Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเจ้า, เจ้า, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, เข้าเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเจ้า, 2541 found, display 601-650
  1. เกล้ากระหม่อม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  2. เกลียดตัวกินไข่ : (สํา) ก. เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา, มักใช้เข้าคู่กับ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ว่า เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง.
  3. เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง : (สํา) ก. เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ ผลประโยชน์จากเขา, มักใช้เข้าคู่กับ เกลียดตัวกินไข่ ว่า เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง.
  4. เกลียว : [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่อง อย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือก ที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียว ที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบ เข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
  5. เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  6. เกลือกรด : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่แปร สภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรด ถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่ไม่หมด เช่น โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต (NaHSO4). (อ. acid salt).
  7. เกลือปรกติ : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่ แปรสภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรดถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่จนหมดสิ้น เช่น โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4). (อ. normal salt).
  8. เกศากันต์ : ก. ตัดจุก, โกนจุก, (ใช้เฉพาะเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า).
  9. เกษม : [กะเสม] น. ความสุขสบาย, ความปลอดภัย, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น สุขเกษม เกษมศานต์. (โบ เขียนเป็นกระเษม, เขษม ก็มี). (ส.; ป. เขม).
  10. เก้อ : ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่ เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
  11. เกาะ ๒ : ก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา, เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้, โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อนบินเกาะหมู่ วิ่งเกาะกลุ่ม; ไปเอาตัวมาโดยอํานาจศาลเป็นต้น เช่น ไปเกาะตัวมา.
  12. เกิดสูรย์ : (ปาก) ก. เกิดสุริยุปราคา, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกิดจันทร์ เป็น เกิดสูรย์เกิดจันทร์.
  13. เกี้ยมอี๋ : น. ของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นตัว ๆ คล้ายลอดช่อง. (จ. ว่า เจียมอี๊).
  14. แกงได : น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
  15. แก่ตัว : ว. ย่างเข้าวัยแก่.
  16. แกนทราย : น. แกนที่ใช้ในการหล่อพระพุทธรูปหรืองานประติมากรรมไทย ด้วยวิธีสูญขี้ผึ้ง ทำด้วยทรายผสมดินเหนียว หมักให้ชุ่มและ เหยียบให้เข้ากันจนเหนียว จึงปั้นขึ้นเป็นรูปเลา ๆ เรียกว่า โกลน แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นเอาขี้ผึ้งพอกและปั้นส่วนผิวจนเป็นรูป ตามที่ต้องการ.
  17. โกกิล-, โกกิลา : [-ละ-] น. นกดุเหว่า เช่น โกกิลาหรือจะฝ่าเข้าฝูงหงส์. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป., ส.).
  18. ไกพัล : [ไกพัน] (กลอน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  19. ไก่สามอย่าง : น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนูเข้าด้วยก็ได้.
  20. ขจาย : [ขะ-] ก. กระจาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ขจร เป็น ขจรขจาย. (ข. ขฺจาย).
  21. ข้น : ว. ลักษณะของเหลวที่มีการรวมตัวกันแน่นเข้า, ไม่ใส; มีน้อย ลงไป, งวด.
  22. ข้นแค้น : ก. อัตคัด, ขัดสน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยากจน เป็น ยากจนข้นแค้น.
  23. ขนมเปียก : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อ และกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว.
  24. ขนมเปียกปูน : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผา ให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิและน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลง ใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาว เท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด ก็เรียก.
  25. ขนาบ : [ขะหฺนาบ] ก. ประกบเข้าให้แน่น เช่น เอาไม้ขนาบทั้งข้างล่างข้างบน หรือขนาบข้างเป็นต้น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีขนาบ, ติดชิดกันอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น ที่ดินขนาบคาบเกี่ยวกัน; (ปาก) ดุดันเอา เช่น ถูกขนาบ; โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับ ของถวายกันขนาบมา. (ประพาสมลายู).
  26. ขบ ๑ : ก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบบาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวด เหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่ง ที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ.
  27. ข่มขืนใจ : (กฎ) ก. บังคับให้กระทําหรืองดเว้นกระทํา โดยไม่สมัครใจ แต่จําต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า จะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๙.
  28. ขมเป็นยา : (สำ) น. คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด, มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา.
  29. ขมิบ : [ขะหฺมิบ] ก. กระหมิบ, บีบเข้าหรือเม้มเข้าซ้ำ ๆ กัน (มักใช้แก่ปาก ช่องทวารหนักและทวารเบา).
  30. ขยับ : [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทําท่าว่าจะทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้ เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่น นั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
  31. ขยาบ : [ขะหฺยาบ] น. เครื่องกันแดดและฝนที่เลื่อนเข้าออกจากประทุนเรือได้.
  32. ขยิ่ม : [ขะหฺยิ่ม] ก. กระหยิ่ม, ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น ขยิ่มยิ้มย่อง.
  33. ขรัว : [ขฺรัว] น. คําเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาสผู้เฒ่า. ว. เรียกคนที่มั่งมีว่า เจ้าขรัว.
  34. ขรัวตา : น. สามัญชนที่เป็นตาของพระองค์เจ้า.
  35. ขรัวยาย : น. สามัญชนที่เป็นยายของพระองค์เจ้า.
  36. ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
  37. ขวัญแขวน : ก. ขวัญไปค้างอยู่ที่อื่น หมายความว่า ตกใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อกสั่น เป็น อกสั่นขวัญแขวน.
  38. ขวาง : [ขฺวาง] ก. กีดกั้น, สกัด; รำคาญหรือไม่ถูกใจ; ใช้เข้าคู่กับ กว้าง เป็น กว้างขวาง หมายความอย่างเดียวกับคําว่า กว้าง.
  39. ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.
  40. ของเลื่อน : น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่ นับถือด้วยไมตรีจิต.
  41. ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
  42. ขอด ๑ : ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก. ว. ที่ขมวด เป็นปมหรือม้วนเข้ามา เช่น หมาหางขอด.
  43. ขอเฝ้า : น. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย; เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่ง เครื่องแบบราชการ.
  44. ขัดคอ : ก. พูดแย้งขวางเข้ามา, ไม่ให้ทําได้โดยสะดวก.
  45. ขัดจังหวะ : ก. แทรกเข้ามาในระหว่างร้องรํา; ขวางเข้ามาเพื่อไม่ให้ ทําหรือพูดได้สะดวก.
  46. ขัดตาทัพ : ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราว กันไม่ให้ข้าศึกรุกลํ้าเข้ามา; (ปาก) แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน.
  47. ขัดบท : ก. แทรกเข้ามาเมื่อเขาพูดยังไม่จบเรื่อง, ใช้เลือนมาเป็น ขัดคอ ก็มี.
  48. ขันสู้ : ก. แข่งเข้าสู้, กล้าสู้.
  49. ขันอาสา : ก. เสนอตัวเข้ารับทําโดยเต็มใจ, กล้าอาสา.
  50. ขับ ๒ : ก. ร้องเป็นทํานอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา. ขับซอ (ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2541

(0.1696 sec)