Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ม้า , then มา, ม้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ม้า, 2963 found, display 2051-2100
  1. ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  2. ยิบ ๒ : (ปาก) ก. ยักเอาไว้, ริบไว้, เช่น ไม่รู้ว่าใครเอาของมาลืมทิ้งไว้ เลยยิบ เอาไปเสียเลย.
  3. ยิปซัม : น. แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อไฮเดรเตดแคลเซียมซัลเฟต (hydrated calcium sulphate) มีสูตร CaSO4?2H2O เมื่อนํามาเผาให้ร้อนถึง ๑๒๐?๑๓๐?ซ. จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์, หินฟองเต้าหู้ หรือ เกลือจืด ก็เรียก. (อ. gypsum).
  4. ยิ้มแก้เก้อ, ยิ้มแก้ขวย : ก. อาการที่รู้สึกเก้อหรือขวยแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ฝืนยิ้มออกมา.
  5. ยี : ก. ขยี้ เช่น ยีลูกตาล, ขยี้ให้ฟู เช่น ยีแป้งขนมขี้หนู, ทำให้ฟู เช่น ยีผม, ละเลง เช่น ตักอาหารมามาก ๆ กินไม่หมดจะเอายีหัว.
  6. ยี้ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น ยี้! เสื้อสกปรกอย่างนี้ยังจะเอามาให้อีก, อี๊ ก็ว่า.
  7. ยึกยัก : ก. ขยุกขยิก, ยักไปยักมา, เช่น นั่งทำตัวยึกยัก. ว. อาการที่ลังเลไม่กล้า ตัดสินใจ, กระยึกกระยัก ก็ว่า.
  8. ยึกยือ : ว. หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เขียนหนังสือเป็นตัว ยึกยือ, กระยึกกระยือ ก็ว่า.
  9. ยึด : ก. ถือเอาไว้ เช่น ยึดราวบันไดไว้ให้ดี, เหนี่ยว, รั้ง, เช่น หนุมานยึดรถ พระอาทิตย์; เข้าครอบครอง เช่น ยึดพื้นที่, ใช้อำนาจกฎหมายรับสิ่งใด สิ่งหนึ่งมา เช่น ยึดใบขับขี่ ยึดทรัพย์.
  10. ยึดถือ : ก. จับถือ, เอามารักษา, นับถือ เช่น ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
  11. ยืดหยุ่น : (วิทยา) ว. ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้ หลังจากแรงที่มากระทําต่อวัตถุนั้นหยุดกระทํา; โดยปริยายหมายความ ว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้.
  12. ยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นําของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน เช่น ยืมคําในภาษาบาลีมาใช้ ยืม วัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ยืมความคิด; (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลข ตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนํามาลบ ให้นําเลขจากหลักสูงถัดไป มาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ขอยืม ก็ว่า.
  13. ยืมจมูกคนอื่นหายใจ : (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือน ทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.
  14. ยื้อ : ก. แย่งด้วยอาการเช่นฉุด ยุด ดึงไปมา เช่น ยื้อข้อมือ, มักใช้เข้าคู่กับคํา แย่ง เป็น ยื้อแย่ง เช่น หมายื้อแย่งกระดูกกัน.
  15. ยุ่ง : ว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึง จะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวายว่า ตัวยุ่ง. ก. เข้ามา เกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับ เขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.
  16. ยุ่งสมอง : ก. ทำให้ความคิดสับสน เช่น อย่าเอาเรื่องนี้มาคิดให้ยุ่งสมอง.
  17. ยุ้ย : ว. ยื่นโป่งออกมาอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น แก้มยุ้ย เด็กพุงยุ้ย.
  18. ยุหบาตร : น. กระบวนทัพ. (ตัดมาจาก พยุหบาตร).
  19. ยู่ยี่ : ว. อาการที่ย่นหรือยับจนเสียรูป เช่น ผ้ายับยู่ยี่ ขยำกระดาษเสียยับยู่ยี่; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นแจ่มใส เช่น ตื่นนอนมาใหม่ ๆ หน้าตายู่ยี่.
  20. เย็นเฉื่อย : ว. เย็นเพราะลมพัดมาเรื่อย ๆ เช่น ตรงนี้ลมพัดเย็นเฉื่อย; มี อารมณ์เรื่อย ๆ ช้า ๆ เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เย็นเฉื่อย.
  21. เย็นวาบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นในทันทีทันใดแล้วก็หายไป เช่น ลมพัด กระโชกเข้ามารู้สึกเย็นวาบ.
  22. เย่อ : ก. เอามาด้วยแรงบังคับโดยการฉุดรั้งแย่งกัน, ใช้แรงฉุดรั้งดึงกันไปมา.
  23. เยาวนะ : [วะ] น. ชื่อชนชาติกรีก ซึ่งชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคํา Ionia; ชื่อ เรียกชาวไทยทางล้านนา, ยวน โยน หรือ โยนก ก็เรียก.
  24. เยาวพา : [วะ] น. หญิงสาวสวย. (แผลงมาจาก ยุพา).
  25. เยาวพาน : [วะพาน] น. ชายหนุ่ม. ว. หนุ่ม, รุ่น. (แผลงมาจาก ยุวาน).
  26. เยาว, เยาว์ : [เยาวะ, เยา] ว. อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว, เช่น เยาว์วัย วัยเยาว์. (แผลง มาจาก ยุว).
  27. เยิง ๑ : ว. ป่าเถื่อน. น. ป่า เช่น มาแต่เยิง.
  28. เยิบ, เยิบ ๆ : ว. อาการของสิ่งที่แบนและยาวเมื่อรับน้ำหนักมาก ๆ จะไหวตัวขึ้นลง เป็นจังหวะเนิบ ๆ เช่น กระดานนอกชานอ่อนเยิบ หาบของมาเยิบ ๆ.
  29. เยิ้ม : ก. ซึมออกมาแทบหยด เช่น นํ้าเกลือเยิ้ม น้ำเหลืองเยิ้ม, ชุ่มมากแทบหยด เช่น ใส่นํ้ามันจนเยิ้ม, (โดยมากใช้แก่นํ้าหรือของเหลวที่มีลักษณะเหนียว เหนอะหนะ); โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เห็นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นัยน์ตาเยิ้ม.
  30. เยียน : ก. ไปมาหาสู่, มักใช้ควบกับคํา เยี่ยม เป็น เยี่ยมเยียน, เยือน ก็ว่า.
  31. เยี่ยม ๑ : ก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน; ชะโงก หน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง; โผล่ออก เช่น พระจันทร์เยี่ยมขอบฟ้า.
  32. เยี่ยมกราย : ก. กรายมาให้เห็น เช่น นานแล้วไม่เยี่ยมกรายมาเลย.
  33. เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
  34. เยี่ยมเยียน, เยี่ยมเยือน : ก. ไปมาหาสู่ถามข่าวคราว.
  35. เยียวยา : ก. บําบัดโรค, แก้โรค, เช่น ไม่มีหมอจะมาเยียวยาได้; แก้ไข, ทําให้ดีขึ้น, เช่น เศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก ยากที่จะเยียวยาได้.
  36. เยื้องกราย : ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ; เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายใน การตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).
  37. เยื้องยัก : ก. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, ดัดแปลง, ยักเยื้อง ก็ว่า.
  38. เยือน : ก. เยี่ยม เช่น ลมหนาวมาเยือน ไปเยือนยุโรป.
  39. เยื้อน : ก. เอื้อนกล่าวออกมาโดยมีอาการแช่มช้างดงาม.
  40. โยกโคลง : ก. โยนไปมาไม่มั่นคง.
  41. โยกเยก : ก. เคลื่อนไหวไปมา, โอนไปเอนมา, เช่น อย่านั่งโยกเยก เสา โยกเยกเพราะปักไม่แน่น.
  42. โยค, โยคะ : [โยคะ] น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบําเพ็ญ สมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).
  43. โย่ง : ว. ลักษณะที่สูงกว่าปรกติ เมื่อเคลื่อนไหวดูประหนึ่งว่าโยกเยกไปมา เช่น สูงโย่ง.
  44. โย่งเย่ง : ว. อาการที่คนสูงโย่งเดินโยกเยกไปมา; ไม่รัดกุม.
  45. โยน ๑ : ก. ซัดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นไปจากตัวโดยวิธีหงายมือ เช่น โยนสตางค์ โยนของ, เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวอย่างแรงจากที่เดิม เช่น คลื่นซัดจนเรือโยน คลื่นโยนเรือ, ไหวอย่างแรง แต่ไม่เคลื่อนจากที่เดิม เช่น ลมพัดกิ่งไม้โยนไปโยนมา หอบจนตัวโยน; เหวี่ยงเป็นวงกว้าง เช่น โยนค้อนตีเหล็ก, ปัดให้พ้นตัวไป เช่น โยนบาป โยนเรื่อง.
  46. โยน ๓, โยนก : น. ชื่อชนชาติกรีก ซึ่งชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคํา Ionia; ชื่อเรียกชาว ไทยทางล้านนา, ยวน หรือ เยาวนะ ก็เรียก. (ป.).
  47. โยนหัวโยนก้อย : ก. โยนสตางค์หรือสิ่งอื่นขึ้นไปแล้วทายว่าตกลงมา จะหงายด้านหัวหรือก้อย.
  48. ไย : ว. ไฉน, อะไร, ทําไม, เช่น จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา.
  49. รก ๒ : น. เครื่องสําหรับหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์แนบอยู่กับมดลูก มีสายล่ามมาที่ สะดือเด็ก; สิ่งที่เป็นเส้นคล้ายรากไม้ที่ห้อยอยู่ตามกิ่งไม้บางอย่างเช่น มะดัน เรียกว่า รกมะดัน, บางทีเป็นแผ่นห่อกาบไม้เช่นต้นมะพร้าว เรียกว่า รกมะพร้าว.
  50. รกบิน : น. รกที่ไม่ออกมาตามปรกติภายหลังคลอด แต่กลับตีขึ้นข้างบน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | [2051-2100] | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-2963

(0.1263 sec)