Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ด้วยเสน่หา, เสน่หา, ด้วย , then ด้วย, ดวยสนหา, ด้วยเสน่หา, สนหา, เสน่หา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ด้วยเสน่หา, 2629 found, display 851-900
  1. ตกหลุม, ตกหลุมพราง : (สํา) ก. ถูกลวงด้วยเล่ห์กลหรืออุบาย, เสียรู้, หลงกล.
  2. ตจปัญจกกรรมฐาน : [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอัน บัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไป ถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
  3. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  4. ตบ ๒ : ก. เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง เช่น ตบหน้า ตบลูกเทนนิส, เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู เช่น ตบหัวเด็ก.
  5. ต้ม ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลม ๆ ถ้าใส่ไส้ นํ้าตาลปึกตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือไส้หน้ากระฉีกแล้วคลุกมะพร้าว ข้างนอก เรียกว่า ขนมต้มขาว, ถ้าต้มเคี่ยวกับนํ้าตาลปึกและมะพร้าว อย่างหน้ากระฉีก เรียกว่า ขนมต้มแดง.
  6. ต้มกะปิ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยหัวหอม กะปิ พริกไทย อย่างแกงเลียง.
  7. ต้มข่า : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายต้มยํากะทิ แต่มักใช้เนื้อไก่ ใส่ ข่าอ่อน ปรุงรสด้วยนํ้าพริกเผา นํ้าปลา มะนาว พริกขี้หนู.
  8. ต้มเปอะ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้หัวตาลหรือหน่อไม้หรือใบขี้เหล็กเป็นต้น คล้ายแกงขี้เหล็ก แต่ไม่ใส่กะทิ ใส่ข้าวคั่วกับปลาร้าผสมด้วย.
  9. ต้มยำ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นต้มในนํ้าเปล่าหรือใน กะทิ ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด และปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยนํ้าพริกเผาหรือนํ้าพริก.
  10. ต้มส้ม : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาต้มในนํ้าแกงที่ปรุงด้วยกะปิ ขิง หัวหอม พริกไทย ส้มมะขาม และนํ้าตาล มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน.
  11. ตรรกศาสตร์ : น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการคิดหาเหตุผลว่าจะสมเหตุ สมผลหรือไม่, ใช้ว่า ตรรกวิทยา ก็มี. (อ. logic).
  12. ตรวจการณ์ : ก. ตรวจค้นด้วยสายตาหรือใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วย เพื่อรวบรวมข่าวสารหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในเขตพื้นที่รับผิดชอบ.
  13. ตระแบง ๒ : [ตฺระ-] ก. ผูกไขว้, ผูกบิด. (ข. ตฺรแบง ว่า ผูกไขว้ด้วยไม้ขันชะเนาะ).
  14. ตรายาง : น. ตราที่ทําด้วยยางสําหรับประทับบนกระดาษเป็นต้น.
  15. ตราสัง : ก. มัดศพ, ผูกศพให้เป็นเปลาะ ๆ ด้วยด้ายดิบเป็นต้น.
  16. ตรีโกณมิติ : [ตฺรีโกน-] น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยฟังก์ชันของตัวแปรจริง ซึ่งแทนขนาดของมุมใด ๆ, คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการใช้ฟังก์ชันของมุม เป็นรากฐานในการศึกษาสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหรือรูปอื่นใดที่ทอนลงมาเป็น รูปสามเหลี่ยมได้. (อ. trigonometry).
  17. ตรีภพนาถ : น. ที่พึ่งแห่งภพ ๓, พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, ใช้ทั่วไปถึงผู้อื่นด้วย เช่น กษัตริย์ ก็มี.
  18. ตรีศก : น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๓ เช่น ปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๓๔๓.
  19. ตฤณมัย : ว. แล้วไปด้วยหญ้า, ทําด้วยหญ้า. น. สนามหญ้า. (ส.).
  20. ตลก : [ตะหฺลก] ก. ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดย ปริยายหมายความว่า แกล้งทําให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทาง เป็นต้นเช่น หนังตลก, เรียก ผู้ที่ทําให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทําให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
  21. ตลกคะนอง : ว. อาการที่พูดหรือทําให้ขบขันด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
  22. ตลบตะแลง : ว. พลิกแพลงด้วยเล่ห์เหลี่ยมให้หลงเชื่อ, ปลิ้นปล้อน.
  23. ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
  24. ตวง : ก. ตักด้วยภาชนะต่าง ๆ เพื่อให้รู้จํานวนหรือปริมาณ; (โบ) นับ, กะ, ประมาณ, ทําให้เต็ม, เช่น ช่วยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง. (จารึกสยาม).
  25. ตวัก : [ตะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จวัก หรือ จ่า ก็ว่า.
  26. ตวาด : [ตะหฺวาด] ก. ขู่เต็มเสียง, คุกคามด้วยแผดเสียง, พูดเสียงดังด้วยความโกรธ.
  27. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  28. ต่อ ๓ : (กลอน) ก. รบ เช่น ซึ่งเจ้ามาต่อด้วยพ่อได้. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  29. ตองแตก : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Baliospermum montanum (Willd.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae รากใช้ทํายาได้ แต่มีสารพิษอยู่ด้วย เมล็ดมีพิษ, ทนดี ก็เรียก.
  30. ต่อตา : ก. ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีตัดเอาส่วนตาของพันธุ์ไม้ที่ต้องการไปติดกับ ส่วนตาของไม้อีกต้นหนึ่งในประเภทเดียวกัน.
  31. ต้อน : ก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้า คอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รําต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้ จนมุม. น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตู เปิดปิดได้ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อ ล่อให้ปลาเข้าอยู่, กะตํ้า ก็ว่า.
  32. ต่อย : ก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.
  33. ตอแย : ก. ยั่วให้เกิดความรําคาญหรือให้โกรธ, สนใจ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าไปตอแยด้วย.
  34. ตะกร้อ : [-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สําหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทําด้วยไม้หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมี ฟันสําหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สําหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้น เนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้า ข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สําหรับสวมปากม้า หรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.
  35. ตะกรุด : [-กฺรุด] น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะหรือใบลานเป็นต้น โดยปรกติลง คาถาอาคม แล้วม้วนเป็นรูปกลมยาวและกลวง, กะตรุด ก็ว่า.
  36. ตะกอ ๑ : น. ส่วนของเครื่องทอผ้าทําด้วยเส้นด้ายร้อยกับกรอบไม้ สําหรับแยกเส้นด้ายยืนให้ ขึ้นลงเพื่อให้ขัดกับเส้นด้ายพุ่ง.
  37. ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
  38. ตะเกียบ : น. เครื่องใช้สําหรับคีบอาหารทําด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ; ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ ตั้งตรงมีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสา กลางลงมาได้; โดยปริยายใช้เรียก ของที่เป็นคู่สําหรับคีบ เช่น ตะเกียบรถ จักรยาน; ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก; เรียกขาคนที่ ลีบเล็กว่า ขาตะเกียบ; ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง; กระดูกอ่อน ๒ อันที่ก้น ของสัตว์ปีกมีนก เป็นต้น.
  39. ตะโก้ ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งเท้ายายม่อมกวนเข้ากับ นํ้าตาล ใส่แห้วหรือข้าวโพดเป็นต้นก็ได้ หยอดหน้าด้วยกะทิกวนกับแป้ง.
  40. ตะโกรง : [-โกฺรง] ก. ทะเยอทะยาน, อยากได้. ว. อาการวิ่งโทง ๆ; เต็มไปด้วยความอยาก, ตะกลาม, เช่น ลูกเมียแปรไปเป็นอื่นตื่นตะโกรง. (สุ. สอนเด็ก).
  41. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  42. ตะคาง : น. เม็ดผดที่เกิดขึ้นตามขาด้วยระคายต้นหญ้าหรือขนกระบือ, ระคาง ก็ว่า.
  43. ตะเครียว, ตะเคียว ๑ : [-เคฺรียว] น. ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นตาโปร่งมีหูรูด.
  44. ตะนาว ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ตะนาว เช่น ตะนาวแปลง.
  45. ตะบัน ๑ : น. เครื่องตําหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทําด้วยทองเหลือง มีลูกตะบัน สําหรับตําและมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกด ลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คําประกอบกริยาหมายความ ว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน. (รูป ภาพ ตะบัน)
  46. ตะบันไฟ : น. ของอย่างหนึ่งรูปคล้ายตะบัน ทําด้วยเขาควายเป็นต้น มีลูกตะบัน สําหรับ ตบลงไปในกระบอกโดยเร็วเพื่อให้เกิดไฟติดเชื้อที่ปลายลูกตะบันนั้น. (รูปภาพ ตะบันไฟ)
  47. ตะไบ : น. เหล็กเครื่องมือใช้ถูไม้หรือโลหะอื่น ๆ ให้เกลี้ยงเกลาเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น ตะไบท้องปลิง ตะไบหางหนู. ก. ถูด้วยตะไบ เช่น ตะไบเล็บ.
  48. ตะไบเล็บ : น. อุปกรณ์แต่งเล็บมักทำด้วยโลหะ มีลักษณะแบนยาวที่ผิวหน้าทั้ง ๒ ด้านบั้งเป็นรอยหยาบ ๆ สำหรับถูเล็บ.
  49. ตะปบ : ก. ตบด้วยอุ้งมือหรืออุ้งเท้าหน้า เช่น เสือตะปบ, ปบ ก็ว่า.
  50. ตะปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จะปิ้ง จับปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2629

(0.1143 sec)