Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อะไร , then อร, อะไร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อะไร, 293 found, display 101-150
  1. นิ่งเฉย : ว. เฉยอยู่ไม่พูดไม่ทําอะไร.
  2. นิยมนิยาย : (ปาก) น. ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยาย ไม่ได้หมายความว่า หาความแน่นอนจริงจังอะไรไม่ได้.
  3. นิรนาม : [ระนาม] ว. ไม่รู้ว่าชื่ออะไร.
  4. นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  5. เนื้อเพลง : น. ส่วนสําคัญของทํานองเพลงที่บอกให้รู้ว่าเป็นเพลงอะไร; ทํานองเพลง.
  6. บดเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออก มาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
  7. บทบูรณ์ : [บดทะ-] น. คําที่ทําให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตาม ฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คํา ''นุ'' เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
  8. บริสุทธิ์ : [บอริสุด] ว. แท้, ไม่มีอะไรเจือปน, เช่น ทองบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน, ปราศจากความผิด, เช่น เป็นผู้บริสุทธิ์, หมดจดไม่มีตําหนิ เช่น เพชรบริสุทธิ์ เครื่องแก้วบริสุทธิ์; เรียกสาวพรหมจารีว่า สาวบริสุทธิ์. น. แร่ชนิดหนึ่ง ในจําพวกนวโลหะ. (ป. ปริสุทฺธิ).
  9. บ้าดีเดือด : ว. มีอาการคลุ้มคลั่งมุทะลุดุดันเป็นคราว ๆ, โดยปริยาย หมายความว่า มีอารมณ์หุนหันพลันแล่นชอบทําอะไรรุนแรง.
  10. บ่านี่ : ว. อะไรนี่, ทําไมนี่.
  11. บ้าสมบัติ : ว. ที่เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าไปทั้งหมด, ที่ชอบสะสม สิ่งของต่าง ๆ ไว้มากจนเกินความจําเป็น.
  12. บ้าหอบฟาง : (สํา) ว. บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง.
  13. บิดจะกูด, บิดตะกูด : ว. อาการที่บิดไปบิดมาไม่ยอมทําอะไรหรือ ไม่ยอมทําตามสั่ง.
  14. เบ็ดเตล็ด : [เบ็ดตะเหฺล็ด] ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น ของ เบ็ดเตล็ด, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สู้จะสําคัญอะไรนัก เช่น เรื่องเบ็ดเตล็ด.
  15. เบี้ยหัวแตก, เบี้ยหัวแหลก : น. เงินที่ได้มาไม่เป็นกอบเป็นกําแล้ว ใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน.
  16. ปนเป : ว. ปนกันยุ่งจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร.
  17. ประมาณตน, ประมาณตัว : ก. สํานึกในฐานะของตน. ว. เจียมตัว, ไม่ทําอะไรเกินฐานะของตน.
  18. ปร่า : [ปฺร่า] ว. ลักษณะของรสที่ไม่กลมกล่อมไม่แน่ชัดว่าเป็นรสอะไร เช่นรสแกงที่มีเครื่องปรุงไม่เหมาะส่วน.
  19. ปฤจฉาคุณศัพท์ : (ไว) น. คําคุณศัพท์ที่เป็นคําถาม เช่นคํา ''อะไร'' ฯลฯ. ป
  20. ปลิ้น : [ปฺลิ้น] ก. กลับข้างในบางส่วนให้โผล่ออกมา เช่น ปลิ้นตา, โผล่ยื่น หรือทําให้โผล่ยื่นออกมาจากสิ่งที่มีอะไรห่อหุ้มอยู่ เช่น พุงปลิ้น ตาปลิ้น; (ปาก) ลักลอบหรือหลอกลวงเอาไปซึ่งหน้า เช่น ปลิ้นเอาเงินไป.
  21. ปวารณา : [ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความ เต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนา ยอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).
  22. ปอด ๑ : (สรีร) น. อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกาย ของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก; ตัวสกาที่ข้าม เขตไปไม่ได้. ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร.
  23. ปากไม่มีหูรูด : ว. ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อน ว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด.
  24. ปาน ๓ : ว. เหมือน, คล้าย, เช่น เก่งปานกัน; เช่น, เพียง, ดัง, เช่น ดีถึงปานนี้ เก่งอะไรปานฉะนี้.
  25. ปิสัง : (ถิ่น-อีสาน) ว. อะไร, พิสัง ก็ว่า.
  26. เป็นไรเป็นกัน : ก. ถึงเป็นอะไรก็ยอม, สู้จนถึงที่สุด.
  27. เปล่า : [เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มี ข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.
  28. เปลือย : [เปฺลือย] ว. ไม่มีอะไรปกปิดร่างกาย เช่น เปลือยหลัง เปลือยไหล่; โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สายเปลือย คือ สายไฟฟ้าที่ไม่มีผ้าหรือยางหุ้ม.
  29. ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า : (สํา) การทําอะไร ๆ จะให้ถูกใจคนทั้งหมด นั้นเป็นไปไม่ได้. ว. ทําอย่างไร ๆ ก็ไม่ถูกใจสักอย่าง.
  30. ฝนตกไม่ทั่วฟ้า : (สํา) ก. ให้หรือแจกจ่ายอะไรไม่ทั่วถึงกัน.
  31. ฝนตกอย่าเชื่อดาว : (สํา) ก. อย่าไว้วางใจใครหรืออะไรจนเกินไป, มักใช้ เข้าคู่กับ มีเมียสาวอย่าเชื่อแม่ยาย ว่า ฝนตกอย่าเชื่อดาว มีเมียสาวอย่าเชื่อ แม่ยาย.
  32. พระอันดับ : น. พระลูกวัด, พระอนุจร ก็เรียก, พระผู้มิได้เป็นประธาน หรือคู่สวดในสังฆกรรม เช่น พระอันดับนาค (พระอันดับในพิธีบวช นาค) พระอันดับแจง (พระอันดับในพิธีสวดแจง), โดยปริยายหมายถึง ผู้น้อยที่เข้าร่วมพิธีโดยมิได้มีบทบาทสําคัญอะไร.
  33. พรายย้ำ : น. รอยดํา ๆ คล้ายถูกอะไรกัดเป็นรอยชํ้า ปรากฏตาม ร่างกายเป็นแห่ง ๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอย่างไร โบราณถือว่า ถูกผีพรายกัดยํ้าเอา แต่ไม่ถึงกับเข้าเป็นแผล.
  34. พลั้งปากเสียศีล พลั้งตีนตกต้นไม้ : (สํา) ก. พูดหรือทําอะไรโดยไม่ ระมัดระวังย่อมเกิดความเสียหาย.
  35. มโนธรรม : น. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี, ความรู้สึกว่าอะไรควรทําอะไร ไม่ควรทํา.
  36. มรรคผล : (ปาก) น. ผล, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นมรรคผล ไม่ได้มรรคผลอะไร.
  37. มับ : ว. คําสําหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.
  38. มึนงง : ก. งงจนทําอะไรไม่ถูกหรือคิดอะไรไม่ออก.
  39. มืดหน้า : ว. มีอาการเวียนหัวเห็นอะไรพร่าไปหมด เช่น อากาศร้อน มากจนรู้สึกมืดหน้า.
  40. มือเบา : ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างละมุนละไมหรือ ประณีตบรรจง, ตรงข้ามกับ มือหนัก.
  41. มือหนัก : ว. อาการที่ใช้มือทําอะไรอย่างรุนแรงหรือไม่ประณีต บรรจง, ตรงข้ามกับ มือเบา; มากผิดปรกติ (มักใช้ในการเล่น การพนันหรือตกรางวัลเป็นต้น) เช่น เขาแทงโปมือหนัก เขาตกรางวัลนักร้องมือหนักไป.
  42. มุทะลุ : ก. หุนหันพลันแล่น, โกรธแล้วทําลงไปอย่างไม่คํานึงถึงเหตุผลหรือ ไม่ยับยั้ง. ว. มีนิสัยดุดัน ชอบทำอะไรอย่างหุนหันพลันแล่นหรือ โดยขาดสติปราศจากความยั้งคิด.
  43. เมฆฉาย : [เมก-] น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี. (ขุนช้างขุนแผน); การอธิษฐานโดยบริกรรม ด้วยมนตร์เชื่อกันว่าจะทําให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่า คนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร.
  44. เมื่อยขบ : ก. อาการที่เมื่อยปวดเหมือนมีอะไรขบบีบ หรือกดอยู่ที่ตรงนั้น.
  45. แม่มด : น. หญิงหมอผี, หญิงที่ใช้อํานาจเวทมนตร์บังคับภูตผีให้ช่วยทําอะไร บางอย่างที่ผิดปรกติธรรมดาได้, หญิงที่ทรงเจ้าเข้าผี.
  46. ไม่ใช่ขี้ไก่ : (สํา) ว. ไม่เลว, มีอะไรดีเหมือนกัน ดูหมิ่นไม่ได้.
  47. ไม่ได้เบี้ยออกข้าว : (สํา) ว. ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยเลย, ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยแล้ว ยังต้องเสียผลประโยชน์ไปอีก.
  48. ไม่ได้สิบ : (กลอน) ก. งงจนคิดอะไรไม่ออกหรือทําอะไรไม่ถูก เช่น ท้าวสามนต์ เสียใจไม่ได้สิบ. (สังข์ทอง).
  49. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  50. ยอก : ก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมี อะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-293

(0.0510 sec)