Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเจ้า, เจ้า, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, เข้าเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเจ้า, 2541 found, display 2251-2300
  1. กิจจานุกิจ : [กิดจานุกิด] น. การงานน้อยใหญ่ หมายเอาการงานทั่วไป. (ป.).
  2. เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
  3. เก้าอี้ : น. ที่สําหรับนั่ง มีขาและพนักพิง มักยกย้ายไปมาได้ มีหลายชนิด ถ้ามีรูปยาวใช้นอน เรียกว่าเก้าอี้นอน, ถ้าใช้โยกได้ เรียกว่า เก้าอี้โยก, ลักษณนามว่า ตัว. (จ.).
  4. เกียรติมุข : [เกียดมุก] น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกัน บ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครองนับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหิน บางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.
  5. แกลบ ๒ : [แกฺลบ] น. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงสาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาว ๑.๓-๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๕-๑๐ มิลลิเมตร ลําตัวแบน รูปไข่ ขอบหน้าด้านหลังของปล้องอกยื่นออกไปคลุมหัว หนวดยาว ขายาว มีหนามคลุมเต็ม บางชนิดอาศัยอยู่ตามขี้เลื่อย หรือกองแกลบ ที่ผุพัง เช่นชนิด Pycnocelis surinamensis ในวงศ์ Blaberidae แต่บางชนิดอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ตามกองกระดาษหรือเศษขยะมูลฝอย เช่น ชนิด Blattella germanica, Supella supellectilium ในวงศ์ Blattellidae.
  6. ไก่ป่า : น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาวอาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ ในประเทศไทย มี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว (G. g. gallus) และไก่ป่าติ่งหูแดง (G. g. spadiceus) ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.
  7. ไก่ฟ้า : น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Phasianidae ตัวโตขนาดไก่บ้าน ขาและปากแข็งแรงมาก ตัวผู้มีหางยาว สีสันสวยงามกว่าตัวเมีย บินเก่งแต่ในระยะทางสั้น ๆ ทํารังบนพื้นดิน กินเมล็ดพืช ผลไม้สุก และแมลง มีหลายชนิด เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว (Lophura nycthemera) พญาลอ หรือ ไก่ฟ้าพญาลอ (L. diardi).
  8. ขจอก : [ขะ-] ว. กระจอก, ง่อย, ขาเขยก. (ข. ขฺจก ว่า ขาเขยก, พิการ).
  9. ขจ่าง : [ขะ-] ก. กระจ่าง เช่น จวบแจ้งขจ่างจา มิกราจํารัสศรี. (สรรพสิทธิ์).
  10. ขวิด ๑ : [ขฺวิด] ก. กิริยาของหมูป่าหรือสัตว์ที่ใช้เขาหรือนอทําร้าย, เสี่ยว, ชน. ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.
  11. ข้อพับ : น. ส่วนของแขนหรือขาที่พับได้.
  12. ขังปล้อง : ว. ลักษณะกระบอกที่ตัดให้มีข้อติดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง โดยฝาน ข้าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างให้เป็นขาแล้วผ่าตลอดด้านหนึ่งเพื่อทําเป็นตะขาบเป็นต้น.
  13. ขัดตะหมาด : (ปาก) ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด.
  14. ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
  15. ขากบ : น. ขาของว่าวจุฬา.
  16. ขาก๊วย : น. กางเกงจีนขาสั้นแค่เข่า.
  17. ขากอม : [-กอม] ว. ขาโก่ง.
  18. ขาจร : [-จอน] น. ลูกค้าที่ไม่ใช่ขาประจำ.
  19. ขาพับ : น. ส่วนของขาที่พับได้อยู่หลังเข่า.
  20. ขาหมา : น. ไม้ ๒ อันที่ทำเป็นขาไขว้กัน ใช้วางบนหลังช้าง สำหรับนั่ง บรรทุกของ หรือลากไม้.
  21. ขาอ่อน : น. ส่วนหลังของขานับตั้งแต่โคนขาถึงขาพับ.
  22. ขี่ : ก. นั่งเอาขาคร่อม, โดยปริยายหมายถึงนั่งไปในยานพาหนะ.
  23. ขึงพืด : ก. จับให้นอนเหยียดยาวกางแขนกางขา.
  24. ขุนทอง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดําเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลือง ติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียน เสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคํา.
  25. เขยก : [ขะเหฺยก] ก. อาการที่เดินหรือวิ่งด้วยปลายเท้าอย่างคนเท้าเจ็บ, อาการ ที่เดินหรือวิ่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการ.
  26. เขี้ยวแก้ว : น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลาง เพดานปากของหนุมาน.
  27. แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
  28. แข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, หน้าแข้งก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์.
  29. แข้งสิงห์ : น. ส่วนหน้าของขาสิงห์ตรงที่เป็นสัน; เรียกการพันกระดาษ ซึ่งซอยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่ด้ามธงว่า พันแข้งสิงห์.
  30. แขนง ๑ : [ขะแหฺนง] น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลําของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อย ที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์.
  31. แขวก : [แขฺวก] น. ชื่อนกชนิด Nycticorax nycticorax ในวงศ์ Ardeidae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับนกยาง หัวค่อนข้างโต คอสั้น ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น ลําตัวส่วนบนสีเขียวอมเทา ท้ายทอยมีเปียสีขาว ๒-๓ เส้น ลําตัว ส่วนล่างสีขาว อยู่เป็นฝูง กินปลาและสัตว์เล็ก ๆ หากินในเวลากลางคืน.
  32. ไขว้ : [ไขฺว้] ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่ง ไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วย บิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้.
  33. ไขว่ห้าง : ว. อาการที่นั่งหรือนอนเอาขาพาดบนเข่าซึ่งตั้งชันอยู่.
  34. คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
  35. ครั่ง ๑ : [คฺรั่ง] น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Laccifer lacca ในวงศ์ Lacciferidae ตัวเมีย ไม่มีปีก เมื่อเป็นตัวอ่อนระยะแรกจะมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อ ลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา หยุดอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากพืชและ ผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นําไปใช้ทําประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง.
  36. คลาด : [คฺลาด] ก. เคลื่อนจากที่หมาย, เคลื่อนจากกําหนดเวลา; ไม่พบ ในคําว่า คลาดกัน.
  37. ความคลาด : (แสง) น. ลักษณะที่แสงหักเหออกจากผิวเลนส์ และลักษณะที่แสงสะท้อน ออกจากผิวโค้งของกระจกแล้วไม่ตัดร่วม ณ จุดเดียวกัน หรือลักษณะที่แสง ขาวผ่านเลนส์แล้วเกิดการกระจายออกเป็นสีต่าง ๆ; (ดารา) ความแตกต่าง ระหว่างตําแหน่งของดาวฤกษ์หรือเทห์ฟากฟ้าที่สังเกตเห็นกับตําแหน่งจริง ของมันในขณะนั้น. (อ. aberration).
  38. คันขา : ก. คานขา.
  39. คาง ๑ : น. ส่วนของร่างกายที่สุดขากรรไตร อยู่ใต้ปาก, ราชาศัพท์ว่า พระหนุ.
  40. ค้าง ๑ : ก. ตกลงมาหรือขึ้นไปติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ติดอยู่กลางทาง, ติดอยู่, เช่น เรือค้างแห้ง ค้างหนี้, ยังไม่แล้วเสร็จตามที่กําหนด เช่น ทํางานค้าง; เหลือกหรืออ้าแล้วเอาลงหรือหุบไม่ได้ เช่น ตาค้าง อ้าปากค้าง ขากรรไตร ค้าง; แรมคืน, ค้างคืน ก็ว่า. น. ไม้หลักสําหรับให้ไม้เถาขึ้นเกาะ เช่น ค้างพลู ค้างถั่ว.
  41. คีม : น. เครื่องมือชนิดหนึ่งมี ๒ ขาคล้ายกรรไตรสําหรับคีบของต่างมือ ทําด้วยเหล็กเป็นต้น.
  42. เครา : [เคฺรา] น. ขนที่ขึ้นตามแก้มหรือขากรรไตร, ราชาศัพท์ ว่า พระทาฐิกะ. (ทมิฬ เค-รา).
  43. เคล็ด ๒ : [เคฺล็ด] ก. อาการที่กล้ามเนื้อแพลง เช่น ขาเคล็ด คอเคล็ด.
  44. โคน ๑ : น. ส่วนข้างต้นของสิ่งที่ยาวกลม เช่น โคนไม้ โคนเสา โคนขา.
  45. ง่อย : ว. อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ. ง่อยเปลี้ยเสียขา ว. มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปรกติ.
  46. งา ๔ : น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือ ครีบก้น ลําตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียง ต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงินอมเหลืองส้ม.
  47. ง่าม ๒ : น. ชื่อมดขนาดเล็กชนิด Phidologeton diversus ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบ พวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒-๓ เท่าปะปนอยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหารหรืออาจพบในแปลงปลูกพืช.
  48. งู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes ลําตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย (Naja kaouthia) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม (Python reticulatus).
  49. จรรจา : [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
  50. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | [2251-2300] | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2541

(0.1379 sec)