Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นามา , then นาม, นามา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นามา, 309 found, display 251-300
  1. รับสนองพระบรมราชโองการ : ก. ลงนามที่จะปฏิบัติตามพระบรม ราชโองการเพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ.
  2. ราง ๑ : น. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล; สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคา เป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา; ไม้ที่ขุดหรือต่อ ให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับ ใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด; เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่น รางรถไฟ; ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ ๘๐ เหรียญหรือ ๑ ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญ บาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี ๑๐ แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาท ได้ ๑๐ เหรียญ รวมเป็น ๑๐๐ บาท; ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็น ราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง.
  3. ราชทินนาม : [ราดชะทินนะนาม] น. ชื่อบรรดาศักดิ์หรือสมณศักดิ์ ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน.
  4. ราย : น. เรื่อง ส่วน บุคคล หรือสิ่งซึ่งแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น พิจารณา เป็นราย ๆ ไป แต่ละราย รายนี้เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น, ลักษณนาม ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น อุบัติเหตุ ๓ ราย เขามีลูกหนี้หลายราย. ว. ที่แยกเป็นลําดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกัน เป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.
  5. ริ้ว : น. เส้นลายหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นรอย เป็นทาง ๆ เป็นแถวหรือเป็น แนวยาวไป เช่น ผ้าขาดเป็นริ้ว ริ้วขบวน ริ้วปลาแห้ง, ลักษณนามเรียก สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เรียกปลาแห้งที่ผ่าเป็น ๕ ริ้ว ว่า ปลา ๕ ริ้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาห้า.
  6. รูป, รูป– : [รูบ, รูบปะ–] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคน รูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่; ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ป., ส.).
  7. เรียง : ก. จัดให้เป็นแถวหรือเป็นลำดับเป็นต้น เช่น จัดแถวหน้ากระดานเรียง สอง เข้าแถวเรียงตามลำดับไหล่ เรียงไข่ใส่ตะกร้า; ลักษณนามเรียกพลู ที่เอามาเรียงซ้อนกันประมาณ ๗–๘ ใบ เช่น พลูเรียงหนึ่ง พลู ๒ เรียง. (ในบทกลอนแผลงเป็น ระเรียง หรือ รันเรียง ก็มี).
  8. เรือง, เรือง ๆ : ว. มีแสงน้อย ๆ อย่างแมงคาเรืองหรือหิ่งห้อย เช่น จุดเทียนมีแสงเรือง เห็นแสงไฟเรือง ๆ; แตกฉาน เช่น เรืองปัญญา; โด่งดัง เช่น เรืองเดช เรืองยศ เรืองนาม เรืองอำนาจ.
  9. เรือน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุม สําหรับเป็นที่อยู่, ที่อยู่; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง ดาวนกอยู่ในปล่อง หรือ ดาวอสิเลสะ ก็เรียก; ทรวดทรง เช่น เรือนผม, ที่รับเพชรพลอย เช่น เรือนแหวน; จํานวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน; ลักษณนาม ใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่งนาฬิกา ๒ เรือน.
  10. โรง : น. สิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคาคลุม ปรกติพื้นอยู่ติดกับดิน สําหรับเป็นที่อยู่ อาศัย ประกอบการ หรือไว้สิ่งของเป็นต้น เช่น โรงลิเก โรงทอผ้า โรงเหล้า โรงรถ โรงพิมพ์, ลักษณนามว่า โรง เช่น ลิเกโรงหนึ่ง โรงทอผ้า ๒ โรง.
  11. ลงชื่อ : ก. เขียนชื่อ, ลงลายมือชื่อ, ลงนาม ก็ว่า.
  12. ละ ๑ : ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐาน ที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดย ใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย ดังนี้ – ''– แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คําประกอบ คํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อ เน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
  13. ลำ ๑ : น. ตัวของคน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ไม่นับส่วนที่เป็นแขนขาหรือกิ่งก้าน เช่น ลําตัว ลําต้น, เรียกสิ่งที่ยาวกลมหรือมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลําแขน ลําคอ ลําอ้อย ลํานํ้า, ลักษณนามเรียกสิ่งเช่นนั้นหรือเรือ เช่น ไม้ไผ่ลําหนึ่ง อ้อย ๒ ลํา เรือ ๓ ลํา; ชั้นเชิง เช่น หักลำ.
  14. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  15. ลูกเธอ : (ราชา) น. คํานําหน้านามพระราชโอรสพระราชธิดาในสมัย รัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๓, คํานําหน้านามพระราชธิดาในสมัย ปลายรัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกเธอ, ถ้ามีพระ มารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ.
  16. ลูกไม้ ๑ : น. ผลไม้, ลักษณนามว่า ผล.
  17. ลูกยาเธอ : (ราชา) น. คํานําหน้านามพระราชโอรสในสมัยปลาย รัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกยาเธอ, ถ้ามีพระ มารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ.
  18. ลูกศร : น. เครื่องหมายที่ใช้ชี้บอกทางเป็นต้น มีลักษณะคล้ายส่วน ปลายของลูกศร รูปดังนี้ ?; ลูกธนู, ลักษณนามว่า ดอก.
  19. เล่ม : ลักษณนามสําหรับเรียกสิ่งของบางชนิดที่มีลักษณะยาวเรียว อย่างมีด หอก พาย เข็ม เช่น มีดเล่มหนึ่ง เข็ม ๒ เล่ม, ใช้เรียก เกวียนหรือสมุดหนังสือว่า เล่มด้วย เช่น เกวียน ๒ เล่ม หนังสือ ๓ เล่ม สมุด ๔ เล่ม.
  20. เลา ๓ : ลักษณนามเรียกเครื่องเป่าที่มีลักษณะยาวตรงและกลมอย่างปี่ ขลุ่ย เช่น ปี่เลาหนึ่ง ขลุ่ย ๒ เลา.
  21. วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
  22. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  23. วดี ๒ : คําเติมท้ายคําอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลัก ไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว.
  24. วิร, วิระ : [วิระ] ว. วีระ, กล้าหาญ. น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; ผู้พากเพียร; ผู้เรืองนามในทางกล้าหาญ. (ป., ส. วีร).
  25. วิเศษณ, วิเศษณ์ : [วิเสสะนะ, วิเสด] (ไว) น. คําจําพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคํานาม คํากริยา หรือคําวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทําดี ดีมาก. (ส.).
  26. วิสามานยนาม : [วิสามานยะนาม] (ไว) น. คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับ เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.
  27. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  28. ศรี ๔ : [สี] (กลอน) น. ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรง พระสรวลเห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี. (อภัย).
  29. ศังกร : [สังกอน] น. นามพระอิศวรผู้ประสาทความสุขเกษม. (ส.).
  30. สงฆ์ : น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวด พิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่า จํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
  31. สนาม : [สะหฺนาม] น. ลาน, ที่ว่าง, ที่โล่ง, ที่เล่น, เช่น เขานั่งอยู่ริมสนาม เด็ก ๆ วิ่งเล่นในสนาม, ที่สำหรับเล่นหรือแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ สนามชนวัว.
  32. สมญา : [สมยา] น. ชื่อที่ตั้งให้ กร่อนมาจากคำว่า สมัญญา. สมญานาม [สมยานาม] น. สมญา.
  33. สมุหนาม : (ไว) น. คํานามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่ รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก.
  34. สังข, สังข์ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สังข์รดน้ำ (Turbinella pyrum) เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำ พระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร (Chalonia tritonis) เปลือกมีลาย ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนใต้, ลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ ๒ ขอน. (ป.; ส. ศงฺข).
  35. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  36. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  37. หม่อมเจ้า : น. คํานําหน้านามโอรสธิดาในพระองค์เจ้าชั้นพระบรมวงศ์.
  38. หม่อมห้าม : น. หญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย, ใช้คํานําหน้านามว่า หม่อม.
  39. หมาก ๓ : น. เรียกสิ่งของที่เป็นหน่วยเป็นลูกว่า หมาก เช่น หมากเก็บ หมากรุก; (โบ) ลักษณนามเรียกของที่เป็นเม็ดเป็นลูกว่า หมาก เช่น แสงสิบหมาก ว่า พลอยสิบเม็ด.
  40. หยด : ก. ไหลหรือทําให้ไหลหลุดออกมาเป็นหยาด ๆ เช่น น้ำหยด. น. หยาด ของเหลวที่ไหลหลุดออกมา เช่น หยดน้ำ หยดหมึก, ลักษณนามใช้เรียก สิ่งที่ไหลหลุดออกมาเช่นนั้น เช่น นํ้าหยดหนึ่ง นํ้าหมึก ๒ หยด.
  41. หลอด ๑ : [หฺลอด] น. ของกลมยาวขนาดเล็กที่มีรูตลอด เช่น หลอดกาแฟ หลอดแก้ว, โดยปริยายเรียกสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลอด ตะเกียง หลอดไฟฟ้า หลอดวิทยุ หลอดนีออน หลอดทดลอง, เรียกแกน ที่มีช่วงกลางคอดคล้ายลูกล้อสำหรับพันด้ายว่า หลอดด้าย, เรียกด้ายที่พัน หลอดเช่นนั้นว่า ด้ายหลอด, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ยาฉีด ๓ หลอด.
  42. หลัง ๑ : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  43. ห่อ : ก. พันหรือหุ้มสิ่งของด้วยใบไม้หรือกระดาษเป็นต้น; ลักษณนามเรียก ของที่หุ้มด้วยใบไม้หรือกระดาษเป็นต้น เช่น ขนมห่อหนึ่ง ข้าว ๒ ห่อ.
  44. หาง : น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ใน ราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้ง เช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสง ลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วน ที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของ ตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
  45. หาไม่ ๒, หา...ไม่ : ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
  46. เหล่า : [เหฺล่า] น. พวก, ก๊ก, เช่น เหล่ามนุษย์ เหล่าสัตว์ เหล่าอันธพาล, กําลังพล ของทหารซึ่งประกอบกับคําอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน เช่น เหล่าทหาร ปืนใหญ่ เหล่าทหารราบ; (ถิ่น-อีสาน) ที่ซึ่งเคยเพาะปลูกแล้วทิ้งให้ร้าง, (ถิ่น-พายัพ) ป่าละเมาะ. ว. ใช้ประกอบกับคำนามแสดงว่ามีจำนวนมาก เช่น คนเหล่านี้ ของเหล่านั้น.
  47. แห่ง : น. ที่, มักใช้ซ้อนกับคำอื่น ในคำว่า แห่งหนตำบลใด ตำแหน่งแห่งที่, ลักษณนาม เช่น มีที่ดินอยู่หลายแห่ง. บ. ของ เช่น หอสมุดแห่งชาติ.
  48. แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
  49. โหล ๑ : [โหฺล] น. ลักษณนามบอกจํานวนนับหน่วยละ ๑๒ เช่น ดินสอโหลหนึ่ง ปากกา ๒ โหล. ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่ถือกันว่ามีคุณภาพตํ่า เช่น เสื้อโหล.
  50. อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-309

(0.0362 sec)