Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ่งเล็กสิ่งน้อย, เล็ก, สิ่ง, น้อย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ่งเล็กสิ่งน้อย, 2886 found, display 2401-2450
  1. โลกาภิวัตน์ : น. การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลก ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจาก สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนา ระบบสารสนเทศเป็นต้น. (ป. โลก + อภิวตฺตน; อ. globalization).
  2. โล่งโถง : ว. เปิดว่างตลอด ขาดสิ่งที่ควรมี เช่น ห้องโล่งโถง คือ ห้องที่ควรจะมีฝากั้น แต่ไม่มี.
  3. โลดทะนง : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Trigonostemon reidioides (Kurz) Craib ในวงศ์ Euphorbiaceae เปลือกหอม ใช้ทํายาได้.
  4. โลน ๒ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด Pthirus pubis ในวงศ์ Pediculidae ตัวยาว ๑.๕–๒ มิลลิเมตร ลําตัวค่อนไปทางรูปไข่แบน สีขาว อมนํ้าตาลอ่อน ไม่มีปีก ปลายขางอแหลมเกือบเป็นง่ามเหมือน ก้ามปู อาศัยอยู่ตามบริเวณขนในที่ลับของคน กัดและดูดเลือด กินเป็นอาหาร ทําให้เกิดอาการคัน.
  5. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  6. วงกต : น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออก วกวนอาจทําให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ ทําคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อ ความสนุกว่าเขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้. (ป.).
  7. วงเงิน : น. จํานวนเงินที่กําหนดไว้เพื่อทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ค้ำ ประกันในวงเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซื้อของได้ในวงเงิน ๑,๐๐๐ บาท เท่านั้น.
  8. วงจร : (ไฟฟ้า) น. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านไปครบรอบ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วงจรชีวิต.
  9. วงแหวน : [แหฺวน] น. โลหะหรือแผ่นหนังเป็นต้นที่ทําเป็นรูป แหวนสําหรับรองอย่างที่หัวสลักเกลียวหรือที่เพลา เพื่อกันสึกหรอ หรือเพื่อให้กระชับแน่น, มักเรียกว่า แหวน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่ง อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
  10. วรรณกรรม : น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิด ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัย รัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้น ทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัยสุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรม คอมพิวเตอร์ด้วย.
  11. วอกแวก : ว. อาการที่จิตใจไม่จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เวลาฟัง ครูสอนมีสิ่งรบกวนทำให้จิตใจวอกแวก.
  12. วัช ๒, วัช, วัชชะ ๑ : [วัดชะ] น. สิ่งที่ควรละทิ้ง; โทษ, ความผิด. (ป. วชฺช; ส. วรฺชฺย, วรฺชฺช).
  13. วัฒนธรรม : น. สิ่งที่ทําความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้านวัฒนธรรมชาวเขา.
  14. วัด ๓ : ก. สอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เช่นวัดส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง หรือความรู้เป็นต้น.
  15. วัตถุดิบ : น. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้า สําเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
  16. วัตถุนิยม : น. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้ คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.
  17. วัตสะ : (แบบ) น. ลูกวัว; เด็กเล็ก. (ส. วตฺส).
  18. วับ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
  19. วัยเด็ก : น. วัยที่อายุยังน้อย.
  20. วัยทารก : น. วัยเด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่เดียงสา.
  21. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  22. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  23. ว่าจ้าง : ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
  24. วาด ๑ : ก. เขียนหรือลากเส้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพ เช่น วาดภาพดอกไม้ วาดภาพทิวทัศน์, เขียนเป็นลายเส้น เช่น วาดภาพลายไทย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วาดวิมานในอากาศ เสียสวยหรู วาดโครงการในอนาคต; ทอดแขนหรือกรายแขน อย่างอ่อนช้อยในการฟ้อนรํา.
  25. วิ่งว่าว : ก. ชักว่าวขึ้นแล้วพาสายว่าววิ่งไปเพื่อให้ว่าวติดลมสูงขึ้น (ใช้แก่ว่าวตัวเล็ก ๆ).
  26. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  27. วิญญาณ : น. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกาย ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
  28. วิญญาณกทรัพย์ : [วินยานะกะซับ, วินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, สวิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
  29. วิตามิน : น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจําเป็นที่ร่างกายต้องการแต่ เพียงจํานวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทําให้อวัยวะใน ร่างกายทํางานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการ เจริญเติบโตของร่างกาย บํารุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วย ต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ ''ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).
  30. วิทยาศาสตร์กายภาพ : น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของ สิ่งไม่มีชีวิต เช่น เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์.
  31. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ : น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของ สิ่งมีชีวิต เช่น สัตววิทยา พฤกษศาสตร์.
  32. วินายก : น. ผู้ขจัดสิ่งขัดข้อง, พระวิฆเนศวร; พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
  33. วิหลั่น : น. ค่ายที่ทําให้ขยับลุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ.
  34. วิหารแกลบ : [แกฺลบ] น. วิหารเล็ก ๆ.
  35. วิหารคด : น. วิหารที่มีลักษณะคดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม อาจมีหลัง เดียวก็ได้โดยมากจะมี ๔ มุม และประดิษฐานพระพุทธรูป, สิ่งก่อสร้างที่คดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม.
  36. วิหารราย : น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายใน พุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้ วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร.
  37. วุ้น : น. ของกินชนิดหนึ่ง ทำจากสาหร่ายทะเลเป็นต้น เมื่อนํามาต้มแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็นจะแข็งตัว มีลักษณะค่อนข้างใสและนุ่ม ใช้ทําเป็นของ หวานบางอย่าง เช่นวุ้นกะทิ วุ้นนํ้าเชื่อม, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เคี่ยวหนังหมูจนเปื่อยเป็นวุ้น.
  38. วุ้นตาวัว : น. ชื่อวุ้นหวานชนิดหนึ่ง หยอดในถ้วยตะไล มีไส้ทำด้วย ถั่วกวนปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ อยู่ตรงกลาง.
  39. วุ้นเส้น : น. แป้งถั่วเขียวทําเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวอย่างเส้นลวด เมื่อ แช่นํ้าทําให้อ่อนคล้ายวุ้น ใช้ทําเป็นอาหาร เช่น แกงร้อน, เส้นแกงร้อน ก็เรียก.
  40. วุบ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งที่มีรูปร่าง ที่ปรากฏให้เห็นแล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น หายวุบ.
  41. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  42. เวทานต์, เวทานตะ : น. ชื่อคัมภีร์หนึ่งที่ถือว่าอาตมันเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง คัมภีร์นี้อ้างคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นหลัก ซึ่งคัมภีร์เหล่านั้น อยู่ในระยะสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท จึงได้ชื่อว่า เวทานต์ คือ ที่สุดแห่งคัมภีร์พระเวท; ชื่อปรัชญาอินเดียฝ่ายพระเวท. (ส.).
  43. เว้น : ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
  44. แว้งกัด : ก. กิริยาที่เอี้ยวตัวหรือคอไปกัดโดยเร็ว เช่น หมาแว้งกัด, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อุตส่าห์อุปถัมภ์ คํ้าชูมาตั้งแต่เล็ก ยังแว้งกัดได้.
  45. แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
  46. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  47. แว่นตา : น. สิ่งที่ทําด้วยแก้วหรือวัสดุใส เป็นเครื่องสวมตาเพื่อช่วย ให้แลเห็นชัดขึ้นเป็นต้น.
  48. แว่นฟ้า : น. กระจก, เรียกพระแท่นที่ประดับกระจกว่า พระแท่น แว่นฟ้า; เรียกพานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือ กระจกเป็นต้นใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีกชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทองใบบนเป็นพาน เล็กซ้อนอยู่บนพานใหญ่ ว่า พานแว่นฟ้า.
  49. แว่นส่องหน้า : น. สิ่งที่ทำด้วยโลหะขัดจนเป็นเงา ใช้ส่องหน้าใน สมัยก่อนที่จะมีกระจกเงา.
  50. แววตา : น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | [2401-2450] | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2886

(0.0995 sec)