางรํา ก็เรียก.
  38. กระซ่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น กระซ่างฟ้าเห็นกัน. (ม. คําหลวง สักบรรพ), กระช่าง ก็ว่า.
  39. กระต้อ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระต้อพลอดกิ่งพลับ. (เพชรมงกุฎ).
  40. กระทวย : น. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ).
  41. กระทุ่ม ๒ : ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ ร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
  42. กระเวน ๓ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลงจับทองยั้ว. (ลอ).
  43. กระแหนะ : [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือ วิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็น หัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
  44. กรัณฑ-, กรัณฑ์ : [กะรันทะ-, กะรัน] (แบบ) น. ตลับ, หีบ, หม้อ, เช่น รัตนกรัณฑ์ = ตลับเพชร. (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน. (ยวนพ่าย), กรัณฑขลังขังน้าทิพมุรธา ภิเษกท่าน. (ราชาภิเษก ร. ๗). (ดู กรณฑ์๑).
  45. กรีด ๓ : [กฺรีด] ก. ขีดให้เป็นรอยหรือให้ขาด เช่น เอากากเพชรกรีดกระจก เอามีดกรีดใบตองเย็บกระทง; ระไป, ครูดไป, เช่น เอาหลังเล็บ กรีดลูกทุเรียนเพื่อให้รู้ว่ากินได้หรือยัง; เอาคมมีดสะบัดบนของ แข็งเพื่อให้คม เช่น เอามีดกรีดหินเพื่อให้คม กรีดมีดบนปากชาม.
  46. กรุ ๒ : [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ.
  47. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  48. กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
  49. กลมกลืนกลอน : น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า แสนเสียดาย หายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).
  50. กองทัพ : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-249

(0.0239 sec)