Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ดุ , then ดุ, ดู, ตุ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ดุ, 2720 found, display 2601-2650
  1. เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ : (สำ) ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาล จะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง.
  2. เลียบค่าย : ก. ตรวจดูความเรียบร้อยของกองทัพ, ส่งคนไปลาด ตระเวนดูกำลังข้าศึก.
  3. เลียบเคียง, เลียบ ๆ เคียง ๆ : ก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการ กรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะ ขอยืมเงิน.
  4. โลกียสุข : น. ความสุขทางโลก, ความสุขทางกามารมณ์, เช่น การ ดูมหรสพเป็นโลกียสุขอย่างหนึ่ง.
  5. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  6. วัชรธาตุมณฑล : [ทาตุมนทน, ทาดมนทน] น. สัญลักษณ์ในทาง ปัญญาอันคมกล้าที่สามารถตัดอวิชชาได้.
  7. วัดรอยตีน, วัดรอยเท้า : (สํา) ก. เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดี ชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า.
  8. วัตถุ : น. สิ่งของ. (ป.; ส. วสฺตุ).
  9. วับ ๆ แวม ๆ : ว. มีแสงดับบ้างเรืองบ้างสลับกันไป เช่น แสงหิ่งห้อย ดูวับ ๆ แวม ๆ, วับแวม ก็ว่า; อาการที่แต่งกายไม่มิดชิด เช่น ไม่ควรแต่งตัววับ ๆ แวม ๆ ในสถานที่พึงเคารพ ดูไม่สุภาพ.
  10. วัยงาม : น. ลักษณะของหญิงที่ดูงามทุกวัย เป็นลักษณะอย่าง ๆ ในเบญจกัลยาณี.
  11. วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
  12. ว่าขาน : ก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลาย ที่โกรธา ฯ (อิเหนา).
  13. วางตา : ก. ละสายตา, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ดูไม่วางตา.
  14. วาว : ว. สุกใส, มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน, เช่น ในเวลากลางคืนตาแมวดู วาว, เป็นมัน เช่น ผ้าต่วนเป็นมันวาว พื้นเป็นมันวาว, วาบแวบ.
  15. วิงเวียน : ก. รู้สึกเวียนหัวดูอะไรหมุนไปหมด มักมีอาการคลื่นไส้ ด้วย เช่น ทำงานเหนื่อยเกินไปจนรู้สึกวิงเวียนจะเป็นลม.
  16. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  17. วิจิตรพิศวง : [จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลาย ชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
  18. วินาศสันติ : [วินาด] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออก เสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.
  19. วิพากษ์วิจารณ์ : ก. วิจารณ์, ติชม, เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  20. วิรูป : ว. น่าเกลียด, พิการ, ไม่น่าดู. (ป., ส.).
  21. วิโลก, วิโลกนะ : [วิโลกะนะ] ก. แลดู, ตรวจตรา. (ป., ส.).
  22. วิสย, วิสัย : [วิสะยะ, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตร ภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
  23. วูบวาบ : ว. ระยับตา เป็นอาการของแสงหรือเงามันที่ปรากฏแล้ว หายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น เสื้อปักเลื่อมดูวูบวาบไป ทั้งตัว.
  24. เวิ้ง : หมดจนดูเวิ้งว้าง.
  25. แว่นขยาย : น. เลนส์นูนที่มีระยะโฟกัสสั้น ใช้สําหรับส่องดูให้เห็น เป็นภาพขยาย.
  26. แววตา : น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).
  27. ศัตรู : [สัดตฺรู] น. ข้าศึก, ปรปักษ์, เช่น ศัตรูจากภายนอกประเทศ เพลี้ย เป็นศัตรูพืช, ผู้จองเวร เช่น ๒ ตระกูลนี้เป็นศัตรูกันมาหลายชั่วคน แล้ว. (ส. ศตฺรุ; ป. ตฺตุ).
  28. ส่งภาษา : ก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่งโดยกล่าวคําเป็น ภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร; พูดเป็น ภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่งภาษาจีนกัน เขา ส่งภาษาถิ่น'' มาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.
  29. สง่างาม : ว. มีท่าทางภูมิฐานแลดูงาม.
  30. ดุดี : [สะ] น. คํายกย่อง, คําสรรเสริญ, (โดยปรกติใช้ในลักษณะเป็น พิธีการ), เช่น กล่าวสดุดีวีรกรรมของทหาร. (ส. สฺตุติ; ป. ถุติ).
  31. สตัฟฟ์ : [สะ] น. การนําวัสดุบางอย่างบรรจุในโครงหนังสัตว์ซึ่งผ่านกรรมวิธี ทางเคมีสําหรับรักษาไม่ให้เน่าเปื่อยแล้วตกแต่งให้ดูเหมือนสัตว์จริง. (อ. stuff).
  32. สนทรรศน์ : [ทัด] น. การดู, การจ้องดู, การแลเห็น. (ส. สํ + ทรฺศน).
  33. สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
  34. สบประมาท : ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกดูหมิ่นซึ่ง ๆ หน้า เช่น เขาถูก สบประมาทในที่ประชุม, ประมาทหน้า.
  35. สบายอารมณ์ : ว. มีอารมณ์เบิกบาน เช่น เขาทำงานไปร้องเพลงไป อย่างสบายอารมณ์ วันนี้ขอดูภาพยนตร์ให้สบายอารมณ์สักวัน.
  36. สร่ง ๑ : [สะหฺร่ง] น. วิธีฝังเพชรเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลาลงไปบนพื้นที่ทําให้ โปร่ง, ถ้าแกะแรให้ผิวเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูเหมือนฝังเพชร เรียกว่า ตัดสร่ง.
  37. สระสม : [สฺระ] (วรรณ) ว. สวย เช่น พิศดูคางสระสม. (ลอ).
  38. สวนปากสวนคำ : ก. สอบปากคํายันกันดู.
  39. สวนสนาม : น. พิธีชุมนุมพลกองทหารที่ลานกว้างเพื่อแสดงความสง่า ผ่าเผย ความพร้อมเพรียง และอานุภาพของเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เป็นเกียรติแก่ผู้เป็นประธานในพิธีซึ่งจะได้ตรวจดูแถวทหารที่ตั้งอยู่ คือ ตรวจพลและดูการเดินแถวของทหารเหล่านั้น.
  40. ส่อง : ก. ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง ตะวันส่อง หน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง ส่องกบ, เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน(ปาก) ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง.
  41. ส่องกระจก : ก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง.
  42. สอดส่อง : ก. ตรวจดูทั่ว ๆ ไป, เอาใจใส่ดูแล, เช่น รัฐบาลที่ดีจะต้อง สอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร.
  43. สอบความถนัด : ก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถใน ทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษา หรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่.
  44. สอบสัมภาษณ์ : ก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและ ความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่.
  45. สะตึ, สะตึ ๆ : (ปาก) ว. ไม่มีอะไรดี, ไม่ได้เรื่อง, ไม่มีค่า, เช่น หนังเรื่องนี้สะตึดูแล้ว เสียดายเงิน ของสะตึ ๆ อย่างนี้ไม่ซื้อหรอก.
  46. สังเกต : ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทาง เขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).
  47. สังเกตการณ์ : ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
  48. สัตตู : น. ข้าวตู. (ป. สตฺตุ; ส. สกฺตุ).
  49. สัมภาระ : [สำพาระ] น. สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และเสบียงซึ่ง สะสมรวบรวมหรือจัดเตรียมไว้เพื่อภาระต่าง ๆ เช่น เตรียมสัมภาระ สำหรับไปต่างจังหวัด; การเกื้อหนุน, การเลี้ยงดู. (ป., ส.).
  50. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | [2601-2650] | 2651-2700 | 2701-2720

(0.0820 sec)