Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พุกามประเทศ, ประเทศ, พุกาม , then ปรทศ, ประเทศ, พกามปรทศ, พุกาม, พุกามประเทศ, พูกาม, พูกามประเทศ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พุกามประเทศ, 289 found, display 151-200
  1. ปักปันเขตแดน : ก. กำหนดเขตแดนระหว่างประเทศเมื่อมีปัญหา เกี่ยวกับพรมแดนเป็นต้น.
  2. ปัจจันตประเทศ : น. ประเทศปลายเขตแดน, ในวินัยหมายถึงที่อยู่ นอกออกไปจากมัชฌิมประเทศ. (ป.).
  3. ปาล์ม : น. ชื่อเรียกไม้ต้นหรือไม้พุ่มในวงศ์ Palmae ชนิดที่นําเข้ามาจาก ต่างประเทศ เช่น ปาล์มขวด [Roystonea regia (Kunth) Cook] ปลูกเป็นไม้ประดับ, ปาล์มนํ้ามัน (Elaeis guineensis Jacq.) ปลูกใช้ผลและเมล็ดทํานํ้ามัน.
  4. เป็นสุข : ก. มีความสบายกายสบายใจ เช่น เขาถูกลอตเตอรี่รางวัล ที่ ๑ เวลานี้จึงเป็นสุขมาก ประชาชนในประเทศนี้อยู่เย็นเป็นสุข เสมอหน้ากัน, โดยปริยายหมายความว่า ตาย เช่น ไหน ๆ เขาก็ เป็นสุขไปแล้ว อโหสิให้เขาเถิด.
  5. ไปรษณีย์รับรอง : น. ไปรษณีย์พิเศษอย่างหนึ่งซึ่งรับฝากและ นําจ่ายไปรษณียภัณฑ์โดยมีหลักฐานการรับฝากและนำจ่าย ใช้เฉพาะกิจการไปรษณีย์ในประเทศเท่านั้น.
  6. ผกากรอง : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Lantana วงศ์ Verbenaceae เช่น ชนิด L. camara L. ลําต้นตรง กิ่งสี่เหลี่ยมมีหนามเล็กห่าง ๆ ดอกเป็นกระจุกสีชมพู หรือ แดงอมเหลือง ปลูกเป็นไม้ประดับ และแพร่พันธุ์จนเป็นวัชพืชในบางท้องที่, ก้ามกุ้ง ก็เรียก, ชนิด L. sellowiana Link. ลําต้นเลื้อย กิ่งไม่มีหนาม ดอกสีม่วง, ผกากรองเลื้อย ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ต่างประเทศ; ชนิด L. trifolia L. ขึ้นในป่าโปร่งระดับสูงทางภาคเหนือ ลําต้นกลม ดอกสีม่วง.
  7. ผ้าเทศ : (โบ) น. ผ้าขาวเนื้อดีมาจากต่างประเทศ.
  8. ผู้ชำนาญการพิเศษ : (กฎ) น. ผู้มีความชํานาญพิเศษในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือ กฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจมีประโยชน์ใน การวินิจฉัยคดีในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดี อาญาไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพในการนั้นหรือไม่ก็ตาม.
  9. ผู้เชี่ยวชาญ : (กฎ) น. ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในทางศิลปะ วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้าหรือการงานที่ทํา หรือในกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาด ข้อความในประเด็นแห่งคดีแพ่ง ไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพในการนั้น หรือไม่ก็ตาม.
  10. ผู้ดูแลนักเรียน : น. ข้าราชการที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองนักเรียน ในต่างประเทศ.
  11. เผด็จการ : น. การใช้อํานาจบริหารเด็ดขาด, เรียกลัทธิหรือแบบการ ปกครองที่ผู้นำคนเดียวหรือบุคคลกลุ่มเดียวใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด ในการบริหารประเทศว่า ลัทธิเผด็จการ, เรียกผู้ใช้อำนาจเช่นนั้นว่า ผู้เผด็จการ.
  12. ฝรั่ง ๑ : [ฝะหฺรั่ง] น. ชนชาติผิวขาว; คําประกอบชื่อสิ่งของบางอย่างที่มาจาก ต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะคล้ายของไทย เช่น ขนมฝรั่ง ละมุดฝรั่ง มันฝรั่ง ตะขบฝรั่ง ผักบุ้งฝรั่ง แตรฝรั่ง.
  13. ฝรั่งเศส : น. ชาวยุโรป มีประเทศตั้งอยู่ทิศตะวันตกภาคพื้นยุโรป, ชื่อภาษาของชนชาตินั้น. (ฝ. Fran?aise).
  14. ฝืด : ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสี เป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณ เงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลงทำให้ราคา สินค้าตก ว่า เงินฝืด.
  15. พงศาวดาร : [วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติ หรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.
  16. พม่า ๑ : [พะม่า] น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและ ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย.
  17. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  18. พริกเทศ : น. พริกแห้งเม็ดยาวมาจากต่างประเทศ.
  19. พลเมือง : [พนละ] น. ประชาชน, ราษฎร, ชาวประเทศ.
  20. พลัดถิ่น : ว. อยู่ไกลจากถิ่นที่อยู่ของตน เช่น เรียกรัฐบาลที่ตั้งศูนย์ บัญชาการอยู่นอกประเทศของตนว่า รัฐบาลพลัดถิ่น.
  21. พวน ๓ : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว ส่วนหนึ่ง ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย.
  22. พสกนิกร : [พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน] น. คนที่อยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ ก็ตาม.
  23. พิเทศ : น. ต่างประเทศ. (ส. วิเทศ).
  24. พิธีสาร : (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตราสารอันบรรจุไว้ซึ่งความตกลงที่มีความสําคัญรองลงมาจาก สนธิสัญญาและอนุสัญญา โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายหรือแก้ไข เพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา. (อ. protocol).
  25. เพื่อ : บ. เหตุด้วย, เพราะด้วย, เพราะ, เพราะว่า, ด้วย, เช่น ทำงานเพื่อจะ ได้เงิน, ด้วยว่า, เกี่ยวกับ, เนื่องด้วย, สําหรับ, เช่น สละชีวิตเพื่อ ประเทศชาติ ทำงานเพื่อลูก.
  26. โพธิบัลลังก์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า. (ป. โพธิปลฺลงฺก).
  27. โพ้นทะเล : ว. ห่างไกลจากประเทศบ้านเกิดเมืองนอนโดยมีทะเลกั้น, เรียกชาวจีนที่อยู่นอกประเทศออกไปโดยมีทะเลกั้นว่า จีนโพ้นทะเล.
  28. ไพรัช, ไพรัช : ว. นอกประเทศ, ต่างประเทศ, เช่น ไพรัชพากย์.
  29. : พยัญชนะตัวที่ ๓๑ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบใน คําที่มาจากภาษาต่างประเทศเช่น เสิร์ฟ เนกาทิฟ ไมโครเวฟ.
  30. ฟุบ : ก. หมอบลง, ยอบลง, เช่น ฟุบตัวลงกราบ เป็นลมฟุบไป, ยุบลงอย่างจมูกยุบ; ลักษณะที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มีน้อย ทำให้สินค้าราคาตก เรียกว่า เงินฟุบ, ตรงข้ามกับ เงินเฟ้อ.
  31. เฟ้อ : ก. ฟุ้ง, ฟุ้งซ่าน, เหลิง; อืดขึ้น, พองขึ้น. ว. มากเกินควร, มากเกินไป, เช่น คะแนนเฟ้อ; เรียกอาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อย และเป็นพิษว่า ท้องเฟ้อ; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียน ในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า ว่า เงินเฟ้อ.
  32. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  33. ภารตวิทยา : น. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).
  34. ภาวะฉุกเฉิน : น. ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัย แห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทําให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือ ภาวะการรบหรือการสงคราม.
  35. ภาษาราชการ : น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.
  36. ภาษี : น. เงินที่รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคล เพื่อใช้จ่ายในการบริหาร ประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม; ความได้เปรียบ เช่น เขามีภาษีกว่า.
  37. มรัมเทศ : [มะรํามะเทด] น. ประเทศพม่า. (ป. มรมฺมเทส).
  38. มลายู : [มะ-] น. ชื่อชนชาติหนึ่ง อยู่ในประเทศมาเลเซียและเกาะต่าง ๆ ตอนใต้ของแหลมมลายู.
  39. มหาอำนาจ : ว. เรียกประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางทหารสูงว่า ประเทศมหาอำนาจ.
  40. มองโกเลีย : น. ชื่อประเทศอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจีน มีเมืองหลวงชื่อ อูลานบาตอร์ เดิมเรียกว่า มองโกเลียนอก ส่วนมองโกเลียใน ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน,เรียกประชาชนในประเทศนั้นว่า ชาวมองโกเลีย. (อ. Mongolia).
  41. มอญ ๑ : น. ชื่อชนชาติหนึ่ง เคยเป็นใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของพม่า ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ประเทศพม่า มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้.
  42. มัชฌิมชนบท : น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  43. มัธยมกาล : น. เวลาของตําบลใดตําบลหนึ่งที่ทางการบัญญัติให้ใช้ เป็นเวลากลางสําหรับประเทศ.
  44. ม้าเทศ : น. ม้าขนาดใหญ่ที่มาจากต่างประเทศ.
  45. เมืองขึ้น : น. เมืองที่เป็นข้าขอบขัณฑสีมา, ประเทศที่อยู่ในปกครองของประเทศอื่น.
  46. เมืองนอก : (ปาก) น. ประเทศอื่น ๆ, ต่างประเทศ มักหมายถึงประเทศใน ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา.
  47. ย่ำยี : ก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น.
  48. เยอรมัน : น. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชาวยุโรปชาติหนึ่งที่อยู่ทางทิศ ตะวันตกของภาคพื้นยุโรป.
  49. ระบบ : น. กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่ง ความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผล ทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ.
  50. รักบี้ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง เล่นครั้งแรกที่โรงเรียนรักบี้ ประเทศอังกฤษ แบ่ง ผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย โดยปรกติเล่นฝ่ายละ ๑๕ คน แต่ที่เล่นฝ่ายละ ๗ คน ก็มี ผู้เล่นแต่ละฝ่ายพยายามแย่งลูกรักบี้ไปวางพ้นแนวประตูฝ่ายตรงข้าม แล้วนำมาเตะ ณ แนวจุดเตะเพื่อให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามฝ่ายที่ได้คะแนน มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกเต็มว่า รักบี้ฟุตบอล, เรียกลูกหนังที่มีลักษณะ กลมรีใช้ในการเล่นรักบี้ว่า ลูกรักบี้. (อ. rugby football).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-289

(0.0819 sec)