Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ม้า , then มา, ม้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ม้า, 2963 found, display 2901-2950
  1. อุ่นหนาฝาคั่ง : ว. มั่นคง, มีหลักฐานเป็นที่พักพิงมั่นคง, เช่น มีฐานะ อุ่นหนาฝาคั่ง; มากมายคับคั่ง เช่น งานนี้มีผู้คนมาอุ่นหนาฝาคั่ง.
  2. อุบ ๒ : ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปาก ไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.
  3. อุบ๊ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น, บ๊ะ ก็ว่า.
  4. อุปกรณ์ : [อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่อง ประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจําอยู่ กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นํามา สู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนํามาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำ โดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็น ประธานนั้น. (ป., ส.).
  5. อุปกาศ : [อุปะกาด, อุบปะกาด] (กลอน) ก. แจ้งข่าว เรื่อง หรือข้อความ เช่น เขือไปอุปกาศแล้ว เขือมา. (ลอ), ร้องอุปกาศสารแก่กรุงสญชัยปิตุราช. (ม. ร่ายยาว หิมพานต์).
  6. อุปนิษัท : [อุปะ, อุบปะ] น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์ อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. (ส.).
  7. อุปนิสัย : [อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาใน สันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้อง ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจน เกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).
  8. อุปโภค : [อุปะโพก, อุบปะโพก] ก. เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์, คู่กับ บริโภค. ว. ที่เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในคำว่า เครื่องอุปโภค. (ป., ส.).
  9. อุปมา : [อุปะ, อุบปะ] น. สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบ, มักใช้เข้าคู่กับ อุปไมย ในประโยคเช่น เรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น. ก. เปรียบเทียบ. (ป., ส.).
  10. อุปมาโวหาร : น. สํานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ.
  11. อุปมาอุปไมย : [อุปะมาอุปะไม, อุบปะมาอุบปะไม] น. การเปรียบเทียบกัน.
  12. อุ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจ มักเป็นเสียงผู้หญิง.
  13. อุย ๓, อุ่ย : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกเจ็บเช่นถูกหยิก, อูย ก็ใช้.
  14. อุยหน่า, อุ่ยหน่า : (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกเจ็บเช่น ถูกหยิก.
  15. อุลกมณี : [อุนละกะมะนี] น. อุกกาบาตที่นำมาเจียระไนทำเป็นเครื่อง ประดับ เชื่อว่าเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง.
  16. อุแว้ : ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ) เช่น เด็กคนนี้ พออุแว้ออกมาก็มีเงิน เป็นล้านแล้ว, แว้ ก็ว่า. ว. เสียงอย่างเสียงเด็กแดง ๆ ร้อง เช่น เสียงลูกร้องอุแว้, แว้ ก็ว่า.
  17. อุษมะ, อุษมัน : [อุดสะมะ, อุดสะมัน] น. ไอ, ไออุ่น. (ส.; ป. อุสุม, อุสุมา).
  18. อุเหม่ : (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, เหม่ หรือ เหม่ ๆ ก็ว่า.
  19. อูด ๒ : ก. นูนขึ้น เช่น นํ้าอูด, นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินอูด.
  20. อูย : ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกเจ็บหรือถูกหยิก, อุย หรือ อุ่ย ก็ใช้.
  21. เอ ๑ : ว. หนึ่ง; เปลี่ยว, เดี่ยว, เช่น เอองค์. (ตัดมาจาก เอก).
  22. เอ ๒, เอ๊ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ สงสัย เป็นต้น.
  23. เอกภพ : [เอกกะ] (ดารา) น. ระบบซึ่งเป็นผลรวมของกาแล็กซี ทั้งหมด. (อ. universe); (สถิติ) จํานวนประชากรทั้งหมดที่นํามา พิจารณาหรือหาตัวอย่าง.
  24. เอกม : [เอกมอ] ว. เอกอย่างกลาง. (ตัดมาจาก เอกมัธยม).
  25. เอกส : (โบ) [เอกสอ] ว. เอกอย่างสามัญ. (ตัดมาจาก เอกสามัญ).
  26. เอกอุ : [เอก] ว. เอกเป็นเลิศ. (ตัดมาจาก เอกอุดม); มากมาย, หนักหนา, เช่น ทำผิดอย่างเอกอุ.
  27. เอ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการว่าพูดผิดไปเป็นต้น. ว. คําลงท้ายชื่อ หรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๋ย ก็ว่า.
  28. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  29. เอ๊ว : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อเยาะให้เก้อ, เฮ้ว ก็ว่า.
  30. เออ : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคําที่ผู้ใหญ่ ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คําที่เปล่งออกมา แสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.
  31. เออน่ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อเน้นแสดงคํารับอย่างรู้สึกรําคาญ.
  32. เออแน่ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความพิศวงว่า ไม่น่าจะเป็น อย่างนั้น.
  33. เอ้อเฮอ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความพิศวงหรือประหลาดใจเป็นต้น.
  34. เอ้แอ่น, เอ้ ๆ แอ่น ๆ : ก. ทําให้เสียเวลา, ทําชักช้า, ทําจริตกิริยาโอ้เอ้; อาการที่ยืนโอนไป โอนมา เอนไปเอนมา หรือ เดินถอยหน้าถอยหลัง.
  35. เอ๊ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความฉงน ไม่เข้าใจ หรือไม่พอใจ เป็นต้น.
  36. เอา ๑ : ก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นํา, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทําเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสําคัญ เช่น เจรจาเอา ถ้อยคํา เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คําใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคําได้. ว. เมื่อ ใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทําต่อเนื่อง กัน เช่น กินเอา ๆ.
  37. เอาเถิดเจ้าล่อ ๒ : ก. อาการที่ตามจับหรือตามหาผู้ที่หลบหรือเลี่ยง กันไปมา เช่น ตำรวจเอาเถิดเจ้าล่อกับผู้ร้าย.
  38. เอาทาร : [ทาน] ว. สูง, เลิศ, ประเสริฐ, ยิ่งใหญ่; ซื่อตรง, มีความจริงใจ; สุภาพ; ถูกต้อง. (แผลงมาจาก อุทาร).
  39. เอารส : [รด] น. ลูกของตนเอง. (แผลงมาจาก โอรส). (ส.).
  40. เอาแรง ๑ : ก. ช่วยผู้อื่นทำงานเพื่อต่อไปเขาจะได้มาช่วยตนทำงาน ในลักษณะเดียวกันบ้าง เช่น เกี่ยวข้าวเอาแรงกัน.
  41. เอาหน้า : ก. อยากให้คนยกย่องสรรเสริญ เช่น ทำบุญเอาหน้าหรือ อยากได้บุญคุณ เช่น เขามาเอาหน้ากับฉันว่าเป็นคนเสนอชื่อฉัน ให้ได้รับรางวัล; เรียกการทํางานเฉพาะงานที่ผู้ใหญ่รู้เห็นเพื่อหวัง ประโยชน์ว่า ทํางานเอาหน้า.
  42. เอาฬาร : [ลาน] ว. ใหญ่โต, โอ่โถง, กว้างขวาง; ยิ่งใหญ่, เลิศล้น; ประเสริฐ, ดี; แผลงมาจาก อุฬาร, โอฬาร ก็ใช้.
  43. เอาฬาริก, เอาฬารึก : ว. ใหญ่, โต. (แผลงมาจาก โอฬาริก, โอฬารึก).
  44. เอื้อง ๒ : น. หญ้าและใบไม้เป็นต้นที่สัตว์บางจําพวกเช่นวัวควายกินเข้าไป ในกระเพาะทีหนึ่งแล้วสํารอกออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด ในคำว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง. ว. เรียกอาการที่สัตว์บางจำพวกเช่น วัวควายสํารอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียดว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง; โดยปริยายหมายความว่า ทําอะไรช้า ๆ.
  45. เอื้อนวาจา, เอื้อนโอฐ ๑ : (ปาก) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้ในความหมายเชิงประชดประชัน เช่น กว่าจะเอื้อนโอฐออกมา ได้เหมือนกลัวดอกพิกุลจะร่วง.
  46. เอื้อนอรรถ, เอื้อนเอ่ย, เอื้อนโอฐ ๒ : (กลอน) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้แก่กิริยาที่ทำทีอิดเอื้อนไม่ใคร่พูดออก มาง่าย ๆ.
  47. แอบ, แอบ ๆ : ก. ทําโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้เห็นโดยอาการต่าง ๆ เช่น แอบทำ; เข้าไปชิด เช่น รถพยาบาลมาให้รถอื่นแอบเข้าข้างทาง. ว. อาการที่ยืน เดิน หรือวางสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้นไม่ให้เกะกะหรือกีดขวางทาง เช่น เดินแอบข้างทาง วางของแอบ ๆ หน่อย.
  48. แอลฟา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาค แอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับ ฉากเรืองแสงจะทําให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. (อ. alpha rays).
  49. โอ๋ : อ. คําที่เปล่งออกมาเป็นเสียงเช่นนั้นเพื่อปลอบเด็ก. ก. ตามใจ, เอาอกเอาใจ.
  50. โอ ๓ : น. ภาชนะเครื่องเขินอย่างหนึ่งสําหรับใส่ของ รูปคล้ายขัน มีขนาด ต่าง ๆ, ต่อมาได้อนุโลมเรียกขันเคลือบทรงสูงว่า ขันโอ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | [2901-2950] | 2951-2963

(0.1554 sec)