Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประเทศด้อยพัฒนา, ประเทศ, พัฒนา, ด้อย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประเทศด้อยพัฒนา, 320 found, display 201-250
  1. มรัมเทศ : [มะรํามะเทด] น. ประเทศพม่า. (ป. มรมฺมเทส).
  2. มลายู : [มะ-] น. ชื่อชนชาติหนึ่ง อยู่ในประเทศมาเลเซียและเกาะต่าง ๆ ตอนใต้ของแหลมมลายู.
  3. มหาดไทย : น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บําบัดทุกข์บํารุงสุข การพัฒนา ชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.
  4. มหาอำนาจ : ว. เรียกประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางทหารสูงว่า ประเทศมหาอำนาจ.
  5. มองโกเลีย : น. ชื่อประเทศอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจีน มีเมืองหลวงชื่อ อูลานบาตอร์ เดิมเรียกว่า มองโกเลียนอก ส่วนมองโกเลียใน ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน,เรียกประชาชนในประเทศนั้นว่า ชาวมองโกเลีย. (อ. Mongolia).
  6. มอญ ๑ : น. ชื่อชนชาติหนึ่ง เคยเป็นใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของพม่า ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ประเทศพม่า มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้.
  7. มัชฌิมชนบท : น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  8. มัธยมกาล : น. เวลาของตําบลใดตําบลหนึ่งที่ทางการบัญญัติให้ใช้ เป็นเวลากลางสําหรับประเทศ.
  9. ม้าเทศ : น. ม้าขนาดใหญ่ที่มาจากต่างประเทศ.
  10. เมืองขึ้น : น. เมืองที่เป็นข้าขอบขัณฑสีมา, ประเทศที่อยู่ในปกครองของประเทศอื่น.
  11. เมืองนอก : (ปาก) น. ประเทศอื่น ๆ, ต่างประเทศ มักหมายถึงประเทศใน ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา.
  12. ย่ำยี : ก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น.
  13. ยุทธศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยาม สงบและยามสงคราม. ว. ที่มีความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม เช่น จุดยุทธศาสตร์.
  14. เยอรมัน : น. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชาวยุโรปชาติหนึ่งที่อยู่ทางทิศ ตะวันตกของภาคพื้นยุโรป.
  15. เยาะ : ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความ ด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.
  16. รอง ๑ : ก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุน ให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตําแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตําแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.
  17. ระบบ : น. กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่ง ความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผล ทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ.
  18. รักบี้ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง เล่นครั้งแรกที่โรงเรียนรักบี้ ประเทศอังกฤษ แบ่ง ผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย โดยปรกติเล่นฝ่ายละ ๑๕ คน แต่ที่เล่นฝ่ายละ ๗ คน ก็มี ผู้เล่นแต่ละฝ่ายพยายามแย่งลูกรักบี้ไปวางพ้นแนวประตูฝ่ายตรงข้าม แล้วนำมาเตะ ณ แนวจุดเตะเพื่อให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามฝ่ายที่ได้คะแนน มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกเต็มว่า รักบี้ฟุตบอล, เรียกลูกหนังที่มีลักษณะ กลมรีใช้ในการเล่นรักบี้ว่า ลูกรักบี้. (อ. rugby football).
  19. รัฐธรรมนูญ : [รัดถะทํามะนูน, รัดทํามะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่ จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐ เดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐรวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).
  20. รัฐบาล : [รัดถะบาน] น. องค์กรปกครองประเทศ, คณะบุคคลที่ใช้อํานาจ บริหารในการปกครองประเทศ.
  21. รัฐประศาสนศาสตร์ : [รัดถะปฺระสาสะนะสาด] น. วิชาว่าด้วยการบริหาร และการปกครองประเทศเพื่อให้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐอย่างมี ประสิทธิภาพและประหยัด.
  22. รัฐศาสตร์ : [รัดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการเมืองและการปกครองประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
  23. รัตนบัลลังก์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า.
  24. รับ : ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอา สิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่ กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉัน ไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่าง ประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คําตอบ ที่ไม่ปฏิเสธเช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทํา; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียงเช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.
  25. รัษฎากร : [รัดสะ–] น. รายได้ของแผ่นดิน; (กฎ) ภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียก เก็บตามประมวลรัษฎากร. (เพี้ยนมาจาก ส. ราษฺฏฺร + อากร หมายความ ว่า อากรของประเทศ).
  26. รัสเซีย : น. ชื่อประเทศที่ส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและอีกส่วนหนึ่ง อยู่ในทวีปเอเชียภาคเหนือและภาคกลาง, เรียกเต็มว่า สหพันธรัฐรัสเซีย.
  27. รากฐาน : น. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับ สำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็น รากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.
  28. ราชทูต : น. ผู้นําพระราชสาส์นไปประเทศอื่น, ผู้แทนชาติในประเทศอื่น, ตําแหน่งผู้แทนรัฐถัดจากอัครราชทูต. (ป.).
  29. ราชนาวี : [ราดชะนาวี] น. กองทัพเรือของประเทศที่มีพระราชาหรือ พระราชินีเป็นประมุข เช่น ราชนาวีไทย ราชนาวีอังกฤษ.
  30. ราชสาส์น : [ราดชะสาน] น. จดหมายของพระมหากษัตริย์ที่ใช้ในการ เจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เรียกว่า พระราชสาส์น.
  31. ราษฎร, ราษฎร์ ๑ : [ราดสะดอน, ราด] น. พลเมืองของประเทศ. (ส.).
  32. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  33. เรียกตัว : ก. สั่งให้มาปรากฏตัว, สั่งให้มารายงานตัว, เช่น พ่อเรียกตัว ให้กลับจากต่างประเทศ ศาลเรียกตัวให้ไปเป็นพยาน.
  34. แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
  35. แรงงานและสวัสดิการสังคม : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การบริหารแรงงานการจัดหางาน การประชาสงเคราะห์ การพัฒนาฝีมือ แรงงาน การสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และการประกันสังคม.
  36. ลังกา : น. ชื่อเกาะแห่งหนึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศอินเดีย.
  37. ลายเทศ : น. ผ้าลายซึ่งมีดอกดวงเป็นแบบของต่างประเทศ โดย เฉพาะของอินเดีย.
  38. ลาว ๑ : น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี พรมแดนติดต่อกับไทย เขมร เวียดนาม พม่า และจีน, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
  39. ลิ่นฮื้อ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labeo jordani ในวงศ์ Cyprinidae เดิมรู้จักกัน ในชื่อ Cirrhinus molitorella ตัวยาว ท้องกลม ปากเล็กหนา อยู่ตํ่าที่ ปลายสุดของหัว มีหนวดเล็ก ๒ คู่ ตาเล็ก เกล็ดเล็กเรียบ ตัวสีเทาเงิน ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร, ตูลิ่นฮื้อ ก็เรียก.
  40. ลูกเมียน้อย : น. ลูกของเมียน้อยซึ่งมีสิทธิ์ด้อยกว่าลูกของเมียหลวง, โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะไม่เทียมหน้าเทียมตาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่ มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บางคนบ่นว่าสถาบันของตนเป็น ลูกเมียน้อย.
  41. ลูบคม : ก. ทำให้เกียรติหรือศักดิ์ศรีด้อยลงไป เช่น นักเลงถูกลูบคม.
  42. เลี้ยงส่ง : ก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่จะจากไปอย่างเดินทางไปต่างประเทศ เป็นต้น เช่น เลี้ยงส่งเพื่อนไปศึกษาต่างประเทศ.
  43. เลือดทาแผ่นดิน : ก. สละชีวิตให้แก่ประเทศชาติ, สละชีวิตเพื่อรักษา แผ่นดิน.
  44. โลกาภิวัตน์ : น. การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลก ไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจาก สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนา ระบบสารสนเทศเป็นต้น. (ป. โลก + อภิวตฺตน; อ. globalization).
  45. โลโล, โลโล้ : น. ชนชาวเขาพวกหนึ่งอยู่ทางแถบใต้ของประเทศจีน.
  46. วัชรอาสน์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้ เรียกว่า พระแท่นวัชรอาสน์, โพธิบัลลังก์ หรือ รัตนบัลลังก์ ก็เรียก. (ส. วชฺราสน).
  47. วันสหประชาชาติ : น. วันสถาปนาองค์การระหว่างประเทศ ซึ่ง เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม.
  48. วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
  49. วางผังเมือง : ก. ควบคุมและกำหนดแนวทางในการพัฒนาเมือง และสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงความสุข ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความประหยัด และความสวยงามของชุมชน เป็นส่วนรวม.
  50. วิเทศ : น. ต่างประเทศ. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-320

(0.0214 sec)