Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นามา , then นาม, นามา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นามา, 309 found, display 201-250
  1. ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
  2. ปิตามหะ : [-มะหะ] น. ปู่; นามพระพรหม. (ป.).
  3. ปิ่นโต : น. ภาชนะสําหรับใส่ของกิน ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีหูร้อยหิ้วได้, ลักษณนามว่า เถา เช่น ปิ่นโต ๒ เถา.
  4. ปิศาจ : น. ผี, ลักษณนามว่า ตน, ปีศาจ ก็ว่า. (ส.; ป. ปิสาจ).
  5. ปี่ : น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าลมอย่างหนึ่งที่ใช้ลิ้น ตัวปี่หรือเลาปี่ มักทำด้วยไม้แก่น เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง มีลักษณะค่อนข้างยาว ป่องตรงกลาง หัวท้ายบานออกเล็กน้อย ภายในเลาปี่เจาะรูกลวง ตลอดตั้งแต่หัวจดท้าย มีหลายชนิด เช่น ปี่นอก ปี่ใน ปี่ไฉน ปี่ชวา, ลักษณนามว่า เลา เช่น ปี่ ๒ เลา.
  6. ปีศาจ : น. ผี, ลักษณนามว่า ตน, ปิศาจ ก็ว่า. (ส.; ป. ปิสาจ).
  7. ปึก : น. สิ่งที่จับเกาะรวมกันแน่น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่จับเกาะรวมกัน แน่นเช่นนั้นว่า ปึก เช่น นํ้าตาล ๓ ปึก. ว. แน่นทึบ เช่น เนื้อแน่นปึก.
  8. ปื้น : ว. อาการที่ผิวหนังเห่อขึ้นเป็นแผ่นหรือเป็นผื่นเป็นแนวหนา เช่น ลมพิษขึ้นเป็นปื้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอเสื้อดําเป็นปื้น. น. ลักษณนามใช้กับเลื่อย เช่น เลื่อยปื้นหนึ่ง เลื่อย ๒ ปื้น.
  9. เปลาะ, เปลาะ ๆ : [เปฺลาะ] น. ระยะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, ลักษณะที่มัดหรือ ขอดไว้เป็นตอน ๆ, เช่น ผูกเป็นเปลาะ แก้ปัญหาเป็นเปลาะ ๆ, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดหรือผูกให้เป็นตอน ๆ เช่น มัดไต้ ๓ เปลาะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหามี ๔ เปลาะ.
  10. แปรง : [แปฺรง] น. สิ่งของอย่างหนึ่งทําด้วยขนสัตว์ ลวด ฯลฯ สําหรับใช้ปัด หวี สีฟัน หรือขัดถูสิ่งของอื่น ๆ, ลักษณนามว่า อัน; ขนเส้นแข็งที่ ขึ้นบนคอหมูเป็นแถว ๆ. ก. ปัด เช็ด หรือถูด้วยแปรง.
  11. โป๊ะ ๑ : น. ที่สำหรับดักปลาทะเล ทำด้วยเสาไม้จริงปักเป็นวง ใช้ไม้ไผ่ทำ เป็นเฝือกกรุข้างใน มีประตูตรงกลาง ข้างประตูโป๊ะใช้เสาไม้จริง ปักยาวเหยียดออกไปทั้ง ๒ ข้าง เพื่อกั้นปลาให้ว่ายเลียบเลาะมาเข้า โป๊ะ เรียกว่า ปีกโป๊ะ, ลักษณนามว่า ปาก หรือ ลูก; เรียกเรือสำหรับ จับปลาในโป๊ะว่า เรือโป๊ะ; ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า หรือให้คนขึ้นลง; เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ.
  12. ผล : น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนา ได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผล เท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  13. ผลัด : [ผฺลัด] ก. เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า ผลัดเวร ผลัดใบ ผลัดขน. น. ลักษณนามเรียกการผลัดเปลี่ยนเวรยาม เช่น เปลี่ยนเวรวันละ ๓ ผลัด.
  14. ผ่านไป. : ว. เรียกม้าที่มีลายขาวขวางพาดตัวว่า ม้าผ่าน; ถ้า ประกอบหน้านามบางคําหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า.
  15. ผืน : น. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนเป็นแผ่นอย่างผ้า หนังหรือเสื่อ เป็นต้น มีขนาดเต็มตามกําหนดและอาจม้วนหรือพับได้เช่นผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสื่อ พรม และหนัง ว่า ผืนผ้า ผืนหนังเป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น ผ้า ๓ ผืน เสื่อ ๒ ผืน; ''เรียกแผ่นดินทั้งหมดหรือส่วนใด ส่วนหนึ่ง เช่น ผืนแผ่นดิน แผ่นดินผืนนี้ ที่ดินผืนนั้น.
  16. ผู้ : น. คำใช้แทนบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรม ราชโองการ หรือใช้แทนคำว่า คน เช่น ผู้นั้น ผู้นี้ ทุกผู้ทุกนาม หรือใช้แทนสิ่งที่ถือเสมือนคน เช่น ศาลเป็นผู้ตัดสิน; คําใช้ ประกอบคํากริยาหรือประกอบคําวิเศษณ์ให้เป็นนามขึ้น เช่น ผู้กิน ผู้ดี. ว. คําบอกเพศ หมายความว่า ตัวผู้ เช่น ม้าผู้ วัวผู้. ส. ที่, ซึ่ง, เช่น บุคคลผู้กระทำความดีย่อมได้รับความสุข.
  17. ผูก : ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือ ติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อ หรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วย เรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่นผูกเวร; ตรงข้าม กับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
  18. แผ่น : น. สิ่งที่มีลักษณะแบน ๆ อย่างกระดาษหรือกระดาน เช่น แผ่น กระดาษ แผ่นกระดาน, ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กระดาษแผ่นหนึ่ง กระดาน ๒ แผ่น.
  19. ฝน ๑ : น. นํ้าที่ตกลงมาจากเมฆเป็นเม็ด ๆ; ลักษณนามใช้นับอายุ หมายความว่า รอบปี, ขวบปี, เช่นควาย ๓ ฝน คือ ควายที่มีอายุ ๓ ปี เขาผ่านร้อน ผ่านหนาวมา ๑๘ ฝน.
  20. ฝา : น. เครื่องปิดภาชนะต่าง ๆ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝาหม้อ ฝาโอ่งฝาท่อ; ฝ้าหรือเยื่อที่จับอยู่ข้างบนของเหลวเช่น นํ้านมเป็นต้น; เครื่องกั้นด้านนอกหรือเครื่องกั้นแบ่งห้องของตัวเรือน โรงเป็นต้น เช่น ฝาบ้าน ฝาเรือน ฝาห้อง; ส่วนที่ปิดปากหอยหรือ หุ้มตัวหอยซึ่งเปิดได้, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น ขนมถ้วยฝาหนึ่ง ขนมถ้วย ๒ ฝา.
  21. พญา : [พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้'';นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
  22. พรหมกาย : น. พระกาย (คือ รูปกาย นามกาย) ประเสริฐ, พระนาม ของพระพุทธเจ้า.
  23. พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
  24. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  25. เพศยันดร : [เพดสะยันดอน] น. นามพระบรมโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ, พระเวสสันดร. (ป. เวสฺสนฺตร; ส. ไวศฺยานฺตร).
  26. แพ : น. ไม้ไผ่หรือซุงเป็นต้นที่ผูกมัดเรียงติดกันมาก ๆ สําหรับใช้เป็น พาหนะทางนํ้า หรือล่องมาขาย เช่น แพไม้ไผ่ แพซุง แพหยวกกล้วย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ติดเนื่องกันเป็นตับอย่างแพ เช่น ธูปแพ เทียนแพ สวะลอยเป็นแพ; เรือนที่ตั้งอยู่บนแพในนํ้าหรือเรือนเช่นนั้น ที่ยกเอามาปลูกบนบกว่า เรือนแพ; ลักษณนามเรียกของที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ธูป ๓ แพ ข้าวเม่าทอด ๒ แพ.
  27. ฟอง ๒ : น. ไข่ เช่น ไก่ตกฟอง; ลักษณนามใช้เรียกไข่เป็ดหรือไข่ไก่เป็นต้น เช่น ไข่ฟองหนึ่ง ไข่ ๒ ฟอง.
  28. ฟืน : น. ไม้สําหรับใช้เป็นเชื้อไฟ, ลักษณนามเรียกตามลักษณะ เช่น ดุ้น อัน ท่อน ชิ้น.
  29. ภควัต, ภควันต์, ภควา, ภควาน : [พะคะ–] น. นามพระเป็นเจ้า, นามพระพุทธเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า, พระผู้มี พระภาค. (ป., ส.).
  30. มดี : [มะ-] คําเติมท้ายคําอื่นที่เป็นนามในคําที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระ อิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง. (ป., ส. มตี).
  31. ม้วน : ก. หมุนพันเข้าไปให้มีลักษณะกลมอย่างรูปทรงกระบอก. น. ลักษณนามเรียกสิ่งของ เช่นผ้าหรือกระดาษที่ขดหรือพันห่อตัวอยู่ เช่น ผ้าม้วนหนึ่ง กระดาษ ๒ ม้วน.
  32. มวน ๒ : ก. ม้วนเส้นยาสูบด้วยใบตองหรือใบจากเป็นต้นให้เป็นบุหรี่. น. ลักษณนามของบุหรี่ เช่น บุหรี่ ๒ มวน.
  33. มหาวงศ์ : น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระมหานาม เพื่อเรียบเรียงตำนาน พระพุทธศาสนาและเหตุการณ์บ้านเมืองของลังกาทวีปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรัชสมัย พระเจ้าคชพาหุ.
  34. มะหะหมัด : น. นามศาสดาของศาสนาอิสลาม, มุฮัมมัด ก็เรียก.
  35. มัด : ก. ผูกรัดเข้าด้วยกัน, ผูกรัดให้แน่น. น. ลักษณนามเรียกของบางอย่าง ที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด.
  36. มื้อ : น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
  37. มือ ๑ : น. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วย ฝ่ามือและนิ้วมือ สําหรับจับเป็นต้น, เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิด ที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้ เช่น มือกล มือหุ่นยนต์; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันบางอย่างหรือแชร์เป็นต้นว่า มือ เช่น คนหนึ่งจะเล่นกี่มือก็ได้; หนวดของไม้เลื้อยบางชนิดใช้เกาะ สิ่งอื่นอย่างมือ เช่น มือตําลึง มือบวบ; ลักษณนามบอกจำนวน นับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ).
  38. มุ้ง : น. ผ้าหรือสิ่งอื่นที่ทําขึ้นสําหรับกางกันยุงหรือป้องกันยุง, ลักษณนามว่า หลัง.
  39. มุนิกุญชร : น. นามพระพุทธเจ้า. (ป.).
  40. มุฮัมมัด : น. นามศาสดาของศาสนาอิสลาม, มะหะหมัด ก็เรียก.
  41. เม็ด ๑ : น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง, เมล็ด ก็ว่า; ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็น ก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด; ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมี ยอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุก, ที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี, เรียกว่า หัวเม็ด; ตัวหมากรุก ที่เวลาตั้งกระดานใหม่วางอยู่ข้างขวาขุน.
  42. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  43. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  44. ยวง : น. เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อใน ของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็น ยวง. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า ว่า สีเงินยวง.
  45. เยซู : น. นามศาสดาของศาสนาคริสต์. (อ. Jesus).
  46. รวง ๑ : น. ช่อ (ใช้แก่ข้าว); ลักษณนาม เช่น ข้าวรวงหนึ่ง ข้าว ๒ รวง.
  47. รอบ : น. การบรรจบถึงกัน, การเวียนไปบรรจบถึงกัน; ช่วง เช่น ภาพยนตร์ รอบเช้า รอบบ่าย, วาระ เช่น รอบสุดท้าย รอบชิงชนะเลิศ; ลักษณนาม เรียกลักษณะที่มาบรรจบกันเป็นต้น เช่น รอบหนึ่ง ๒ รอบ. บ. อาการ ที่เวียนมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์รอบบ้าน เดินรอบตลาด.
  48. รอย : น. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้น สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอย ประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.
  49. ระนาด ๑ : น. เครื่องปี่พาทย์ชนิดตี ประกอบด้วยลูกระนาดทำด้วยไม้ร้อยเชือกหัว ท้ายเข้าเป็นผืนใช้แขวนบนรางระนาด หรือทำด้วยเหล็กหรือทองเหลือง ใช้วางเรียงบนรางระนาดมีไม้ประกับหัวท้าย ลูกระนาดเรียงขนาดสั้น ยาวให้ลดหลั่นกันตามลำดับเสียง มีตั้งแต่ ๑๗–๒๑ ลูก มีไม้ตีคู่หนึ่ง เรียกว่า ไม้ตีระนาด, ลักษณนามว่า ราง.
  50. รัตนโกสินทร์ : น. นามส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครฯ ที่มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาร สถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์, อีกนัยหนึ่งหมายความถึง กรุงเทพฯ มักอ้างในประวัติศาสตร์ เช่น สมัยรัตนโกสินทร์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-309

(0.0421 sec)