Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ่งเล็กสิ่งน้อย, เล็ก, สิ่ง, น้อย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ่งเล็กสิ่งน้อย, 2886 found, display 1301-1350
  1. ตะขบ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Flacourtia วงศ์ Flacourtiaceae เช่น ตะขบไทย (F. rukam Zoll. et Moritzi) ต้นมีหนาม ผลกลม สุกสีม่วงแดง หรือแดงเข้ม รสหวาน รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Muntingia calabura L. ในวงศ์ Tiliaceae ต้นไม่มีหนาม ผลกลม เล็กกว่าตะขบไทย สุกสีม่วงแดง รสหวาน, ตะขบฝรั่ง ก็เรียก.
  2. ตะขาบ ๒ : น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตาม พื้นดิน อยู่ตามลําพัง ทํารังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้ม หรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.
  3. ตะเข็บ ๑ : น. ชื่อสัตว์พวกเดียวกับตะขาบ แต่เรียกแยกโดยถือเอาพวกที่มีขนาดเล็ก เช่น ยาวตํ่ากว่า ๕-๖ เซนติเมตรลงไป ลําตัวเล็ก มีจำนวนปล้อง ๓๑-๑๗๓ ปล้องแต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ และขายาวกว่าปล้องลําตัวมาก ที่แพร่หลาย เช่น สกุล Geophilus ในวงศ์ Geophilidae, จะเข็บ หรือ ขี้เข็บ ก็เรียก.
  4. ตะเข็บ ๒ : น. ชื่อกุ้งทะเลขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Metapenaeus วงศ์ Penaeidae ตัวแบน.
  5. ตะเข็บ ๔ : น. แนวผ้าหรือสิ่งอื่นตอนที่เย็บติดกัน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ตะเข็บรอยต่อจังหวัด.
  6. ตะครอง : [-คฺรอง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Ziziphus cambodiana Pierre ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลกลม รสฝาด.
  7. ตะคร้ำ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garuga pinnata Roxb. ในวงศ์ Burseraceae ดอกออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลเล็ก เป็นร่องตามยาว.
  8. ตะบิ้ง : น. นาที่เป็นกระทงเล็ก ๆ, กระบิ้ง ก็เรียก.
  9. ตะปู : น. สิ่งทําด้วยโลหะ มีปลายแหลม หัวมนแบน ขนาดต่าง ๆ กัน สําหรับตรึงสิ่งอื่น ให้แน่นโดยใช้ค้อนเป็นต้นตอกลงไป, ตาปู ก็เรียก.
  10. ตะปูเข็ม : น. ตะปูที่มีขนาดเล็กมาก.
  11. ตะพั้น : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากํา ตามตํารา แพทย์แผนโบราณว่ามักเกิดเพราะผิดอากาศเป็นต้น, สะพั้น ก็ว่า.
  12. ตะพาน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ทําสําหรับข้ามแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น บางทีทํายื่นลงไปในนํ้า สําหรับขึ้นลง, โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง, สะพาน ก็ว่า.
  13. ตะล่อมข้าว : น. ที่สําหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น ใช้ไม้ไผ่ซีกเล็ก ๆ มาขัดแตะทําเป็นวง ล้อมรอบ แล้วยาด้วยขี้ควาย ขนาดเล็กกว่ายุ้ง.
  14. ตะลุง ๑ : น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).
  15. ตะลุมพุก ๑ : น. ไม้ท่อนกลม ๆ มีด้ามคล้ายค้อน แต่ใหญ่กว่ามาก สําหรับตําข้าว; ไม้ท่อนขนาดเล็กที่ มีด้ามสั้น ตัวสั้น สําหรับทุบผ้าให้เรียบ, กระลุมพุก ก็ใช้.
  16. ตะไล ๒ : น. ถ้วยกระเบื้องเล็ก ๆ ชนิดหนึ่ง สําหรับใส่ขนมแล้วนึ่งเป็นต้น เรียกว่า ถ้วยตะไล.
  17. ตะโหงก ๒ : [-โหฺงก] น. โคนทางมะพร้าวแห้ง; สิ่งที่นูนโหนกขึ้นจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงกตอไม้ ; ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, หนอก ก็ว่า.
  18. ตัง ๑ : น. ยางไม้ที่ประสมกับสิ่งอื่น แล้วทําให้เหนียวสําหรับดักนกเป็นต้น.
  19. ตังโอ๋ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Chrysanthemum coronarium L. ในวงศ์ Compositae ใบเล็กหนา กลิ่นหอม กินได้ เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ, งาไซ ก็เรียก. (จ.).
  20. ตัด : ก. ทําให้ขาดด้วยของมีคม เช่น ตัดกระดาษ ตัดผ้า; ทอน เช่น ตัดเงินเดือน, ลัด เช่น เดิน ตัดทาง; ตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําให้เป็นสิ่งสําเร็จรูป เช่น ตัดเสื้อ ตัดรองเท้า; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตัดญาติ ตัดกิเลส. ตัดกัน ก. ขัดกัน, ไม่กินกัน, ไม่กลมกลืนกัน, (ใช้แก่สี); ตัดผ่านขวางกัน เช่น ถนนตัด กัน. ตัดขาด ก. เลิกติดต่อคบหากัน.
  21. ตันหยง : น. (๑) ดอกพิกุล. (จินดามณี). (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Caesalpinia coriaria (Jacq.) Willd. ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม.
  22. ตับ ๑ : น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ใน ช่องท้อง ทําหน้าที่ทําลายพิษ สร้างนํ้าดีและโปรตีนบางชนิด เป็นต้น. ตับแข็ง น. ชื่อโรคเรื้อรังที่เกิดแก่ตับ ทําให้เนื้อเยื่อของตับหดตัวและมี จํานวนน้อยลง ส่วนเนื้อเยื่อยึดต่อมีจํานวนมากขึ้นผิดปรกติ มักทําให้เกิด อาการบวมที่ท้อง ตาเหลือง ซึม หมดสติ และอาเจียนเป็นโลหิต. ตับแลบ (ปาก) ว. มีอาการเหนื่อยมาก เช่น วิ่งเสียจนตับแลบ. ตับเหล็ก น. ม้ามของหมู. ตับอ่อน น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้อง ทําหน้าที่สร้างและขับนํ้าย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน.
  23. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  24. ตัว ๒ : (คณิต) น. เรียกเลขในวิธีทําว่า ตัว เช่น ตัวบวก ตัวลบ ตัวคูณ ตัวหาร. ตัวคูณร่วมน้อย น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนําไปหารด้วยจํานวน เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น. ตัวตั้ง ๒ น. จํานวนเลขที่ตั้งไว้ก่อนสําหรับบวกลบคูณหาร. ตัวประกอบ ๒ น. จํานวนที่เมื่อคูณกันแล้วทําให้เกิดอีกจํานวนหนึ่ง เช่น ๒ x ๓ = ๖ ๒ และ ๓ ต่างเป็นตัวประกอบของ ๖. ตัวแปร น. จํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อนที่มีค่าได้หลาย ๆ ค่าในช่วงหรือ เซตที่กําหนดให้. (อ. variable). ตัวเลข น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง เช่น ๑๒ 53 VIII. (อ. numeral). ตัวหารร่วมมาก น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนําไปหารจํานวน undefined เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหาร ร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
  25. ตัวตืด : น. ชื่อพยาธิในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมี อวัยวะใช้เกาะยึด ถัดจากหัวเป็นคอซึ่งเป็นส่วนที่สร้างปล้องออกมาเรื่อย ๆ บางชนิดมีเพียง ๒-๓ ปล้อง บางชนิดมีถึง ๑,๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด แต่ละปล้องมีอวัยวะทั้งเพศผู้และเพศเมียรวมอยู่ ด้วยกัน มักอาศัยดูดอาหารในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทําให้ เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจํานวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทําให้มีอาการปวด ท้องอย่างรุนแรง มีหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น ชนิด Taenia solium ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด T. saginata ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิด อยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลําไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมบางชนิด.
  26. ถดถอย, ทดถอย : ก. ย่อท้อ, ลดน้อยลง เช่น เรี่ยวแรงถดถอย; กระเถิบถอย, ถอยถด หรือ ถอยทด ก็ใช้.
  27. ถ่ม : ก. ทําให้นํ้าลายหรือสิ่งอื่น ๆ ออกจากปากโดยแรง.
  28. ถม ๒ : ก. เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็น แอ่งเพื่อให้เต็ม, กองสุม ๆ ไว้ไม่เป็นระเบียบ.
  29. ถ่มน้ำลายรดฟ้า : (สํา) ก. ประทุษร้ายต่อสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเอง ย่อมได้รับผลร้าย.
  30. ถลอก : [ถะหฺลอก] ก. ลอกออกไป, ปอกออกไป, เปิดออกไป, (มักใช้แก่สิ่ง ที่มีผิว) เช่น หนังถลอก สีถลอก.
  31. ถ้วย ๑ : น. ภาชนะก้นลึก มีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่นํ้าหรือของบริโภคเป็นต้น เช่น ถ้วยนํ้าร้อน ถ้วยนํ้าพริก ถ้วยตะไล โดยมากเป็นเครื่องเคลือบ ดินเผา ที่ทําด้วยแก้วหรือสิ่งอื่น ๆ ก็มี; ลักษณนามเรียกถ้วยที่ไม่มี อะไรบรรจุว่า ใบ เช่น ถ้วยใบหนึ่ง ถ้วย ๒ ใบ, เรียก ถ้วยที่มีสิ่งของ บรรจุว่า ถ้วย เช่น แกงถ้วยหนึ่ง แกง ๒ ถ้วย; เรียกสิ่งที่เป็นเครื่อง เคลือบดินเผา เช่น กระเบื้องถ้วย ช้อนถ้วย; เรียกสิ่งของหรือสัตว์ ที่มีรูปอย่างถ้วย เช่น มะเขือ ถ้วย แมงดาถ้วย.
  32. ถ้วยฟู : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลทราย ผสมด้วยผงฟู นวดให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้จนแป้งขึ้นดี ใส่ถ้วยเล็ก ๆ นึ่ง.
  33. ถ้วยรางวัล : น. สิ่งที่ทําด้วยโลหะมีรูปร่างคล้ายถ้วย มีเชิง สําหรับ ให้เป็นรางวัลในการแข่งขันกีฬาเป็นต้น.
  34. ถ่อมไส้ : (วรรณ) ก. กินอาหารน้อย ๆ เช่น อาหารถือถ่อมไส้ รัดบรัศไว้ ด้วยผ้า. (ม. คำหลวง).
  35. ถอยถด, ถอยทด : ก. ย่อท้อ, ลดน้อยลง เช่น เรี่ยวแรงถอยถด; กระเถิบ ถอย, ถดถอย หรือ ทดถอย ก็ใช้.
  36. ถ่านไฟฉาย : น. เซลล์ไฟฟ้าชนิดปฐมภูมิ มีรูปทรงกระบอกขนาด เล็กภายในบรรจุผงคาร์บอน แมงกานีสไดออกไซด์ ซิงก์คลอไรด์ แอมโมเนียมคลอไรด์ ซึ่งผสมนํ้าให้มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกหุ้ม อยู่รอบแท่งคาร์บอนซึ่งเป็นขั้วบวก ภายนอกหุ้มด้วยกระบอก สังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ ตอนปากของกระบอกสังกะสีมีครั่งหุ้มปิด ไว้ เหลือแต่หมวกโลหะที่ครอบแท่งคาร์บอนเท่านั้นที่โผล่พ้น พื้นครั่งขึ้นมา ใช้ใส่ในไฟฉาย วิทยุ เป็นต้น.
  37. ถ่าย : ก. เอาออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่ง เช่น ถ่ายรถ ถ่ายเรือ, เอาสิ่ง หนึ่งออกแล้วเอาอีกสิ่งหนึ่งใส่เข้าไปแทนที่ เช่น ถ่ายนํ้า ถ่ายเลือด; รุ เช่น ถ่ายยา. ว. ฝ่าย, ท่า, เช่น ถ่ายเดียว.
  38. ถ่ายรูป : ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่น วัสดุใสเช่นฟิล์มกระจกถ่ายรูป, ชักรูป ก็ว่า.
  39. ถาวรวัตถุ : [ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ] น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคง ยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ. (ป.).
  40. ถ้ำยาดม : น. ภาชนะรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก มีฝา ชั้นในเจาะเป็นรู มีส้มมือผสมเครื่องยาบรรจุภายใน ใช้ดม.
  41. ถีบจักร : ก. เย็บผ้าด้วยจักรโดยกดเท้าลงบนตะแกรงจักรให้ตะแกรง กระดกขึ้นลงให้ล้อจักรหมุน. น. เรียกหนูชนิดหนึ่งตัวเล็กซึ่งเลี้ยงไว้ ให้เข้าไปถีบในเครื่องหมุนว่า หนูถีบจักร.
  42. ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น : (สํา) ว. ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง, ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด.
  43. ถือปูน : ก. เอาปูนโบกอิฐหรือสิ่งอื่นที่ก่อขึ้น.
  44. ถุง : น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของ ทําด้วยผ้าหรือกระดาษเป็นต้น ก้นปิด ปากเปิด บางชนิดที่ปากมีหูรูดหรือหูหิ้ว, เรียกเครื่องใช้สําหรับสวมมือ สวมเท้า มีลักษณะยืดหรือหดได้ ว่า ถุงมือ ถุงเท้า, โดยปริยายใช้เรียก สิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถุงนํ้าดี ถุงนํ้าครํ่า ถุงนํ้าตา, เรียกผ้านุ่งของ ผู้หญิงซึ่งใช้ผืนผ้าเย็บริมด้านข้างให้ติดกันว่า ผ้าถุง.
  45. ถู : ก. สี เช่น ถูขี้ไคล ถูฟัน ถูเนื้อถูตัว, เช็ดโดยวิธีใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งไถไป ไถมาให้สะอาด เช่น ถูบ้าน.
  46. เถรานุเถระ : น. พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย. (ป.).
  47. เถ้า ๑ : น. สิ่งที่เป็นผงละเอียดของสิ่งที่เหลือจากไฟเผามอดแล้ว, ขี้เถ้า ก็ว่า.
  48. เถาดาน : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นลําแข็งตั้งขึ้นที่ยอดอกแล้ว ลามลงไปถึงท้องน้อย ทําให้เจ็บปวด จุกเสียด แน่นหน้าอก.
  49. แถบ : ว. สิ่งที่แบนยาว เช่น แถบทอง ผ้าแถบ; ซีก, ด้าน, เช่น ร่างกายตายไป แถบหนึ่ง ไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง; ถิ่น, แถว, เช่น อยู่แถบนี้; (ถิ่น–พายัพ) เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่าว่า เงินแถบ.
  50. แถว : น. แถบ เช่น คนแถวนี้, คนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น แถวทหาร.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2886

(0.0937 sec)