Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ม้า , then มา, ม้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ม้า, 2963 found, display 901-950
  1. จราจร : [จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมา ตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.
  2. จราว ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน). (แผลงมาจาก จาว). (ดู จาว๔).
  3. จริก ๑ : [จะหฺริก] (กลอน) ก. เอาปากสับและงับอย่างอาการนกสับ, กดลง. (แผลงมาจาก จิก).
  4. จริงอยู่แต่, จริงอยู่...แต่ : สัน. ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้ว ข้างหน้าและแสดงว่ามีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง.
  5. จ้วง : ก. กิริยาที่เอาภาชนะเช่นขันเอื้อมลงไปตักนํ้าขึ้นมาโดยแรง; อาการที่เอา พายพุ้ยนํ้าโดยเร็วอย่างพายเรือแข่ง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ตีหรือฟัน สุดแขน เช่น จ้วงตี จ้วงฟัน.
  6. จ๊อก ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมาเบา ๆ; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ก็ว่า.
  7. จ้อก, จ้อก ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมา.
  8. จอน ๑, จอนหู : น. ชายผมข้างหูที่ระลงมาที่แก้ม.
  9. จอมไตร : น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ).
  10. จ๊ะ ๒ : ก. เจอกันหรือพ้องกันโดยบังเอิญ เช่น เดินมาจ๊ะกัน แกงจ๊ะกัน.
  11. จักริน, จักรี : [จักกฺริน, จักกฺรี] น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชาตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร. (ส. จกฺรี, จกฺรินฺ; ป. จกฺกี).
  12. จัดหา : ก. ไปเลือกเฟ้นหามา.
  13. จันทรวงศ์ : น. วงศ์แห่งกษัตริย์เนื่องมาจากพระจันทร์, คู่กับ สุริยวงศ์. (ส.).
  14. จันทรุปราคา : [จันทฺรุปะราคา, จันทะรุบปะราคา] น. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ทําให้เงาของ โลกตกลงบนดวงจันทร์บางส่วนหรือทั้งหมด, (ปาก) จันทรคราส. (ส.).
  15. จับตาย : ก. จับตัวมาให้ได้แม้ว่าจะต้องทำให้ตาย.
  16. จับเป็น : ก. จับตัวมาให้ได้โดยไม่ทำให้ตาย.
  17. จั่ว ๒ : ก. ลากไพ่จากกองมาเปิด, เปิดไพ่ในกอง.
  18. จาก ๒ : ก. ออกพ้นไป เช่น จากบ้านจากเมือง จากลูกจากเมีย. บ. คํานําหน้านาม บอกต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา; ตั้งแต่ เช่น จากเช้าจดคํ่า.
  19. จ้าง ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้าง ให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
  20. จาตุ- : ว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลี.
  21. จาตุมหาราช : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือ จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า; เรียกหัวหน้าเทวดา ผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก์ จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า.
  22. จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดีและปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศ ทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า.
  23. จาตุร- : [จาตุระ-] (แบบ) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบ หน้าคําที่มาจากภาษาบาลี.
  24. จาตุรงคสันนิบาต : น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้น ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วน ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสําคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คําสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
  25. จาบัล, จาบัลย์ : [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
  26. จาม ๒ : ก. อาการของลมที่พุ่งออกมาทางจมูกและปาก มักจะเป็นห้วง ๆ ใน ทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ เพราะเกิดระคายเคืองในจมูก; ฟันลงไปเต็มที่ เช่น เอาขวานจามหัว.
  27. จามรี : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos grunniens ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์จำพวก วัว ขนยาวมาก ละเอียดอ่อน สีนํ้าตาลเข้มจนถึงดำ เฉพาะบริเวณสวาบจะมี สีดําห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก หางยาวเป็นพู่ อาศัยอยู่แถบ ภูเขาสูงในทิเบต, จมร จมรี หรือ จามจุรี ก็เรียก; เรียกแส้ที่ทําด้วยขนหาง จามรีว่า แส้จามรี.
  28. จารีต : [-รีด] น. ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. (ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
  29. จารีตประเพณี : น. ประเพณีที่นิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืน ถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว.
  30. จาว ๒ : น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. ก. โผลงมา, โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น. (แช่งน้ำ). (ไทยใหญ่ จาว ว่า โผลงมา).
  31. จำนง : ก. ประสงค์, มุ่งหวัง, ตั้งใจ. (แผลงมาจาก จง).
  32. จำนน : ก. แพ้, ไม่มีทางสู้. (แผลงมาจาก จน).
  33. จำนอง : ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กําหนด, จําไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ ผู้รับจํานอง. (แผลงมาจาก จอง).
  34. จำนำ : ก. ประจํา, เรียกผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจำว่า เจ้าจํานํา. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกัน การชําระหนี้. (แผลงมาจาก จํา).
  35. จำเนียน : ก. ตัด ขริบ หรือเฉือนให้ไปตามแนวหรือให้ได้รูปตามที่ต้องการ. (แผลงมาจาก เจียน). (ข. เจียร ว่า ตัด, เล็ม).
  36. จำเนียม : ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ เช่น บรรจงภาพจําเนียม. (ลอ). (แผลงมาจาก เจียม).
  37. จำเนียร : ว. นาน, ช้า. (แผลงมาจาก เจียร).
  38. จำแนก : ก. แจก, แบ่ง, แยกออก, เช่น จําแนกออกเป็น ๓ อย่าง. (แผลงมาจาก แจก).
  39. จำโนทย์ : (โบ) ก. ฟ้อง, ร้องขอ, กล่าวหา. (แผลงมาจาก โจท, โจทย์).
  40. จำบ่ม : ว. ผลไม้ที่แก่ยังไม่ได้ที่ เก็บเอามาบ่มให้สุก เรียกว่า ผลไม้จําบ่ม เช่น มะม่วงจําบ่ม.
  41. จำเพาะ : ว. เฉพาะ, เจาะจง, เผอิญ, เช่น จําเพาะฝนมาตกเวลาจะออกจากบ้าน จึงไปไม่ได้.
  42. จำรด : [-หฺรด] (กลอน) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง. (แผลงมาจาก จรด).
  43. จำรัส : [-หฺรัด] ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง. (แผลงมาจาก จรัส).
  44. จำราญ : (กลอน) ก. หัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (แผลงมาจาก จราญ).
  45. จำรูญ : ว. รุ่งเรือง, งาม, เช่น ลางหมู่หน้าแดงจกูรล ดูจำรูญจกราด. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก จรูญ).
  46. จำเริญ : ก. เติบโต, งอกงาม, มากขึ้น, สมบูรณ์; ทิ้ง เช่น จําเริญยา, ตัด เช่น จําเริญเกศา. (แผลงมาจาก เจริญ).
  47. จำเรียง : ก. ขับลํา, ขับกล่อม, ร้องเพลง. (แผลงมาจาก เจรียง).
  48. จำหนับ ๑ : ก. อาการที่ใช้มือจับต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกำไว้ยึดไว้, ใช้ จำนับ ก็มี. (แผลงมาจาก จับ).
  49. จำหน่าย : ก. ขาย, จ่าย, แจก, แลกเปลี่ยน, โอน; เอาออก เช่น จําหน่ายจากบัญชี. (แผลงมาจาก จ่าย).
  50. จำหัน ๒ : ว. ฉัน, มีแสงกล้า; เฉกเช่น, ดังเช่น; โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉัน).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-2963

(0.1684 sec)