Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ม้า , then มา, ม้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ม้า, 2963 found, display 2651-2700
  1. หมากจุก : น. เนื้อหมากดิบสดที่นำมาเจียนอย่างหมากเจียน แล้วจึงซอย ตามยาวออกเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง.
  2. หมากเจียน : น. ผลหมากดิบสดที่ผ่าตามยาวออกเป็นซีก ๆ นำมาเจียน ใช้กินกับพลูที่บ้ายปูน หรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ.
  3. หมากซอย : น. เนื้อหมากดิบสดที่ผ่าออกเป็น ๔ ซีก รูปคล้ายกลีบส้ม นำมาซอยขวางเป็นชิ้นรูปสามเหลี่ยมบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง.
  4. หมากแปะ : น. เนื้อหมากดิบสดทั้งลูกที่นำมาหั่นให้เป็นแผ่นกลมบาง ๆ ตากแดดจนแห้งแข็ง, หมากอีแปะ หรือ หมากหน้าแว่น ก็เรียก.
  5. หมากเม็ด : น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ตากแดดให้แห้งสนิทจนเมื่อเขย่า เนื้อหมากที่อยู่ข้างในจะกลิ้งไปมาได้ จึงผ่าเอาเนื้อข้างในออกมาเก็บไว้ กิน, หมากกรอก ก็เรียก.
  6. หมากหน้าแว่น : น. เนื้อหมากดิบสดทั้งลูกที่นำมาหั่นให้เป็นแผ่นกลม บาง ๆ ตากแดดจนแห้งแข็ง, หมากแปะ หรือ หมากอีแปะ ก็เรียก.
  7. หมากไห : น. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกมาลอกผิวนอกออก บรรจุ ลงในไหให้เต็ม เติมน้ำสะอาดพอท่วม ปิดฝาให้แน่น ทิ้งไว้จนเปลือกเน่า เพื่อเก็บไว้กินแรมปี.
  8. หมาด ๆ : (ปาก) ว. ที่เพิ่งได้หรือเสร็จเป็นต้นมาใหม่ ๆ เช่น เขาเพิ่งได้เลื่อนตำแหน่ง มาหมาด ๆ.
  9. หมายน้ำบ่อหน้า : (สํา) ก. มุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง.
  10. หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
  11. หมาเห็นข้าวเปลือก : (สำ) น. คนที่อยากได้สิ่งที่เป็นประโยชน์หรืออำนวย ความสุขสำราญให้แก่ตน แต่สุดความสามารถที่จะเอามาใช้ หรืออำนวย ประโยชน์ให้แก่ตนได้.
  12. หมี่ ๑ : น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ. (จ.).
  13. หมุน : ก. หันเวียนไปในแนวโค้ง เช่น โลกหมุน, ทําให้หันเวียนไปในแนวโค้ง เช่น หมุนเข็มนาฬิกา, (ปาก) นำสิ่งของไปจำนำหรือขายเพื่อเอาเงินมาใช้.
  14. หมู ๔ : (ปาก) น. ใบพลูสดหั่นผสมฝิ่นแล้วนํามาสูบ.
  15. หมูเขี้ยวตัน : (ปาก) น. บุคคลที่คิดว่าจะหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย ๆ แต่ กลับปรากฏว่าตรงกันข้ามเช่น นักมวยที่สั่งมาชกโดยคิดว่าจะเป็นหมู กลับกลายเป็นหมูเขี้ยวตันไป.
  16. หยก ๆ : ว. เพิ่งทํามาเร็ว ๆ นี้, สด ๆ ร้อน ๆ, เช่น บอกอยู่หยก ๆ ไม่น่าลืมเลย มาถึงหยก ๆ โดนใช้งานเสียแล้ว.
  17. หยด : ก. ไหลหรือทําให้ไหลหลุดออกมาเป็นหยาด ๆ เช่น น้ำหยด. น. หยาด ของเหลวที่ไหลหลุดออกมา เช่น หยดน้ำ หยดหมึก, ลักษณนามใช้เรียก สิ่งที่ไหลหลุดออกมาเช่นนั้น เช่น นํ้าหยดหนึ่ง นํ้าหมึก ๒ หยด.
  18. หย่อน : ก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกําลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.
  19. หย่อย, หย่อย ๆ : ว. เรื่อย ๆ, บ่อย ๆ, เช่น มากันหย่อย ๆ ไม่ขาดสาย, น้อย ๆ เช่น ให้เงิน ทีละหย่อย.
  20. หยักรั้ง : ว. อาการนุ่งผ้าถุงหรือผ้าโสร่งรั้งผ้าทางด้านข้างมาเหน็บเอว ทั้ง ๒ ข้างให้ชายผ้าร่นสูงขึ้น.
  21. หยิบยก : ก. ยกขึ้นอ้าง เช่น หยิบยกเรื่องอดีตขึ้นมาพูด, (กลอน) ยกหยิบ.
  22. หยิบหย่ง, หยิบโหย่ง : ว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน, ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.
  23. หรคุณ : [หอระคุน] น. จํานวนวันตั้งแต่แรกตั้งศักราชมา; เรียกชาดสีแดงเสนว่า ชาดหรคุณ.
  24. หรุบ ๆ : ว. อาการของสิ่งที่ร่วงลงมาพรู เรียกว่า ร่วงหรุบ ๆ.
  25. หล่น : ก. ตกลงมา, ร่วงลง.
  26. หลบ : [หฺลบ] ก. หลีก, เลี่ยงไม่ให้พบ, เลี่ยงไม่ให้ถูก เช่น หลบลูกปืน; แอบ เช่น หลบเข้าหลังตู้; กลับเข้าใน เช่น ไข้หลบ; ปกคลุมหลุบลงมา (ใช้เฉพาะ การมุงหลังคาตรงอกไก่).
  27. หลอกหลอน : ก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอก หลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจ ที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมา คอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
  28. หลอน : [หฺลอน] ก. อาการที่ภาพซึ่งน่ากลัวหรือน่าสะเทือนใจคงอยู่ในมโนภาพ เช่น ภาพที่เด็กถูกรถทับตายต่อหน้าต่อตามาหลอนอยู่ตลอดเวลา.
  29. หลักประกัน : น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือ หลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.
  30. หลั่งไหล : ก. ไหลมาเทมา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้คนหลั่งไหลกันมามืดฟ้ามัวดิน.
  31. หลาม ๒ : ก. เอาของใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก เช่น หลามข้าว, เรียก ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุกว่า ข้าวหลาม; ล้นแผ่ เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยาย หมายความว่า ใหญ่เกินพอดี เช่น พุงหลาม.
  32. หลุน ๆ : ว. เร็ว ๆเช่น ก้อนหินตกจากยอดเขากลิ้งหลุน ๆ ลงมา เด็กวิ่งหลุน ๆ หัวซุกหัวซุน.
  33. หลุบ : [หฺลุบ] ก. ลู่ลงมา, ปกลงมา, เช่น ผมหลุบหน้า หนังตาหลุบ.
  34. หลุบลู่ : [หฺลุบ-] ว. ซุบซู่, ซอมซ่อ; ที่ปกลงมาอย่างไม่เรียบร้อย เช่น เสื้อผ้า หลุบลู่เพราะเปียกฝนโชก.
  35. ห้วย : น. แอ่งน้ำลึกกว้างมีทางน้ำไหลจากภูเขามาขังอยู่ตลอดปี หรือแห้งบ้าง เป็นบางคราว.
  36. หวย ก ข : น. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะ ในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง ๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃ เจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีน มาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก.
  37. หว็อย ๆ : ว. อาการที่ชายผ้าหรือใบไม้เป็นต้นถูกลมพัดปลิวสะบัดหรือปลิวพลิก ไปมา.
  38. หว่านล้อม : ว. ตะล่อมเข้ามาตามที่ต้องการ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดหว่านล้อม เจรจาหว่านล้อม.
  39. หอกข้างแคร่ : (สํา) น. คนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ มักใช้แก่ ลูกเลี้ยงที่ติดมากับพ่อหรือแม่, ศัตรูที่อยู่ข้างตัว.
  40. ห่อน : ว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา. (ลอ), ในคําประพันธ์บาง คราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ. (เห่ชมนก).
  41. หอม ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดในสกุล Allium วงศ์ Alliaceae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ หรือ หอมฝรั่ง (A. cepa L.), หอมหัว หรือ หอมแกง (A. ascalonicum L.) ชนิดหลังนี้มักเรียกผิดเป็น หอมแดง. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลยาว กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด.
  42. หอมจันทร์ : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลเล็กเรียวขนาดกล้วยนํ้าไทย กลิ่นหอม.
  43. ห้อยโหน : ก. อาการที่เกาะราวหรือห่วงเป็นต้น แล้วโยนตัวไปมา.
  44. หักกลบลบหนี้ : (กฎ) น. การนําเอาหนี้ที่บุคคล ๒ คนต่างเป็นลูกหนี้และ เจ้าหนี้ในมูลหนี้อันมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างเดียวกัน มาหักลบกันเท่า จํานวนหนี้ที่ตรงกัน เพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.
  45. หักมุก : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่า กับกล้วยตานี ผลเป็นเหลี่ยม นิยมทำให้สุกด้วยความร้อนก่อนกิน.
  46. หักหลัง : ก. ร่วมใจกันมาก่อนแล้วกลับทําร้ายให้ในภายหลัง.
  47. หักโหม : ก. ระดมเข้าไปด้วยกำลังให้แตกหัก, โหมหัก ก็ว่า; เอากําลังแรง เข้ามาหักเอา, ทํางานโดยไม่บันยะบันยัง.
  48. หัน ๑ : ก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้า ไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้า กับศัตรู.
  49. หันรีหันขวาง : ก. อาการที่หันเหไปมา เก้ ๆ กัง ๆ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะทํา อย่างใด.
  50. หัวกระไดไม่แห้ง : (สํา) ว. มีแขกมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ (มักใช้หมายถึงบ้าน ที่มีลูกสาวสวย หรือบ้านผู้มีอํานาจวาสนา).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | [2651-2700] | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-2963

(0.1342 sec)