Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สิ่งเล็กสิ่งน้อย, เล็ก, สิ่ง, น้อย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สิ่งเล็กสิ่งน้อย, 2886 found, display 701-750
  1. กุ้งนาง : น. กุ้งก้ามกรามเพศเมียลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่า เพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน.
  2. กุ้งฝอย : น. ชื่อกุ้งตัวเล็ก ๆ มีหลายชนิด ที่พบในทะเล คือ ชนิด Penaeopsis avirostris ในวงศ์ Penaeidae ที่พบในน้ำจืด คือ สกุล Caridina และ สกุล Atyopsis ในวงศ์ Atyidae และชนิด Macrobrachium lanchesteri ในวงศ์ Palaemonidae.
  3. กุ้งยิง : น. ฝีหัวเล็ก ๆ ซึ่งเกิดจากการอักเสบที่ต่อมขอบตา.
  4. กุ้งเหลือง : น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus latisulcatus ในวงศ์ Penaeidae ขนาดเล็กกว่ากุ้งกุลาดํา ลําตัวสีเหลืองปนน้ำตาล ขอบของส่วนท้องสีม่วง แพนหางสีฟ้า, กุ้งเหลืองหางฟ้า ก็เรียก.
  5. กุบ : น. ซองหนังชนิดหนึ่ง เมื่อตัดทองคําใบชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สอดในกระดาษแก้วหนาแผ่นเล็กซ้อนกันเป็นตั้งแล้วใส่ใน ซองหนังนั้น ตีซองแผ่ทองคำให้บางออกไป; ชาวภาคพายัพบางถิ่น และพวกเงี้ยวเรียกหมวกชนิดต่าง ๆ ว่า กุบ; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) กลัก, กล่อง.
  6. กุรระ, กุรุระ : [กุระระ, กุรุระ] (แบบ) น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. กุรร).
  7. กุลาลาย : น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus semisulcatus ในวงศ์ Penaeidae รูปร่างและขนาดคล้ายกุ้งกุลาดํา สีน้ำตาลอมแดง แต่มีลายน้อยกว่า กุ้งกุลาดำ หนวดมีลายสลับเป็นปล้อง.
  8. กุศล : [-สน] น. สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ. ว. ฉลาด. (ส.; ป. กุสล).
  9. กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
  10. กุหลาบ : [-หฺลาบ] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มในสกุล Rosa วงศ์ Rosaceae ต้นตรงหรือทอดเลื้อย ลําต้นและกิ่งมีหนาม ขอบใบจัก ดอกสีต่าง ๆ กลิ่นหอม มีมากชนิดและมากพันธุ์ เรียกชื่อต่าง ๆ กัน ดอกของกุหลาบบางชนิด เช่น กุหลาบมอญ หรือ ยี่สุ่น (R. damascena Mill) ใช้กลั่นน้ำหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้น ขนาดเล็กในสกุล Rhododendron วงศ์ Ericaceae ขึ้นตามป่าเขาใน ระดับสูง เช่น กุหลาบแดง (R. simsii Planch.) กุหลาบขาว (R. ludwigianum Hoss.).
  11. กูปรี : [-ปฺรี] น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli ในวงศ์ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกระทิงและวัวแดง ตัวสีดํา ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ปลายแตกเป็นเส้น ๆ มองเห็นเป็นพู่ ส่วนตัวเมียเขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดศรีสะเกษและตามชายแดนไทย-กัมพูชา หากินในทุ่งหญ้า โดยรวมฝูงอยู่กับกระทิงและวัวแดง เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว, โคไพร ก็เรียก.
  12. เก๊กฮวย : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Chrysanthemum วงศ์ Compositae ชนิด C. indicum L.ดอกเล็ก สีเหลือง กลิ่นหอม, เบญจมาศสวน ก็เรียก, และชนิด C. morifolium Ramat. พันธุ์ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, เบญจมาศหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ดอกตากแห้งชง กับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลใช้ดื่มแก้กระหาย.
  13. เก้ง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีน้ำตาล จนถึงน้ำตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง หรือฟาน (Muntiacus muntjak) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ เก้งดํา (M. feae) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีน้ำตาลแก่เกือบดํา ที่หัวมีขนลักษณะคล้าย จุกสีเหลืองแซมดํา, ปักษ์ใต้เรียก กวางจุก.
  14. เก็บ ๑ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  15. เก็บเล็ม : ก. ค่อย ๆ เก็บทีละน้อย.
  16. เกย ๒ : น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้น หรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่ ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน. (รูปภาพ เกย)
  17. เกยลา : น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านาย รองจากพระเจ้าแผ่นดินลงมา; นอกชาน.
  18. เกร็ด ๑ : [เกฺร็ด] น. ลําน้ำเล็กที่เป็นทางลัดเชื่อมลําน้ำใหญ่สายเดียวกัน ทั้ง ๒ ข้าง, ใช้เป็น เตร็ด ก็มี.
  19. เกรียก ๑ : [เกฺรียก] ก. เอามีดสับ ผ่า หรือจักชิ้นไม้ให้ฉีกออกไปตามเนื้อไม้ เพื่อให้เป็นซีกเป็นเสี้ยวน้อย ๆ เช่น เกรียกไม้ทำเชื้อไฟ.
  20. เกรียน ๓ : [เกฺรียน] น. แป้งซึ่งนวดด้วยน้ำร้อนแล้วไม่น่ายเป็นเม็ดปนอยู่ เม็ดนั้นเรียกว่า เกรียน; เรียกปลายข้าวขนาดเล็กว่า ข้าวปลายเกรียน.
  21. เกรียม : [เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อน มีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
  22. เกล็ดปลาช่อน : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Phyllodium pulchellum (L.) Desv. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ช่อดอกยาว ดอกเล็กอยู่ภายในกาบรูปหอยแครงซึ่งประกบเรียงกันไปตาม แนวก้านช่อดอก, ลิ่นต้น ก็เรียก.
  23. เกล็ดเลือด : น. เม็ดเลือดขนาดเล็ก เล็กกว่าเม็ดเลือดแดงและ เม็ดเลือดขาวมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด.
  24. เกลา : [เกฺลา] ก. ทําสิ่งที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงหรือได้รูปทรงดีขึ้น เช่น เกลาไม้ไผ่, ทำให้ดีขึ้นหรือเรียบร้อยขึ้น เช่น เกลาสํานวน หนังสือ เกลานิสัย.
  25. เกลือก ๑ : [เกฺลือก] ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา. เกลือกกลั้ว ก. คบหาสมาคม, คลุกคลี, เช่น เกลือกกลั้วกับคนพาล; ทําให้มัวหมอง, ทําให้มีมลทิน, เช่น ไม่มีอะไรมาเกลือกกลั้ว. เกลือกกลิ้ง ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้หรือด้วย ความทุกข์ทรมาน เช่น นอนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.
  26. เกา : ก. เอาเล็บหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บครูดผิวหนังเพื่อให้หายคันเป็นต้น, อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่.
  27. เกาลัด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Sterculia monosperma Vent. ในวงศ์ Sterculiaceae ขอบใบเรียบ ดอกเล็ก สีชมพูอมเขียว เปลือกผลหนา ไม่มีหนาม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง สีน้ำตาลแกมแดง เปลือกไม่แข็ง เนื้อในสีขาว กินได้.
  28. เกาลัดจีน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Castanea mollissima Blume ในวงศ์ Fagaceae ขอบใบจักแหลม ดอกเล็ก สีน้ำตาลอ่อน เปลือกหุ้มผลหนามีหนามแหลม เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง เปลือกแข็ง สีน้ำตาลแกมแดง เนื้อในสีขาว กินได้.
  29. เกาะ ๑ : น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ; ละเมาะ, โดยปริยายใช้เรียก ขึ้นพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้เป็นต้นหนาแน่น มีทุ่งหรือที่เตียนล้อมรอบ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  30. เกาะ ๒ : ก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา, เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้, โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อนบินเกาะหมู่ วิ่งเกาะกลุ่ม; ไปเอาตัวมาโดยอํานาจศาลเป็นต้น เช่น ไปเกาะตัวมา.
  31. เกี่ยว : ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
  32. เกี๊ยว : น. ของกินชนิดหนึ่งใช้แผ่นแป้งสาลี ตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ห่อหมูสับเป็นต้น. (จ.).
  33. แก ๑ : น. ชื่อนกชนิด Corvus splendens ในวงศ์ Corvidae รูปร่างคล้ายกา แต่ตัวและปากเล็กกว่า ด้านหลังท้ายทอยสีเทา, อีแก ก็เรียก.
  34. แก ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒; (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  35. แกงขม : น. เครื่องกินกับขนมจีนน้ายา มีมะระหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วลวกให้สุก.
  36. แกงส้ม : น. แกงพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ กะทิ หรือ น้ำมัน มีรสเปรี้ยวด้วยน้ำส้มมะขาม ใช้ผัก ผลไม้ หรือ ดอกไม้บางอย่าง เป็นต้น แกงกับกุ้งหรือปลา เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ เช่น แกงส้มผักกาดขาว แกงส้มมะละกอ แกงส้มดอกแค.
  37. แกน : น. วัตถุแข็งที่อยู่ตรงกลางของสิ่งอื่นสําหรับยึดให้อยู่, วัตถุแข็งที่มีสิ่งอื่นหุ้ม. ว. แข็งเป็นไตอยู่ข้างใน (มักใช้แก่ผลไม้) เช่น ทุเรียนแกน มะม่วงแกน; ขัดสน,จําใจ, เช่น อยู่ไปแกน ๆ เต็มแกน.
  38. แก่นสาร : น. สิ่งที่ยั่งยืนถาวร, หลักที่ควรยึดถือ, คุณประโยชน์, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่เป็นแก่นสาร
  39. แก้บน : ก. เซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตนได้บนบานไว้, ใช้บน ก็ว่า.
  40. แก้ม : น. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่ ๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม.
  41. แก้มือ : ก. ขอสู้ใหม่, ทําสิ่งที่เสียแล้วเพื่อให้ดีขึ้น.
  42. แกลบ ๒ : [แกฺลบ] น. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงสาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาว ๑.๓-๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๕-๑๐ มิลลิเมตร ลําตัวแบน รูปไข่ ขอบหน้าด้านหลังของปล้องอกยื่นออกไปคลุมหัว หนวดยาว ขายาว มีหนามคลุมเต็ม บางชนิดอาศัยอยู่ตามขี้เลื่อย หรือกองแกลบ ที่ผุพัง เช่นชนิด Pycnocelis surinamensis ในวงศ์ Blaberidae แต่บางชนิดอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ตามกองกระดาษหรือเศษขยะมูลฝอย เช่น ชนิด Blattella germanica, Supella supellectilium ในวงศ์ Blattellidae.
  43. แกลบ ๓ : [แกฺลบ] น. เรียกม้าพันธุ์เล็กว่า ม้าแกลบ; เรียกวิหารขนาดเล็กว่า วิหารแกลบ.
  44. แก้ว ๑ : น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย, ของที่ทําเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาว เป็นส่วนประกอบสําคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่น ออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น; เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำกินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคําว่า แก้ว ทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคํานามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.
  45. แก้ว ๓ : น. ชื่อตัวหนอนซึ่งเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อ ตามลําตัวมีขนน้อยและ มักเป็นขนสั้น ๆ ผิวลําตัวเป็นมันเลื่อมคล้ายแก้ว มีสีสันต่าง ๆ กัน บางชนิดสีเขียว เขียวปนเหลือง และบางชนิดมีลายเป็นดวง ๆ บางชนิดจะปล่อยสารใสคล้ายแก้วเห็นเป็นทางเมื่อเคลื่อนผ่านไป เช่น หนอนแก้วส้ม (เช่น ชนิด Papilio demoleus) ในวงศ์ Papilionidae.
  46. แก้ว ๔ : น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด Otolithoides biauritus ในวงศ์ Sciaenidae ลําตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และ นูนเป็นสัน ลําตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น ยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก.
  47. แกว่ง : [แกฺว่ง] ก. อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นทีทางนี้ทีโดยที่โคน หรือต้นของสิ่งนั้นติดอยู่กับสิ่งอื่น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยู่กับที่, ไม่อยู่ในแนว, เช่น จิตแกว่ง.
  48. แก้วตา : น. ส่วนสําคัญของตาที่ทําให้แลเห็น, ส่วนใสของดวงตา มีรูปกลมนูนทั้ง ๒ ข้าง ลักษณะใส แต่พื้นหลังนูนออกมากกว่าพื้นหน้า ตั้งอยู่ภายในดวงตา (ข้างหลังกระจกตา กั้นอยู่ระหว่าง posterior chamber กับ vitreous body ของดวงตา); โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่รักยิ่ง.
  49. แกะ ๒ : ก. เอาเล็บมือค่อย ๆ แคะเพื่อให้หลุดออก เช่น แกะสะเก็ด, เอาสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือทําเช่นนั้น, ทําเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือ โดยวิธีแกะ เช่น แกะตรา, โดยปริยายหมายความว่า เหมือนกันอย่างกับโขกหรือแคะมาจากพิมพ์เดียวกัน ในความว่า เหมือนกันอย่างกับแกะ; เอามือแงะหรือง้างสิ่งที่เกาะติดกันแน่น หรือกอดไว้แน่นให้หลุดออกจากกัน เช่น แกะมือที่กําแน่น.
  50. โกโก้ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Theobroma cacao L. ในวงศ์ Sterculiaceae ดอกเล็ก สีขาวอมเหลืองหรือขาวอมชมพู ออกตามกิ่งและลําต้น ผลคล้ายมะละกอขนาดเล็ก ผิวแข็งขรุขระ สีน้ำตาล เมล็ดแก่คั่วแล้ว บดเป็นผง ใช้ชงเป็นเครื่องดื่มและทําขนมได้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2886

(0.0985 sec)