Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ดุ , then ดุ, ดู, ตุ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ดุ, 2720 found, display 2651-2700
  1. หงายท้อง, หงายหลัง : (สำ) ก. ผิดไปจากที่คาดหวังไว้อย่างมาก เช่น มั่นใจ ว่าจะต้องสอบได้แน่ แต่พอไปดูประกาศผลการสอบ ไม่พบชื่อตัวเอง ก็หงายท้องกลับมา.
  2. หน้าแก่ : ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมาก ที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่.
  3. หน้าขึ้นนวล : น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคน โบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามัก จะขึ้นนวล.
  4. หน้าคว่ำ : ว. ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้าขึ้นมองดู.
  5. หน้าซื่อใจคด : (สํา) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง.
  6. หนาตา : ว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชม มหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.
  7. หน้าตาขึงขัง : ว. สีหน้าที่แสดงว่าเอาจริงเอาจัง ดูน่ากลัว.
  8. หน้าเปิด : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.
  9. หน้าสว่าง : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าเปิด ก็ว่า.
  10. หน้าอ่อน : ว. ที่มองดูอายุน้อยกว่าอายุจริง เช่น ผู้หญิงคนนี้อายุมากแล้ว แต่ยังดูหน้าอ่อน, เรียกหมากที่หน้ายังไม่เต็มว่า หมากหน้าอ่อน.
  11. หนุ่ม : น. ชายที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. ว. เรียกชาย ที่ยังดูไม่แก่ตามวัย เช่น ดูยังหนุ่มอยู่.
  12. หมาง : ก. (โบ) กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดาก หน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่น คนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆ ก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ.
  13. หมาไล่เนื้อ : (สำ) น. คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ให้ได้ ผู้เป็น นายก็เมตตาเลี้ยงดู แต่เมื่อทำประโยชน์ไม่ได้แล้ว ผู้เป็นนายก็ทอดทิ้งไม่ ไยดีหรือหาเรื่องลงโทษขับไล่ไสส่งเป็นต้น เปรียบเสมือนหมาไล่เนื้อ เมื่อแก่สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ใช้ไล่ล่าสัตว์ไม่ได้ เจ้าของก็ไม่เมตตาเลี้ยงดู อีกต่อไป.
  14. หมิ่น ๑ : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูก ว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่น ถิ่นแคลน ก็ว่า.
  15. หมิ่นประมาท : ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อ ความผิดทางอาญาฐานใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่า จะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง.
  16. หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ : [หฺมิ่นพฺระบอรมมะเดชานุพาบ] ก. กระทําการ อันเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์.
  17. หยั่ง : ก. วัดดูเพื่อให้รู้ตื้นลึก เช่น เอาถ่อหยั่งน้ำ, คาดคะเนดู เช่น หยั่งใจ.
  18. หยาม : ก. ดูหมิ่น, ดูถูก.
  19. หยามน้ำหน้า : ก. ดูหมิ่นเกียรติ, ดูหมิ่นศักดิ์ศรี.
  20. หลอกตา : ก. ทำให้เห็นขนาด ระยะทาง เป็นต้น ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น ที่แปลงนี้หลอกตา ดูเล็กนิดเดียวแต่มีเนื้อที่หลายไร่. ว. ที่ทำให้เห็น ขนาดหรือรูปร่างผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เสื้อตัวนี้หลอกตา ใส่แล้ว ดูผอม กระจกหลอกตา.
  21. หล็อน, หล็อน ๆ : ว. น้อยไป, เล็กไป, เช่น ของนี้หล็อนมือ, ไม่สมส่วน เช่น แจกันใบใหญ่ มีดอกไม้ปักอยู่ ๒-๓ ดอก ดูแล้วหล็อนตา; รู้สึกว่าไม่เป็นไปตามที่ควร จะมีจะเป็น เช่น เคยสวมนาฬิกาข้อมือทุกวัน แต่วันนี้ลืมสวม เลยรู้สึก หล็อน ๆ มือ.
  22. หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.
  23. หลิ่วตา : ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยาย หมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทําการหรือไม่ทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.
  24. หวิว, หวิว ๆ : ว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม, มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ; มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.
  25. ห้าง ๑ : น. กระท่อมที่ทําไว้เฝ้านาเฝ้าสวน หรือที่พักเล็ก ๆ ชั่วคราว; ที่ซึ่งทําไว้ บนต้นไม้ในป่า สําหรับคอยเฝ้าดูเหตุการณ์หรือดักยิงสัตว์ เป็นต้น.
  26. หางกระรอก : น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียว เสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก เรียกว่า ผ้าหางกระรอก.
  27. หางไก่ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Coilia macrognathus และ C. dussumieri ในวงศ์ Engraulidae ลําตัวแบนข้าง ตั้งแต่ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูป สามเหลี่ยมและเรียวเล็กยาวไปทางหาง เกล็ดเล็กหลุดง่าย ลําตัวจึงแลดู ใส ก้านครีบอกบางก้านยื่นยาวมากคล้ายหนวด ขนาดยาวประมาณ๒๕ เซนติเมตร.
  28. หางแข็ง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย คอดหางแคบมาก เป็นเหลี่ยมแข็งดูคล้ายขาไก่ เกล็ดเล็ก แต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายกว้าง ที่ขอบแผ่นปิด เหงือกมีจุดดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ, ขาไก่ แข้งไก่ อีลอง หรือ อีโลง ก็เรียก.
  29. หาริ : ว. งดงาม, น่าดู, น่ารัก. (ป., ส.).
  30. หุ่นขี้ผึ้ง : น. หุ่นที่ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นต้น มักทำเป็นรูปคนที่มีชื่อเสียง สวม ใส่เสื้อผ้า มองดูคล้ายคนจริง ๆ.
  31. เห็บน้ำ : น. ชื่อสัตว์ประเภทไรนํ้าซึ่งเกาะเบียนตามตัวปลา มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาวได้ถึง ๗ มิลลิเมตร ตัวแบน เมื่อมองทางด้านหลังจะเห็นหัวกับอก ติดกัน ท้องเล็กมากมองคล้ายหางที่โผล่ออกมา มีขา ๔ คู่ ใช้สําหรับว่ายนํ้า ปากมีอวัยวะคล้ายขาใช้เกาะยึดซึ่งต้องหงายท้องดูจึงจะเห็น ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Argulus indicus ในวงศ์ Argulidae.
  32. เหม่อ : [เหฺม่อ] ก. ไม่ตั้งใจระวัง, ไม่ตั้งใจดู, เผลอใจลอย.
  33. เหยียดหยาม : ก. ดูหมิ่น.
  34. เหลียวหลัง : น. เรียกสร้อยที่มีลักษณะบิดเป็นเกลียวว่า สร้อยเหลียวหลัง. ก. เหลียวดูด้วยความสนใจหรือด้วยความอาลัยอาวรณ์เป็นต้น.
  35. เหลือบ ๒ : [เหฺลือบ] ก. ใช้ประกอบกับคำอื่นหมายความว่า ชำเลือง เช่น เหลือบตา เหลือบแล เหลือบดู เหลือบเห็น.
  36. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  37. แหกตา : ก. ใช้มือถ่างเปลือกตาออก, โดยปริยายหมายความว่า ลืมตา (ใช้ในเชิงประชด) เช่น แหกตาดูเสียบ้างซิ, หลอก เช่น ถูกแม่ค้าแหกตา.
  38. แหย่ : [แหฺย่] ก. เอานิ้วมือหรือปลายไม้เป็นต้นแยงเข้าไป; เย้า, ทําให้เกิดความ รําคาญหรือไม่สงบอยู่ได้; ลองดูชั้นเชิง.
  39. โหรง, โหรงเหรง : [โหฺรง, โหฺรงเหฺรง] ว. มีน้อย, บางตา, เช่น โหรงตา, คนดูโหรงเหรง, โกร๋งเกร๋ง หรือ โกร๋นเกร๋น ก็ว่า.
  40. โหล ๓ : [โหฺล] ว. ดูลึกลงไป ในคําว่า ตาโหล.
  41. โหลเหล : [-เหฺล] ว. ดูซูบซีดอิดโรย เช่น หน้าตาโหลเหล.
  42. อด : ก. กลั้น เช่น เหลืออด, งดเว้น เช่น อดฝิ่น อดอาหาร; ไม่ได้, ไม่ สมหวัง, เช่น อดรับรางวัล อดดู; ไม่มีอะไรกิน เช่น อดอยู่ทั้งวัน. ว. ทน เช่น ดํานํ้าอด.
  43. อนุบาล : ก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวัง รักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมี คําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
  44. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  45. อปมาน : [อะปะ] น. การดูหมิ่น, การดูถูก. (ส.).
  46. อรรธจันทร์ : [อัดทะจัน] น. พระจันทร์ครึ่งซีก; ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สําหรับดูการแสดง มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขาย หรือก้าวขึ้นลงทําเป็นขั้น ๆ, อัฒจันทร์ ก็ว่า.
  47. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  48. อัง : ก. นําไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาวเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออัง หน้าผากดูว่าร้อนหรือไม่.
  49. อัจจัย : น. การล่วงไป; การล่วงเกิน, การดูหมิ่น. (ป. อจฺจย; ส. อตฺยย).
  50. อัฒจันทร์ : น. ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สําหรับดูการแสดงมีลักษณะเป็นรูป ครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขายหรือก้าวขึ้นลงทําเป็นขั้น ๆ, อรรธจันทร์ ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | [2651-2700] | 2701-2720

(0.0875 sec)