Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเจ้า, เจ้า, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, เข้าเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเจ้า, 2541 found, display 1251-1300
  1. ปีกกา : น. รูปกองทัพที่ตั้งมีกองขวากองซ้ายคล้ายปีกกา; เครื่องหมาย รูปดังนี้ { } สําหรับควงข้อความเข้าด้วยกัน เรียกว่า วงเล็บปีกกา.
  2. ปึ่งชา : ว. ทําทีเฉยแสดงอาการคล้ายกับโกรธ, ปึ่ง ก็ว่า; วางท่าเฉยเมย อย่างไว้ยศ เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาหาน้อยไม่. (สังข์ทอง).
  3. ปุจฉา : [ปุดฉา] ก. ถาม เช่น ขอปุจฉาพระคุณเจ้า. (ป.).
  4. ปุบ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น ฉวยปุบ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปับ เป็น ปุบปับ.
  5. ปุ๊บ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปุ๊บ เปิดปุ๊บ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปั๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
  6. ปู่เจ้า : น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, เจ้าปู่ ก็ว่า; เทพารักษ์ เช่น เขาใส่สมญาเรา ปู่เจ้า. (ลอ).
  7. เปตอง : น. ชื่อกีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง มักเล่นในสนามที่เป็นดินแข็ง มี ผู้เล่นฝ่ายละไม่เกิน ๓ คน โยนลูกโลหะกลมซึ่งข้างในกลวง จํานวน ๑๒ ลูก ให้เข้าใกล้ลูกเป้าซึ่งเป็นลูกทรงกลมทําด้วย ไม้เนื้อแข็งให้มากที่สุด ฝ่ายที่ทําคะแนนถึงเกม คือ ๑๓ คะแนนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ. (ฝ. p?tanque).
  8. เป็น ๑ : ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
  9. เป็นกลาง : ว. ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น วางตัวเป็นกลาง.
  10. เป็นดั้งหน้า : (สํา) คอยออกหน้าป้องกัน เช่น รับเป็นดั้งหน้า เข้ามาแก้. (ไชยเชฐ).
  11. เป็นตัว : ว. เรียกข้าวสารเมล็ดงามไม่ค่อยหักว่า ข้าวเป็นตัว, เรียก ข้าวสวยหรือข้าวต้มที่ยังคงรูปเป็นเมล็ดอยู่ว่า ข้าวสวยเป็นตัว ข้าวต้มเป็นตัว; ข้าวสารหรือเมล็ดถั่วเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ จนมีตัวมอดว่า ข้าวเป็นตัว ถั่วเป็นตัว. ก. มีชีวิตอยู่ เช่น จะจาก เจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
  12. เป็นปี่เป็นขลุ่ย : ว. ถูกคอกัน, เข้ากันได้ดี, เช่น พูดเข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย.
  13. เป็นโล้เป็นพาย : ว. เอาการเอางาน, แข็งขัน, จริงจัง, ได้เรื่องได้ราว, เข้าท่าเข้าทางดี, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ทําไม่เป็นโล้เป็นพายเลย.
  14. เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
  15. เปรียบ : [เปฺรียบ] ก. เอาสิ่งหนึ่งเข้ามาเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เห็นว่าใกล้กัน เสมอกัน หรือผิดกัน, ถ้าเอามาเทียบกันดูแล้ว ฝ่ายที่มีภาษีกว่า เรียกว่า ได้เปรียบฝ่ายที่เป็นรอง เรียกว่า เสียเปรียบ, ถ้าจะเอาฝ่ายตนให้มีภาษี ข้างเดียว เรียกว่า เอาเปรียบ.
  16. เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
  17. เปลี่ยน : [เปฺลี่ยน] ก. แปรหรือกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม, เอาสิ่งหนึ่ง เข้าแทนอีกสิ่งหนึ่งโดยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น แลกเปลี่ยน ผลัดเปลี่ยน สับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง, ย้าย เช่น เปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนพรรค เปลี่ยน คลื่นวิทยุ.
  18. เปลี่ยนตัว : ก. เอาคนหนึ่งเข้าแทนอีกคนหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตัวผู้ต้องหา.
  19. เปา : น. ปม, ปุ่ม, มักใช้เข้าคู่กับคํา ปม เป็น ปมเปา.
  20. เปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจําเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนําพยาน เข้าสืบ.
  21. เปิดบริสุทธิ์ : ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจ โดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำ หน้าที่นี้.
  22. เปิดเปิง : ว. อาการที่ไปอย่างไม่มีที่หมาย ไม่มีทิศทาง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ เตลิด เป็น เตลิดเปิดเปิง เช่น วิ่งเตลิดเปิดเปิง.
  23. เปียก ๒ : ก. กวนสิ่งเช่นข้าวหรือแป้งเป็นต้นบนไฟให้สุก เช่น เปียก ข้าวเหนียว เปียกสาคู. ว. เรียกข้าวที่ต้มและกวนให้เละ หรือข้าว ที่ต้มกับน้ำกะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรส เค็ม ๆ มัน ๆ ว่า ข้าวเปียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แป้งเปียก สาคูเปียก, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้า ตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรย ถั่วทองคั่ว ว่า ขนมเปียก.
  24. เปียกปูน : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าว เผาให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มี ด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก โรยด้วยมะพร้าวขูด.
  25. แป : น. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือน ตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกําเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป ที่ เงิน).
  26. แป้งญวน : (โบ) น. แป้งข้าวเจ้า.
  27. แปด ๒ : ก. เปื้อน, มักพูดเข้าคู่กันเป็น แปดเปื้อน; ปน, ระคน, มักพูดเข้าคู่ กันเป็น แปดปน.
  28. แปม : ก. เปื้อน, กลั้ว, ระคน, มักพูดเข้าคู่กับคํา ปน เป็น แปมปน หรือ ปนแปม.
  29. แปลกปลอม : ว. มีสิ่งอื่นหรือพวกอื่นปนเข้ามา.
  30. โป ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันของจีน กลักทําด้วยทองเหลืองสี่เหลี่ยม มีลูกแดงขาวข้างในใช้ปั่น, ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือ เอาลิ้นโปใส่ลงในฝาครอบโป ไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโป แล้วตั้งให้แทง โดยยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาวตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับแทงเพียง ๔ ประตูคือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โปปั่น ก็เรียก.
  31. โป๊กเกอร์ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นเป็นกลุ่ม ๔ คน เจ้ามือ แจกไพ่ควํ่าคนละ ๕ ใบ ทุกคนมีสิทธิ์ขอเปลี่ยนไพ่ครั้งเดียว ผู้ใด ถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ. (อ. poker).
  32. โปปั่น : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือเอาลิ้นโปใส่ลงใน ฝาครอบโปไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโปแล้วตั้งให้แทง โดย ยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาว ตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับ แทงเพียง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โป ก็เรียก.
  33. โปรดสัตว์ได้บาป : (สํา) ก. ทําดีแต่กลับได้ชั่ว, มักพูดเข้าคู่กับ ทําคุณบูชาโทษ ว่า ทําคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป.
  34. โปโลน้ำ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นในน้ำ โดยมีผู้เล่นซึ่งเป็น นักว่ายน้ำฝ่ายละ ๗ คน พาลูกบอลด้วยการโยนหรือขว้าง ลูกบอลให้เข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม.
  35. โป๊ะ ๑ : น. ที่สำหรับดักปลาทะเล ทำด้วยเสาไม้จริงปักเป็นวง ใช้ไม้ไผ่ทำ เป็นเฝือกกรุข้างใน มีประตูตรงกลาง ข้างประตูโป๊ะใช้เสาไม้จริง ปักยาวเหยียดออกไปทั้ง ๒ ข้าง เพื่อกั้นปลาให้ว่ายเลียบเลาะมาเข้า โป๊ะ เรียกว่า ปีกโป๊ะ, ลักษณนามว่า ปาก หรือ ลูก; เรียกเรือสำหรับ จับปลาในโป๊ะว่า เรือโป๊ะ; ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า หรือให้คนขึ้นลง; เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ.
  36. ไป๋ : ว. ไถลไป, เฉไป, มักใช้เข้าคู่กับคํา เป๋ เป็น ไป๋เป๋ หรือ เป๋ไป๋.
  37. ไปยาล : น. เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคํา ที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่า มีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า ''ละ'', หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า ''ละถึง'', เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).
  38. ไปรษณีย-, ไปรษณีย์ : [ไปฺรสะนียะ-, ไปฺรสะนี] น. วิธีการส่งหนังสือและหีบห่อสิ่งของ เป็นต้นโดยมีองค์การที่ตั้งขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่รับส่ง. (ส. เปฺรษณีย).
  39. ผทม : [ผะทม] ก. นอน (ใช้แก่เจ้านาย), ประทม หรือ บรรทม ก็ใช้. (ข. ผฺทํ).
  40. ผนวก : [ผะหฺนวก] ก. เพิ่มเข้า, บวกเข้า, เช่น ผนวกดินแดน.
  41. ผนิด : [ผะหฺนิด] ก. ปิดให้แน่น เช่น พอเขียนหมดเข้าผนิดปิดตรา. (อิเหนา).
  42. ผลุด : [ผฺลุด] ก. หลุดเข้าหรือออกโดยเร็ว, มุดเข้าหรือออกโดยเร็ว.
  43. ผลุบ : [ผฺลุบ] ว. อาการที่ดําลง มุดลง หรือลับหายเข้าไปทันที เช่น นกผลุบเข้ารัง.
  44. ผวา : [ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัว เข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาด สะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.
  45. ผสม : [ผะ–] ก. รวมกันเข้า. (ข. ผฺสํ).
  46. ผสมเทียม : ก. ผสมพันธุ์ด้วยวิธีฉีดนํ้าอสุจิเข้าอวัยวะสืบพันธุ์ของ สตรีหรือสัตว์ตัวเมียโดยไม่ได้ร่วมสัมพันธ์ทางเพศกัน.
  47. ผ่อง ๒ : ก. ออกเสียงร้องว่า ''ผ่อง'' เมื่อเปิดไพ่ขึ้นมาเข้าตอง เป็นคําใช้ ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือจีน.
  48. ผัน ๒ : ก. หัน เช่น ผันหน้า, ผิน หรือ หิน ก็ว่า; ทำให้เปลี่ยนไปจากแนว หรือลักษณะเดิม เช่น ผันน้ำเข้านา.
  49. ผ้าชุบสรง : น. ผ้าผลัดอาบน้ำเจ้านายหรือพระสงฆ์.
  50. ผ้าใบเมี่ยง : น. ผ้าขาวใช้ห่อศพที่เข้าโกศ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2541

(0.1250 sec)