Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ม้า , then มา, ม้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ม้า, 2963 found, display 2801-2850
  1. อนาคต, อนาคต : [อะนาคด, อะนาคดตะ] ว. ยังไม่มาถึง. น. เวลาภายหน้า. (ป., ส.).
  2. อนาคามี : น. ''ผู้ไม่มาสู่กามภพอีก'' เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นที่ ๓ ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า พระอนาคา. (ป.; ส. อนาคามินฺ).
  3. อนิจจัง ๒, อนิจจา : [อะนิด] อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสารสังเวชเป็นต้น.
  4. อนุชาต, อนุชาต : [อะนุชาด, อะนุชาดตะ] น. ผู้เกิดตามมาไม่ดีกว่าหรือไม่เลว กว่าตระกูล. (ป., ส.).
  5. อนุประโยค : น. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.
  6. อนุพงศ์ : น. วงศ์ที่เนื่องมา, วงศ์ย่อยที่สืบมาจากวงศ์ใหญ่. (ส. อนุวํศ).
  7. อนุโลม : ก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้ โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลําดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลําดับ. (ป., ส.).
  8. อนุวงศ์ : น. วงศ์ที่เนื่องมา, เชื้อพระวงศ์ชั้นผู้น้อย.
  9. อเนกรรถประโยค : [อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยค โดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.
  10. อภิชน, อภิชน : [อะพิชน, อะพิชะนะ] น. ชนผู้สืบมาจากตระกูลสูง. (ป., ส.).
  11. อภิสมาจาร : [อะพิสะมาจาน] น. มารยาทอันดี, ความประพฤติอันดี. (ป., ส.).
  12. อม : ก. เอาสิ่งของใส่ปากแล้วหุบปากไว้ไม่กลืนลงไป, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่แสดงออกมา เช่น อมภูมิ; กลมกลืน, ปนกัน, เช่น อมเปรี้ยวอมหวาน เขียวอมเหลือง; (ปาก) เม้ม, ขมิบ, ยักเอาไว้.
  13. อย่างไร : ว. ใช้ในประโยคคําถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือ ความเห็นเป็นต้น เช่น จะทําอย่างไร มีความเห็นอย่างไร; ถ้าใช้ใน ประโยคที่ไม่เป็นคําถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา.
  14. อยู่ดีไม่ว่าดี : (สำ) ว. แทนที่จะอยู่เฉย ๆ กลับทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ตน เช่น อยู่ดีไม่ว่าดีขอลูกเขามาเลี้ยง.
  15. อยู่ ๆ, อยู่ดี ๆ : ว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.
  16. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  17. อวดอ้าง : ก. พูดแสดงสรรพคุณหรือคุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกิน ความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือที่บิดเบือนไป จากความจริงมาประกอบ.
  18. อวตาร : [อะวะตาน] ก. แบ่งภาคมาเกิดในโลก (ใช้แก่พระนารายณ์) เช่น พระนารายณ์อวตารเป็นปลา. (ส.).
  19. อวนรุน : น. อวนที่มีลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ รุนเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเรืออย่างต่อเนื่อง เพื่อ ให้สัตว์น้ำที่อยู่ด้านหน้าปากอวนเข้ามาติดอยู่ที่ก้นถุงอวน ใช้ทำการ ประมงในระดับน้ำลึกไม่เกิน ๑๕ เมตร.
  20. อสงไขย : [อะสงไข] ว. มากจนนับไม่ถ้วน. น. ชื่อมาตรานับจํานวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกําลัง ๒๐. (ป. อสงฺเขยฺย; ส. อสํขฺย).
  21. อห : [อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคําที่มาจาก ภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.
  22. อ้อ ๒ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงว่ารู้แล้ว เข้าใจแล้ว หรือนึกได้, อ๋อ ก็ว่า.
  23. อ๋อ ๒ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงว่ารู้แล้ว เข้าใจแล้ว หรือนึกได้, อ้อ ก็ว่า.
  24. ออกไข้หัว : (โบ) ก. อาการที่ไข้หัวผุดขึ้นมา, เป็นไข้หัว.
  25. ออกซิเดชัน : น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้สารได้รับธาตุออกซิเจนมารวมตัวด้วย หรือทําให้สารสูญเสียธาตุไฮโดรเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทําให้ อะตอมของธาตุสูญเสียอิเล็กตรอนไป. (อ. oxidation).
  26. ออกญา : น. บรรดาศักดิ์ชั้นสูงที่พระราชทานในสมัยอยุธยา สูงกว่าออกพระ เข้าใจว่ามาจากเขมร.
  27. ออกปาก : ก. พูดขอความช่วยเหลือ เช่น ออกปากขอแรงชาวบ้าน มาช่วยงาน; พูดเชิงตําหนิ เช่น เขาใช้เงินเปลืองจนแม่ออกปาก.
  28. ออกโรง : ก. ออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อได้ฝึกหัดมาแล้ว; แสดง ด้วยตนเองเป็นครั้งคราว ในคำว่า ออกโรงเอง.
  29. ออกลาย : (ปาก) ก. เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจาก ที่แสร้งทําดีมาแล้ว.
  30. ออกสิบสองภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทโดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้า เป็นชุดมี ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกสิบสองภาษา.
  31. ออนซอน, อ่อนซอน : (ถิ่นพายัพ, อีสาน) ว. งาม; เพราะพริ้ง, ซาบซึ้งตรึงใจ. (เพี้ยนมาจาก อรชร).
  32. อ่อนหัด : ว. ที่ฝึกฝนมาน้อย, ไม่ชํานาญ.
  33. อ่อนหู : (กลอน) ก. ยอมเชื่อฟัง เช่น แต่คิดแค้นแม่ยายกับพ่อตา จะทรมาเสียก่อนให้อ่อนหู. (สังข์ทอง).
  34. อ้อมค้อม : ว. วกวน, ลดเลี้ยว, ไม่ตรงไปตรงมา, (ใช้แก่กริยาพูด).
  35. อ๊ะ : ว. คําที่เปล่งออกมาแสดงความประหลาดใจเป็นต้น.
  36. อะไร : ส. คําใช้แทนนาม แสดงคําถาม เช่น อะไรอยู่ในตู้, คําใช้แทนนาม ที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ. ว. ไร, ไหน, เช่น เขาห่มผ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น ท่านไปซื้อของอะไรมา.
  37. อักโข : ว. มาก, หลาย. (ตัดมาจาก อักโขภิณี).
  38. อักษรเลข : [อักสอระเลก, อักสอนเลก] น. วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ; ตําแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่ โบราณ, ต่อมาใช้เรียกผู้ทําหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.
  39. อัจฉริยบุคคล : น. บุคคลผู้มีปัญญาความสามารถเยี่ยมยอดมาแต่ กําเนิด.
  40. อัชฌา : [อัดชา] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน. (ตัดมาจาก อัชฌาสัย).
  41. อัตตา : น. ตน. (ป.; ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา).
  42. อัทธคต : น. ผู้ที่ได้ผ่านทางไกลหรืออยู่มานาน, คนแก่. (ป.).
  43. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  44. อันตราย : [อันตะราย] น. เหตุที่อาจทําให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ. (ป., ส. อนฺตราย ว่า อุปสรรคหรือภัยอันมาในระหว่าง).
  45. อันโตนาที : น. ระยะเวลาโคจรของพระอาทิตย์ภายในราศีหนึ่ง ๆ โดยคิดเป็นวันใน ๑ ปี แล้วเทียบส่วนมาเป็นมหานาทีใน ๑ วัน (๑ มหานาที เท่ากับ ๒๔ นาที) เช่น อยู่ในราศีเมษ ๕ มหานาที ราศีพฤษภ ๔ มหานาที ราศีเมถุน ๓ มหานาที.
  46. อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
  47. อัพภาน : [อับพาน] น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทําโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืน เป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. (ป.).
  48. อัษฎายุธ, อัษฎาวุธ : น. อาวุธ ๘ อย่าง คือ ๑. พระแสงหอกเพชรรัตน์ ๒. พระแสงดาบเชลย ๓. พระแสงตรี ๔. พระแสงจักร ๕. พระแสงดาบ และเขน หรือดาบและโล่ ๖. พระแสงธนู ๗. พระแสงของ้าวแสน พลพ่าย ๘. พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่นํ้าสะโตง, จะอัญเชิญมาถวาย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.
  49. อาการนาม : [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือ ความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา ''การ'' หรือ ''ความ'' นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
  50. อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | [2801-2850] | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-2963

(0.1337 sec)