Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ม้า , then มา, ม้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ม้า, 2963 found, display 2201-2250
  1. รู้ที : ก. รู้ชั้นเชิง, รู้เล่ห์เลี่ยม, เช่น มาบ่อย ๆ รู้ทีว่าคงจะประสงค์อะไร อย่างหนึ่ง.
  2. รู้เนื้อรู้ตัว : ก. รู้ตัว เช่น ก่อนจะเข้าไปพบเขา ต้องบอกให้รู้เนื้อรู้ตัว เสียก่อน ผู้ร้ายเข้ามาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว.
  3. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  4. รูปลอก : น. ภาพบนแผ่นกระดาษเป็นต้น เมื่อนํามาปิดบนพื้นแล้วลอก กระดาษออก จะทําให้ภาพติดอยู่บนพื้นนั้น ๆ
  5. รู้สึก : ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุก เท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึก สนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่า จะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไร เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้อง ยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
  6. เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
  7. เรขาคณิตบริสุทธิ์ : (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้กฎเกณฑ์ของระบบ ตรรกศาสตร์โดยเริ่มต้นจากบทนิยามและสัจพจน์ที่เกี่ยวกับรูปทรง มาเรียบเรียงให้เป็นทฤษฎีบทแล้วอนุมานผลลัพธ์จากทฤษฎีบท. เรขาคณิตวิเคราะห์ (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้สมการมาควบคุมเซต ของจุดที่เรียงกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ แล้วอนุมานผลลัพธ์จากการแก้ สมการนั้น ๆ พร้อมทั้งการแปลความหมายด้วย.
  8. เรรวน : ว. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน เช่น จิตใจเรรวน ใจคอเรรวน, รวนเร ก็ว่า.
  9. เร็ว ๆ นี้ : ว. ไม่นาน (ใช้แก่อดีต) เช่น เขามาถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาเพิ่งบรรลุ นิติภาวะเร็ว ๆ นี้, ไม่ช้า (ใช้แก่อนาคต) เช่น เขาจะมาถึงเร็ว ๆ นี้ เขาจะ แต่งงานเร็ว ๆ นี้.
  10. เร็ว, เร็ว ๆ : ว. ไว เช่น กินเร็ว หายเร็ว ๆ, รีบ เช่น เร็วเข้า เร็ว ๆ หน่อย, ด่วน, ไม่ ชักช้า, เช่น ขอให้มาโดยเร็ว.
  11. เรอ : ก. อาการที่ลมในกระเพาะพุ่งออกทางปาก มักมีเสียงดังออกมาด้วย.
  12. เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
  13. เรียก : ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็ง เรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.
  14. เรียกขวัญ : ก. เชิญขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวโดยมีหมอขวัญทำพิธี.
  15. เรียกตัว : ก. สั่งให้มาปรากฏตัว, สั่งให้มารายงานตัว, เช่น พ่อเรียกตัว ให้กลับจากต่างประเทศ ศาลเรียกตัวให้ไปเป็นพยาน.
  16. เรียกเนื้อ : ก. ทําให้เนื้อดีงอกขึ้นมาในที่ที่เป็นแผล เช่น ยานี้เรียกเนื้อ ได้ดี; ทำให้อ้วน, ทำให้สมบูรณ์, เช่น เชื่อกันว่าอาบน้ำให้เด็กอ่อน บ่อย ๆ เรียกเนื้อได้ดี.
  17. เรียง : ก. จัดให้เป็นแถวหรือเป็นลำดับเป็นต้น เช่น จัดแถวหน้ากระดานเรียง สอง เข้าแถวเรียงตามลำดับไหล่ เรียงไข่ใส่ตะกร้า; ลักษณนามเรียกพลู ที่เอามาเรียงซ้อนกันประมาณ ๗–๘ ใบ เช่น พลูเรียงหนึ่ง พลู ๒ เรียง. (ในบทกลอนแผลงเป็น ระเรียง หรือ รันเรียง ก็มี).
  18. เรียงความ : ก. นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราว, แต่งหนังสือในลักษณะที่ใช้พูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะ ที่แต่งเป็นร้อยกรอง. น. เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น.
  19. เรียงตัว : ว. ทีละคน ๆ ตามลำดับ เช่น เรียกมาสัมภาษณ์เรียงตัว.
  20. เรียงพิมพ์ : ก. เอาตัวพิมพ์มาเรียงตามต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์.
  21. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  22. เรียนปฏิบัติ : ก. ขอหารือต่อผู้ใหญ่ เช่น เรียนปฏิบัติมาเพื่อโปรดพิจารณา แนะนำ.
  23. เรียบร้อย : ว. สุภาพ เช่น พูดจาเรียบร้อย กิริยามารยาทเรียบร้อย; เป็น ระเบียบ เช่น จัดห้องเรียบร้อย, มีระเบียบ เช่น ทำงานเรียบร้อย, ประณีต เช่น เย็บผ้า ''เรียบร้อยเสร็จ; เช่น กินข้าวมาเรียบร้อยแล้ว; สงบราบคาบ เช่น สถานการณ์บ้านเมืองเรียบร้อย.
  24. เรียบวุธ : ก. ถืออาวุธอยู่ในท่าเรียบ คือ ถือปืนแนบอยู่ทางขวา ส้นปืน จดดิน, เลือนมาจาก เรียบอาวุธ. (ปาก) ว. หมดเกลี้ยง เช่น กินเสีย เรียบวุธเลย.
  25. เรี่ย, เรี่ย ๆ : ว. เฉียดใกล้ในแนวนอน เช่น นกบินเรี่ยน้ำ เครื่องบินบินเรี่ยยอดไม้ น้ำขึ้นมาเรี่ย ๆ พื้น.
  26. เรือ : น. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทําด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนํา กระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า; ตัวหมากรุกที่เดินตา ตรงได้ตลอด; เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง เอาไม้ไผ่มาเหลาแบน ๆ ดัดให้หัว งอน ใช้พุ่งแข่งกัน; ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ตํ่ากว่าชั้นนาวาหรือนาวาอากาศ เช่น เรือตรี เรืออากาศเอก.
  27. เรื้อ : ก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน. น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้ว งอกขึ้นจนออกรวงอีกว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียก พืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทํานองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ. เรื้อรัง ว. ยืดเยื้อ, นานหาย, (ใช้แก่โรค) เช่น วัณโรคเรื้อรัง แผลเรื้อรัง.
  28. เรือกราบ : น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลม และเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณใน กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลองเรือแซง หรือเรือกันได้.
  29. เรือต่อ : น. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัย กงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตาม ส่วน เช่น เรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ.
  30. เรือตังเก : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ใช้จับปลาตามชายฝั่งทะเล ทางด้านค่อน มาทางหัวเรือมีเก๋ง ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ชั้นบนเป็นที่ สำหรับผู้ควบคุมเรือใช้ดูทิศทาง มีเสากระโดง บนเสากระโดงมีแป้น กลมสำหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์ เรียกว่า รังกา ด้านท้ายเรือมีที่ สำหรับโรยอวนและด้านหัวเรือมีที่สำหรับกว้านอวน.
  31. เรือนแพ : น. เรือนที่เคยตั้งอยู่บนแพในน้ำแล้วยกขึ้นมาปลูกบนบก.
  32. เรือประตู : น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำ หน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือ ประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่งกับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อน ถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้าย กระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูในกับ หมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือ ที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
  33. เรือผีหลอก : น. เรือแจวชนิดหนึ่ง สำหรับจับสัตว์น้ำในลำคลองและลำน้ำ ในเวลากลางคืน กราบเรือทางขวาติดแผ่นกระดานทาสีขาวปล่อยริมข้าง หนึ่งให้ลงน้ำ กราบซ้ายมีตาข่ายกันมิให้ปลาและกุ้งกระโดดข้าม ปลา ตกใจจะกระโดดเข้ามาหาเรือเอง.
  34. เรือแฝด : น. เรือชะล่า ๒ ลำที่นำมาผูกติดกันแล้วใช้ไม้กระดานปูเพื่อ บรรทุกรถยนต์ข้ามแม่น้ำ นิยมใช้ทางภาคอีสาน.
  35. เรือพระประทีป : น. เรือที่ใช้ลอยในงานพระราชพิธีลอยพระประทีป ทำด้วยไม้ขุดจำลองจากเรือหลวงที่ใช้ในพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค ปักเทียนรายตามหลังกระทงเรือ ถวายให้ทรงจุดและปล่อย ลอยไปตามน้ำแทนกระทงหลวงซึ่งมีมาแต่เดิม.
  36. เรื่อย, เรื่อย ๆ : ว. มีลักษณะอาการอันต่อเนื่องกันไปไม่ขาดระยะ เช่น ทำงานเรื่อยไม่ หยุดเลย เดินไปเรื่อย ๆ พูดไปเรื่อย ๆ; เฉื่อย, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดมา เรื่อย ๆ เขาเป็นคนเรื่อย ๆ.
  37. เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ : (สํา) น. คนที่ทําตนเป็นคนดีมาตลอด แต่มาเสียคนเมื่อแก่. ก. มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสําเร็จ.
  38. แร่ ๑ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
  39. แร่ ๒ : ก. รี่เข้าใส่, กรากเข้าใส่, เช่น หมาแร่เข้าใส่. ว. อาการที่รี่เข้าใส่, อาการ ที่กรากเข้าใส่, เช่น วิ่งแร่มาแต่ไกล.
  40. แรก : ว. ก่อนเพื่อน, ก่อนผู้อื่นหรือสิ่งอื่นทั้งหมด, เช่น ครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ มาถึงเป็นคนแรก ลูกคนแรก วันแรกของเดือน, เริ่ม เช่น แรกนา คือ เริ่มลงมือทำนา แรกรุ่น คือ เริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่น, หัวที เช่น แรกเกิด แรกพบ แรกเห็น, เดิมที เช่น แต่แรกเริ่ม, เพิ่งมีเป็นครั้งแรก เช่น มะม่วงแรกออกผล. น. ต้น, เดิมที.
  41. แร้ว : น. เครื่องสําหรับดักสัตว์ มี นก ไก่ เป็นต้น มีบ่วงติดอยู่กับปลายของไม้ ที่เรียกว่า คันแร้ว ซึ่งเอาโคนปักไว้ที่ดินทำปลายให้โน้มลงมา มีไกที่ เรียกว่า ปิ่น ขัดไว้ระหว่างหลักขัดแร้วกับคอน วางบ่วงดักไว้บนคอน เมื่อสัตว์มาจับคอนตรงที่วางบ่วงไว้ ไม้คอนจะเลื่อนลง ทำให้ปิ่นหลุด บ่วงก็จะรูดมัดขาไว้.
  42. โรมัญจะ : ว. ขนลุก, ขนชัน. (ป.; ส. โรมา?ฺจ).
  43. โรยตัว : ก. เอาเชือกผูกรอบเอวแล้วเอาไปคล้องที่ต้นขาทั้ง ๒ ข้าง เอาปลายเชือกผูกที่หน้าท้อง แล้วค่อย ๆ หย่อนตัวลง เช่น โรยตัว ลงจากเฮลิคอปเตอร์กลางอากาศ, เอาเชือกผูกรอบเอวแล้วค่อย ๆ หย่อนตัวลงมาจากที่สูง เช่น โรยตัวจากอาคารสูง ๆ.
  44. โรยฝอยทอง : ก. กิริยาที่เอาไข่แดงซึ่งผสมไข่น้ำค้างเล็กน้อย ใส่กรวย แล้วปล่อยให้ไหลเป็นสายเล็ก ๆ วนไปวนมาในน้ำเชื่อมเดือด ๆ.
  45. ฤ ๑ : [รึ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต เมื่อไทยนํามาใช้ออกเสียงเป็น ริ รึ หรือ เรอ เช่น ฤทธิ์ ฤดู ฤกษ์.
  46. ฤทัย : [รึไท] น. ใจ, ความรู้สึก. (กร่อนมาจาก หฤทัย). (ส. หฺฤทย; ป. หทย).
  47. ฤษี : [รึ] น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไป บําเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. (ส. ฤษี ว่า ผู้เห็น, ผู้แต่งพระเวท; ป. อิสิ).
  48. ฤๅ ๑ : [รือ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนํามาใช้ ออกเสียงเป็น รือ เช่น ฤๅษี.
  49. ฤๅษี : น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบําเพ็ญ พรตแสวงหาความสงบ.
  50. ฤๅษีแปลงสาร : น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษร ข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มี ความหมายตรงกันข้าม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | [2201-2250] | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-2963

(0.1330 sec)